ไมเกรน (Migraine Headache) คืออะไร?

ไมเกรน (Migraine Headache) คืออะไร?
ปวดศีรษะไมเกรน เป็นการปวดศีรษะที่รบกวนชีวิตประจำวันโดยมีลักษณะการปวดแบบตุบ ๆ เป็นจังหวะ มักจะเกิดข้างเดียวของศีรษะ แต่ก็สามารถเป็นทั้งสองข้างได้ โดยอาการปวดในช่วงแรกมักมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย และจะค่อย ๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง และไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่นมากขึ้น
 
 
มีการค้นพบว่า...ผู้หญิงมีโอกาสเป็นไมเกรนมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า และมักจะพบคนไข้เพศหญิงที่อายุน้อย
 
สาเหตุไมเกรน คือ?
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิง
- ความเครียด
- สภาพแวดล้อม เช่น แสงจ้าหรือแสงแฟลช เสียงดัง กลิ่นที่รุนแรง หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบฉับพลัน
- การใช้ยาบางชนิด
- การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือมากเกินไป
- ออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากเกินไป
- การสูบบุหรี่
- อาการถอนคาเฟอีน
- การอดอาหาร หรือการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ
 
อาการปวดไมเกรนเป็นอย่างไร? อาการจะแบ่งเป็น 4 ระยะ
1.) ระยะก่อนมีอาการ
(เป็นช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะมีอาการปวดหัว)
-อยากอาหาร
-อารมณ์แปรปรวน
-ควบคุมการหาวไม่ได้ มีอาการหาวบ่อย
-บวมน้ำ หรือ ปัสสาวะบ่อย
2.) ระยะอาการนำ
(ช่วงเวลา 20-40 นาที ก่อนมีอาการ หรือระหว่างปวดศีรษะ)
- เห็นแสงแฟลช แสงสว่างจ้า หรือแสงเป็นเส้นซิกแซก
- ร่างกายอ่อนแรง
3.) ระยะปวดศีรษะ
(มีกาอากรปวดศีรษะ 4-24 ชั่วโมง)
-มีอาการปวดศีรษะ เพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้น
4.) ระยะหลังมีอาการ
(อาการสามารถอยู่ได้เป็นวัน)
- หมดแรง
- อ่อนแรง
- สับสน
 
วิธีป้องกัน คือ?
-รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
- หมั่นออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงสิ่งเร้า หรือสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดหัว
-พักผ่อนให้เพียงพอ
-งดเครื่องดื่มในกลุ่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
 
หาพบว่าตนเองปวดหัวบ่อยๆ ไม่ได้หมายถึงว่าต้องเป็น โรคไมเกรน เสมอไป ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษา
เราจะรักษาอย่างไร?
การรักษา แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา
- หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น แสง สี เสียง กลิ่น อากาศที่เปลี่ยนแปลง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำ เช่น ออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หรืออาหารที่มีความมัน
2.การรักษาโดยใช้ยา แบ่ง 2 กลุ่ม
2.1 ยาบรรเทาอาการปวด : กินต่อเมื่อมีอาการปวด
- ยากลุ่มบรรเทาทั่วไป : ยาพาราเซตามอล , ยาแก้อักเสบ
- ยากลุ่มทริปแทน
- ยากลุ่มเออร์กอต
 
ยากลุ่มเออร์กอต หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือในปริมาณสูง อาจทำให้หลอดเลือดของร่างกายส่วนอื่น ๆ มีการหดตัว และอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์
2.2 ยาป้องกันไมเกรน : เหมาะสำหรับใช้ในคนไข้ที่ปวดหัวบ่อยมาก
- ต้องกินยาต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวด หรือลดความถี่ความรุนแรงของการปวดลง
 
 
เรียบเรียง Wasabi ความรู้ขึ้นสมอง!
Visitors: 1,212,982