ตรวจสุขภาพประจำปี ผลการตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด อ่านออก แต่ไม่เข้าใจ

ตรวจสุขภาพประจำปี ผลการตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด อ่านออก แต่ไม่เข้าใจ

เมื่อได้รับผลการตรวจสุขภาพ เชื่อว่ามีคนจำนวนหนึ่งที่สงสัยอยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวเลขที่ได้รับ แต่ไม่รู้จะไปถามใคร วันนี้เรามีคำตอบมาให้

ตรวจร่างกายโดยแพทย์ การวิเคราะห์เบื้องต้น เพื่อวินิจฉัยความเสี่ยงต่อสุขภาพ ด้วยการสอบถามประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่อาจจะส่งผลต่อสุขภาพ ร่วมกับการพูดคุยสอบถามเพื่อสืบหาความเสี่ยง และการตรวจเบื้องต้น หรือเพื่อสอบถามผลการ ตรวจสุขภาพประจำปี ในปีก่อนหน้า

เอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray) ตรวจวินิจฉัยภาวะต่างๆ เกี่ยวกับทรวงอก ว่ามีรอยผิดปกติหรือไม่ สามารถวิเคราะห์รูปร่างของหัวใจ หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ กระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง กระดูกไหปลาร้า กระบังลมปกติหรือไม่

Urine Examination (UA) ตรวจวิเคราะห์ดูความผิดปกติของน้ำปัสสาวะ สามารถบ่งชี้การทำงานของไต และความเจ็บป่วยอื่นๆ ที่ขับออกมาจากปัสสาวะได้

 

Complete Blood Count (CBC) คือ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด จะสามารถบอกสภาวะผิดปกติ เช่น ภาวะโลหิตจาง ภาวะที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่ละตัวเลขบอกอะไรเราได้บ้าง Hemoglobin (Hb-ฮีโมลโกลบิน) คือค่าระดับโปรตีน หรือสารสีแดง ในเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่จับออกซิเจน โดยค่าปกติของผู้หญิง จะอยู่ที่ 12.0-15.5 g/dL และของผู้ชาย จะอยู่ที่ 13.5 – 17.5 g/dL ลำดับต่อมาก็คือ Hematocrit (Hct – ฮีมาโทคริต) คือ ค่าปริมาณความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาณเลือดทั้งหมด โดยค่าปกติสำหรับเพศชาย 40-50 %และเพศหญิงอยู่ที่ 35-47 % ตัวเลขต่อมาที่ก็งงนะถ้าไม่มีใครอธิบาย การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell Count : WBC) คือจำนวนของเม็ดเลือดขาวทุกชนิดที่มีทั้งหมดในเลือดขณะที่ทำการตรวจ ปกติเม็ดเลือดขาวจะอยู่ที่ 4,500 – 10,000 cell/ml หากค่า WBC ต่ำกว่ามาตรฐาน อธิบายได้ว่า ร่างกายอาจจะมีภาวะติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ความผิดปกติของไขกระดูก ภาวะแพ้ภูมิตัวเอง และหากมีค่าสูงอาจจะมีสาเหตุมาจากการอักเสบหรือติดเชื้อภายในร่างกาย จึงเป็นเหตุให้ร่างกายต้องสร้างเม็ดเลือดขาวเพื่อมากำจัดเชื้อโรคนั่นเอง

Fast Blood Sugar (FBS) ระบุค่าระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อตรวจสอบปริมาณกลูโคสในกระแสเลือด ว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่จากการงดอาหารมาแล้ว 8 ชั่วโมง โดยค่าเฉลี่ยในบางกรณีจะขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล แต่ทั่วไปจะอยู่ที่ 70-99 mg/dl

Cholesterol เป็นสารคล้ายไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ถ้าปริมาณมากเกินไปอาจทำให้หลอดเลือดอุดตัน จนเป็นสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งปัจจัยมักมาจากการรับประทานอาหารจำพวกน้ำตาล ค่าคอเลสเตอรอลในเลือด ไม่ควรเกิด 200mg/dl

Triglyceride คือไขมันจากอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล ไขมัน แอลกอฮอล์ และสามารถสังเคราะห์ได้เองจากตับและเนื้อเยื่อไขมัน เมื่อร่างกายสะสมสารดังกล่าวจะสะสมไว้ในรูปไตรกลีเซอไรด์ หากค่าไตรกลีเซอไรด์สูงเกินไปจะมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะคอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง สามารถพัฒนาไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ปกติค่าไตรกลีเซอไรด์ต้องมีค่าน้อยกว่า 150 mg/dl

