ชวนคนปวดหลังมาสรุป 5 ข้อควรรู้ ฉบับสั้นเข้าใจง่าย แต่ใช้เวลา-ศาสตร์ไม่น้อย

ชวนคนปวดหลังมาสรุป 5 ข้อควรรู้ ฉบับสั้นเข้าใจง่าย แต่ใช้เวลา-ศาสตร์ไม่น้อย

อาการปวดหลัง ปัญหาที่มนุษย์ออฟฟิศทั่วโลกพบเจอไม่ต่างกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย ชี้ให้เห็นข้อควรรู้ ที่อาจช่วยให้ตาสว่าง และเลือกการรักษาที่อาจได้ผลดีกว่ากับตัวเอง แต่กันไว้ดีกว่าแก้ด้วยการออกกำลังกายยืดคลายเส้นเป็นประจำห่างไกลอาการปวด

Dr. Jen Gunter แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและเวชศาสตร์ฟื้นฟูโดยเฉพาะอาการเจ็บปวด ได้แบ่งปันความรู้ด้านการแพทย์ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อลบล้างความเชื่อและข้อมูลในโลกอินเทอร์เนตด้านสุขภาพที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงที่มาจากผู้เชี่ยวชาญแต่กลับมีคนหลงเชื่อไม่น้อย ด้วยการร่วมมือกับ ted ผลิตคลิปสั้นเข้าใจง่ายให้เพื่อให้ใครที่ต้องการหาคำตอบปัญหาสุขภาพได้มีข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในด้านสุขภาพที่ดีกรียืนยันในการทำความเข้าใจสุขภาพของตัวเองและคนรอบตัว 
 

 

โดย Dr. Jen ได้ ชี้เป้าหนึ่งในปัญหาโลกแตกของชาวออฟฟิศก็คือ อาการออฟฟิศซินโดรมหรือ อาการปวดหลังแห่งชาติ ไว้ในวิดีโอที่ชื่อ 5 things you should know about back pain ซึ่งผู้เขียนสรุปออกมาได้เป็นข้อควรรู้ 5 ข้อดังนี้

 

ภาพแกนกระดูกสันหลัง (vertebrae) จาก freepik
ภาพแกนกระดูกสันหลัง (vertebrae) จาก freepik

 

อาการปวดหลังไม่ใช่แค่เรื่องกระดูกสันหลัง
กระดูกสันหลัง (vertebrae) ของมนุษย์ประกอบด้วย 33 ชิ้นแบ่งเป็น 5 ส่วน ลากยาวตั้งแต่คอลงไปยังกระดูกก้นกบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของไขสันหลัง กระดูกสันหลังแต่ละชิ้นยังเชื่อมต่อกับส่วนอื่น ๆ ด้วยเอ็น ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อมีแผ่นรองรับและช่วยดูดซับและกระจายแรงกดทับ ภายในโครงสร้างการเชื่อมต่อนี้ยังมีข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท

แต่หลังของเราไม่ได้ถูกรั้งด้วยกระดูกสันหลังเท่านั้น อันที่จริงแล้ว แกนกลางของเราทำงานหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง สะโพกและก้น และอุ้งเชิงกราน กล้ามเนื้อในแกนกลางของเรารับแรงกดจากส่วนที่เหลือของกระดูกสันหลัง ทุกวัน เราต้องใช้แรงกดบนหลังทุกรูปแบบเมื่อเราเดิน ยืน ถือของ หิ้วของ ยกกล่อง และแม้แต่ตอนนั่ง ดังนั้น ไม่ใช่แค่แรงกดที่กระดูกสันหลังเท่านั้น

แต่ยังรวมถึงกล้ามเนื้อฉีกขาดหรือหมอนรองกระดูกเคลื่อนที่อาจมีส่วนทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ แต่ความเจ็บปวดนั้นซับซ้อนยิ่งกว่า บ่อยครั้งที่สัญญาณความเจ็บปวดถูกประมวลผลในเส้นประสาทหรือในสมองที่ทำให้ความเจ็บปวดยืดเยื้อ ปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเครียดและความวิตกกังวลสามารถขยายความเจ็บปวดได้ ความซับซ้อนนี้เป็นสาเหตุว่าทำไมการรักษาอาการปวดหลังจึงน่าผิดหวัง และเหตุใดการแสวงหาการรักษาที่น่าสงสัยทางการแพทย์ทุกประเภทจึงน่าดึงดูดใจ

