รู้มั้ย?ในคอก็มีนิ่ว (นิ่วที่ต่อมทอนซิล)
รู้มั้ย?ในคอก็มีนิ่ว (นิ่วที่ต่อมทอนซิล)
คนไข้: คลำได้เม็ดที่คอระคายเหมือนมีอะไรติดคอ และมีกลิ่นปาก/กลิ่นในคอด้วย หนูเป็นอะไรคะ..ม่ะ
“นิ่วในคอ”คือนิ่วที่ต่อมทอนซิลนั่นเอง อันที่จริงควรเรียกว่า “ขี้ไคล”ของทอนซิลมากกว่า
รู้จักกันมั้ยคะ “นิ่วในคอ” หรือคือนิ่วที่ต่อมทอนซิลนั่นเอง
อันที่จริงควรเรียกว่า “ขี้ไคล”ของทอนซิลมากกว่า
คนไข้บอกว่าคลำได้ตุ่ม ก้อน หรือเม็ดอะไรไม่รู้ในคอ ตรงต่อมทอนซิล คลำเจอเองด้วยนิ้ว
บางครั้งเวลาแปรงฟัน รู้สึกระคายคอ คล้ายกับมีอะไรติดคอ เหมือนเวลามีก้างปลาเล็ก ๆ ติดคอ..ไม่เจ็บนัก
บางคนก็มาบอกว่า มีกลิ่นปาก เหม็นมาก..เป็น ๆ หาย ๆ มานานแล้ว
เคยเจอคู่หนึ่ง คุณแควนลงทุนส่องคอด้วยไฟฉาย เพราะบอกว่าได้กลิ่นมาจากในลำคอ แล้วคุณแควนเห็นเม็ดสีเหลือง ๆ แปะอยู่บนต่อมทอนซิล จึงมาหาหมอ..คุณแควนคนนี้ใจดี และเก่งจัง
เจ้านิ่วหรือขี้ไคลนี้ ภาษาหมอเรียกว่า tonsil stone หรือ tonsilolith เป็นต้นเหตุของกลิ่นปากหรือกลิ่นในลำคอได้จริง เพราะมันคือ เนื้อเยื่อบุผิวของต่อมทอนซิลที่ตายแล้วลอกออกมา..เหมือนขี้ไคล และมารวมกับขยุ้มของเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Actinomycosis ที่มักพบเจอในคอ
เชื้อโรคนี้ไม่ร้ายแรง แต่เมื่อรวมกับเนื้อเยื่อของต่อมที่ลอกออก..ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรุนแรงได้
เป็นกลิ่นแบบเศษอาหารหมักหมม หรือถ้าสุขภาพปากไม่ดี ไม่แปรงฟัน หรือบ้วนปากกลั้วน้ำแรง ๆ เชื้อพวกนี้จะสะสมและเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นมาก ก่อเกิดอาการอักเสบของต่อมทอนซิลแบบเรื้อรังได้ค่ะ
วิธีป้องกันและรักษา
- ไม่ยากค่ะ ถ้าถึงมือหมอ คุณหมอจะใช้ไม้พันสำลี หรือเครื่องมือตัวคีบเล็ก ๆ หนีบหรือหยิบออกมา
- หรือคนไข้ที่พบว่ามี นิ่ว หรือ”เจ้านี่” บ่อย ๆ อาจป้องกันไม่ให้เศษอาหารตกค้างไปอยู่ที่ผิวต่อมทอนซิลด้วยการบ้วนปากด้วยน้ำแรง ๆ ร่วมกับกลั้วคอด้วย
- ใช้นิ้วนวดที่ใต้คาง วนเบา ๆ (ตำแหน่งของต่อมทอนซิล)ก้อนนิ่วอาจหลุดได้เอง
- อาจใช้น้ำยาระงับกลิ่นปาก และน้ำยาบ้วนหรือกลั้วปากบ่อย ๆ เพื่อลดเชื้อโรค
- มีชุดแปรงกำจัด”นิ่ว” เป็นพิเศษ แปรงมีด้ามยาว ขนนุ่ม ขายสำหรับคนที่เป็นบ่อย ด้วยค่ะ
- อาจพบ “นิ่วหรือขี้ไคลนี้” มีหินปูนมารวมตัวเกาะกันจนแข็งคล้ายนิ่วได้
- สาเหตุอีกอย่างหนึ่งสำหรับคนที่เป็นบ่อย อาจเนื่องจากต่อมทอนซิลของเจ้าตัวมีหลุมที่พื้นผิวเป็นร่องลึกกว่าคนอื่น
- คนเรามีหลุมและร่องที่ทอนซิลกันอยู่แล้ว แต่คนที่เป็นบ่อย ร่องที่ว่านี้จะลึกกว่าน่ะค่ะ ทำให้มีเศษอาหารและหรือเศษเยื่อบุผิวของต่อมที่ลอกออกไปสะสมได้ง่าย
- ภาวะพื้นผิวต่อมทอนซิลเป็นร่องลึกกว่าคนอื่น พบมีกรรมพันธุ์เกี่ยวข้องด้วยค่ะ
ฝากไว้
- ลองกลั้วปากและคอด้วยน้ำหรือน้ำเกลือแรง ๆ หรืออาจใช้แปรงเฉพาะปัดเบาๆ ถ้าเป็นภาวะนี้ ก้อนนิ่วหรือขี้ไคลจะหลุดออกง่าย
- ถ้าไม่หลุด หรือก้อนค่อนข้างมีขนาดใหญ่ พบหมอเฉพาะทางดีกว่าค่ะ
- ถ้าพบมีแผล หรือเนื้อเยื่ออะไรงอกออกมาใหญ่ผิดปกติ ต้องรีบหาหมอเชี่ยวชาญเฉพาะเช่นกัน บางคนเป็นแผลเนื้อร้ายหรือมะเร็งค่ะ
- อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและช่องฟันกันด้วยค่ะ
อ้างอิง
- นิ่วทอนซิล กรมอนามัย
- ขี้ไคลทอนซิล
|