HDL (High-Density Lipoprotein Cholesterol) เป็นไขมันฮีโร่ เพราะถือเป็นไขมันที่ดี ตัวมันมีหน้าที่จับคอลเลสเตอรอล เพื่อไปทำลายที่ตับ หากมีค่า HDL สูงจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ โดยค่า HDL ไม่ควรต่ำกว่า 40 mg/dl

LDL (Low-Density Lipoprotein Cholesterol) หาก HDL เป็นฮีโร่ ตัวนี้ก็เป็นตัวร้าย เพราะมันคือไขมันที่ไม่ดี มันมักมีพฤติกรรมช่วยลำเลียงคอเลสเตอรอลจากตับออกไปทั่วร่างกาย หากถูกลำเลี่ยงออกไปมาก จะทำให้เส้นเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และสมองตีบตัน ระดับ LDL ในเลือดไม่ควรมากกว่า 130 mg/dl

Blood Urea Nitrogen (BUN) คือ การความสามารถในการเผาผลาญโปรตีนของตับ โดยของเสียที่ได้จากการเผาผลาญนี้คือ สารยูเรียไนโตรเจน ถ้าหากค่า BUN สูง อธิบายได้ว่าไตเริ่มทำหน้าที่บกพร่อง โดยค่าทั่วไปจะอยู่ที่ 10 -20 mg/dl แต่ไม่สามารถชี้ความผิดปกติของไตได้โดยค่าเดียว จำเป็นต้องใช้ค่า Creatinine ด้วยเพื่อประเมินการทำงานของไตให้ชัดเจน ฉะนั้นหากผู้เข้ารับการตรวจท่านใดมีโอกาสตรวจสุขภาพ จึงควรเลือกตรวจทั้ง BUN และ Creatinine

Creatinine คือ ของเสียที่เกิดจากการที่ร่างกายย่อยสลายกล้ามเนื้อ โดยไตจะนำออกทางปัสสาวะ หากค่า Creatinine สูงสามารถอนุมานได้ว่าไตเริ่มบกพร่อง หากมีค่าสูงมากสามารถระดับได้ว่า ผู้ป่วยอาจจะเป็นโรคไต ค่าปกติในผู้ชาย ควรจะอยู่ที่ 0.6 – 1.2 mg/dL ผู้หญิง คือ 0.5 -1.1 mg/dL

SGOT คือเอนไซม์ที่จะตรวจพบหากเกิดความเสียหายกับ เม็ดเลือดแดง หัวใจ กล้ามเนื้อ ตับอ่อน หรือไต แต่มักจะตรวจเพื่อนำค่านี้ไปบงชี้การทำงานของตับ เพราะตับเป็นอวัยวะที่ไวต่อโรคหรือสาเหตุอื่นๆที่มากระทบได้ ฉะนั้นควรตรวจสอบค่าอื่นๆประกอบกันไปด้วย

SGAT หรือ ALT เป็นการตรวจสอบความเสียหายของตับ แต่สามารถระบุผลที่มีความแม่นยำมากกว่า ตามปกติ SGOT/SGPT จะอยู่ที่ไม่เกิน 40 U/L (ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของน้ำยาตรวจที่ใช้ในแต่ละโรงพยาบาล)

Uric Acid การตรวจหาโรคเกาต์ หรือไขข้ออักเสบ วัดจากปริมาณกรดยูริกในเลือด และสามารถนำไปเป็นค่าชี้วัดสุขภาพของไตได้อีกด้วย หากปริมาณกรดยูริกในเลือดเพิ่มสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะจับตัวเป็นผลึก ก้อนแข็ง และแทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างข้อต่อและกระดูก ส่งผลให้เกิดอาการปวดร้าวตามข้อกระดูกต่างๆ

HBs Ag ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เป็นไวรัสก่อโรคตับอักเสบ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นมะเร็งตับได้ หากพบว่าติดเชื้อควรปรึกษาแพทย์ทันที

Anti-HBs ตรวจหาภูมิไวรัสตับอักเสบบี โดยผู้ที่จะมีภูมิได้นั้น จำเป็นต้องเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี  มาก่อน

 

 

Visitors: 1,409,232