Chiropractic ที่ยังกังขาในทางวิทยาศาสตร์
หมอจัดกระดูก หรือ chiropractor เป็นที่นิยมทั้งในไทยและสหรัฐฯ แต่ Dr. Jen กล่าวว่าผลการศึกษากว่า 45 งานวิจัย ไม่พบหลักฐานที่สนับสนุนการรักษาด้วยไคโรแพรคติกที่ได้ประสิทธิภาพในทางการแพทย์ถึงแม้จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นหลังจากผ่านการจัดกระดูกให้เข้าที่ แต่งานวิจัยกล่าวว่านั่นอาจเป็นผลมาจากการถูกสัมผัส ทั้งนี้ต้องเตือนกันไว้ก่อนว่าเคยมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทางหลอดเลือดหลังจากเข้ารับการรักษาด้วยไคโรแพรคติก

MRI หรือ X-ray อาจไม่ได้ช่วยในการวินิจฉัยอาการปวดหลังเสมอไป
บางทีที่อาจมีอาการปวดหลังอย่างมากแต่พอเมื่อได้รับการตรวจ MRI กลับไม่พบความผิกปกติที่กระดูกสันหลัง เนื่องจาก MRI ไม่ได้แสดงอาการปวดที่มาจากกล้ามเนื้อหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในสมอง ซึ่งอาจเป็นที่มาของอาการปวดหลังประโยชน์ของการ MRI หรือ X-ray ช่วยทำให้เห็นอาการบาดเจ็บร้ายแรงเฉพาะจุดหรือที่เกิดจากอุบัติเหตุ รวมาถึงสัญญาณเตือนบ่งบอกภาวะมะเร็งและอาการทางระบบประสาท

แต่อาจไม่ได้ทำให้อาการปวดหลังนั้นหายไป ทั้งยังอาจได้รับการผ่าตัดที่ไม่จำเป็นแถมมาเจ็บฟรี สูญเงินเปล่าๆ 

บางครั้งการผ่าตัดอาจส่งผลเสียมากกว่า
นักวิจัยวิเคราะห์การศึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง 2 ประเภท ได้แก่ การเชื่อมกระดูกสันหลังส่วนเอว และการกดทับกระดูกสันหลังส่วนเอว พบว่า การรักษาโดยไม่ผ่าตัดให้ผลลัพท์ได้ดีกว่าวิธีทั้งสอง

ปัจจุบันการกายภาพบำบัดถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในตอนนี้
จากข้อสรุป ของ Dr. Jen Gunter เธอการออกแบบโปรแกรมการบำบัดเฉพาะบุคคลมักส่งผลดีทั้งในการรักษาอาการปวดหลังเฉียบพลันและเรื้อรัง แต่! มันใช้เวลาและปัจจัยทางการเงินไม่น้อยเลยเช่นกัน นอกเหนือจากการประเมินที่ค้นพบที่มาได้ตรงจุด ยังรวมถึงการออกกำลังกายที่บ้านซึ่งต้องกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งต้องใช้การประเมินโดยคลินิกสหสาขาวิชาชีพที่สามารถให้การรักษาหลายรูปแบบ เช่น การใช้ยา กายภาพบำบัด และบางครั้งอาจใช้วิธีฉีดยา

สุดท้ายแล้ว Dr. Jen กล่าวว่าการรักษาอาการปวดหลังนั้นต้องใช้ศาสตร์ที่หลากหลาย รวมทั้งการใช้เวลาฟื้นฟู ทางที่ดีก่อนที่จะเข้าสู่สังคมคนปวดหลังจึงอยากให้ทุกคนกระตุ้นตัวเองให้กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ หมั่นออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อและแกนกระดูกให้แข็งแรง ถนอมให้อยู่ใช้งานได้ยาวๆ 

 

 

ที่มา

ted.com

 

Visitors: 1,409,244