หิวบ่อย...แค่ไหนเรียกว่าหิวบ่อย

หิวบ่อย.......แค่ไหนเรียกว่าหิวบ่อย
แล้วทำไมเราถึงหิวบ่อย ผิดปกติอะไรหรือเปล่า
 
ปกติในหนึ่งวันเราจะรู้สึกหิวเมื่อใกล้ถึงมื้ออาหารประจำวันกันใช่ไหมครับ
คนทั่ว ๆ ไป ก็คือ วันละ 3 เวลาคือเช้า กลางวัน และเย็น โดยเวลาที่รู้สึกหิว ก็มักจะเป็นเวลาประจำที่เราเคยกินอาหารในมื้อนั้น ๆ
 
แต่คงมีใครหลายคนที่ เดี๋ยว ๆ หิว เดี๋ยวๆหิว หิวมันทั้งวัน
ในวันหนึ่งรู้สึกหิวมากกว่าจำนวนมื้ออาหารปกติเสียอีก
 
คุณคิดว่า การที่คุณหิวมากกว่าจำนวนมื้ออาหาร มันถือเป็นเรื่องปกติหรือว่าผิดปกติกันแน่...มีผลอะไรหรือเปล่า ?
 
วันนี้เราจะไปหาคำตอบกันครับ..
 
 
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกลไกของความหิวกันก่อน
 
กลไกการหิว เกิดจากเมื่อท้องเราว่าง ร่างกายเราจะหลั่งฮอร์โมนที่มีชื่อว่า Ghrelin (ฮอร์โมนเกรลิน) ซึ่งทำให้เราเกิดรู้สึกความหิวขึ้นมา
 
และเมื่อร่างกายได้รับอาหารเข้าไป จนเต็มกระเพาะ ร่างกายก็จะหยุดหลั่งฮอร์โมนเกรลิน แล้วเปลี่ยนเป็นหลั่งฮอร์โมนอีกตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Leptin ซึ่งเจ้าฮอร์โมนเลปตินนี้จะทำให้เราเปลี่ยน
จากความหิวมาเป็นความรู้สึกอิ่มขึ้นมาแทน
 
โดยปกติ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนหิวหรือฮอร์โมนเกรลินในช่วงเวลาก่อนมื้ออาหารปกติ แต่หากเรารู้สึกหิวนอกเวลาดังกล่าวนั่นแสดงว่าเรากำลังมีอาการหิวบ่อยเกิดขึ้น
อาการหิวนอกมื้ออาหารหรือที่เรียกว่า อาการหิวบ่อย มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง?
 
 
อาการหิวบ่อย...อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่หลัก ๆ จะมีอยู่ 4 อย่างคือ..
 
เกิดจากอาหารที่เรากินเข้าไป
หากเรากินอาหารจำพวกแป้งหรือไขมันเข้าไปมาก ๆ อาหารพวกนี้จะทำให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่ไม่ทันเพราะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งจะมีผลทำให้เราเกิดความหิวขึ้นมาได้หลังกิน
อาหารไปได้สักพัก
 
เช่นหากเรากินอาหารที่มีแป้งและไขมันสูงตอนมื้อเช้า เราจะเกิดอาการหิวขึ้นมาก่อนที่จะถึงมื้อกลางวัน
 
 
มีผลมาจากยาบางประเภท
 
ยาบางประเภทจำพวกยาแก้แพ้ ยา กลุ่มโรคเบาหวานและยาแก้อักเสบบางอย่าง มีฤทธิ์กระตุ้นให้ร่างกายเกิดความอยากอาหารตลอดเวลาในขณะที่ยากำลังออกฤทธิ์อยู่
 
ความอยากอาหารจากการใช้ยาบางประเภท มีทั้งเป็นผลโดยตรงของยา เพื่อให้ผู้ป่วยกินอาหารมากขึ้นเพื่อช่วยรักษาโรค หรือเป็นผลข้างเคียงที่ไม่ใช่ผลของการรักษาโดย
ตรงก็มี
 
 
เกิดจากคาบเวลาระหว่างมื้ออาหารไม่สมดุลย์
 
โดยคำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับช่วงระยะห่างระหว่างมื้ออาหารควรจะอยู่ที่ 4 - 6 ชั่วโมงในแต่ละมื้อ หากเราทิ้งช่วงเวลาให้นานเกินกว่าหกชั่วโมง เราจะรู้สึกหิวมากและอาจจะกิน
อาหารในปริมาณที่เกินพอดี
 
 
ความเครียด การนอนดึก และความเบื่อหน่าย
 
สิ่งเหล่านี้จะทำให้กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนบางอย่างเช่น คอร์ติซอลหรืออะดรีนาลีนซึ่งมีผลทำให้เกิดความหิวได้เช่นกัน
 
ขณะเดียวกัน พฤติกรรมดังกล่าวยังทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่มีหน้าที่ควบคุมระดับความหิวให้พอดีที่เรียกว่าเซโรโทนินน้อยลง อีกด้วย เราจึงควบคุมความหิวได้ยากขึ้นไปอีก
 
 
นั่นคือ 4 สาเหตุหลัก ๆ ที่นักโภชนาการกล่าวไว้ แต่โดยส่วนตัว ผมมีความเห็นว่าการที่เราได้รับสื่อที่มีการเชิญชวนเกี่ยวกับอาหารรูปร่างหน้าตาน่ากินผ่านโซเชียลมีเดียก็มีผลมาก ๆ ต่อความอยากอาหาร 
 
จนทำให้เราเกิดความหิวนอกเวลาปกติขึ้นมาทันทีทันใด โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน..
อันนี้คุณว่าจริงไหมครับ..
 
 
 
 
 
Visitors: 1,199,091