ยาคุมกำเนิด กับ วัคซีนป้องกันโควิด

“ยาคุมกำเนิด” กับ “วัคซีนป้องกันโควิด” ⁉️ ...กินต่อได้มั้ย หรือต้องหยุด... ⁉️
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ ประกาศแล้ว
 
 
 
 
ความเสี่ยงเรื่องลิ่มเลือดอุดตัน
 
ก่อนอื่น ต้องรู้ความเสี่ยงเรื่องลิ่มเลือดอุดตัน ว่าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วน การไม่ค่อยขยับ/อยู่นิ่งนานๆ การผ่าตัด การเป็นมะเร็ง เป็นต้น
 
⁉️ผู้หญิงมีความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าชาย ผู้หญิง มีความเสี่ยง 1-5 / 10,000 ราย/ปี ความเสี่ยงที่พบเฉพาะในผู้หญิง ได้แก่
 
- เพิ่มความเสี่ยง 2-4 เท่า
ยากินคุมกำเนิดฮอร์โมนรวม พบ 3-15/ 10,000 ราย/ปี
ฮอร์โมนทดแทนในหญิงวัยทอง พบ 16-30 / 10,000 ราย/ปี)
- ทั้งนี้ ขึ้นกับชนิดและระยะเวลาการใช้ยาฮอร์โมน
- มีรายงานในคนไทย พบได้น้อยกว่านี้เกือบ 5 เท่า
 
ยาฉีดหรือยาฝังคุมกำเนิด (ไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน)
ความเสี่ยงเท่ากับผู้หญิงทั่วไปที่ไม่ได้ใช้ยาฮอร์โมน
 
การตั้งครรภ์ และภาวะหลังคลอด
- เพิ่มความเสี่ยง 5-6เท่า (5-20 / 10,000 ราย/ปี)
- ซึ่งพบได้มากกว่าคนใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิด
 
การใช้เทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์ (IVF) ทั้งการกระตุ้นไข่และการเตรียมย้ายตัวอ่อน ก็เพิ่มความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันเพิ่มขึ้นด้วย
 
สำหรับเรื่องความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีน
ก่อนหน้านี้ได้พูดไปแล้ว แต่เน้นตัววัคซีน Astrazeneca ที่มีรายงานมากในต่างประเทศ ซึ่งพบได้ ประมาณ 1-2/100,000 ราย
 
ไนประเทศไทย
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ประกาศออกมา  (31 พ.ค. 64)
 
การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 และการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ..มีข้อแนะนำ ดังนี้
 
1. ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน (ที่มีเอสโตรเจน) ได้แก่ ยาเม็ด ยาฉีดบางชนิด และแผ่นแปะ
มีผลเพิ่มความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตันมากว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ อย่างไรก็ตาม ยังพบได้น้อยกว่าในสตรีตั้งครรภ์
(ก็คือคนกินยาคุมพบได้มากกว่าคนปกติแต่คนตั้งครรภ์พบมากกว่าคนกินยาคุมอีก)
 
2. จากการรวบรวมข้อมูลทั่วโลก ในคนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 (ในที่นี้มีคนใช้ยาฮอร์โมนอยู่มาก) ไม่พบว่ามีความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันแต่อย่างใด (อันนี้ จริงๆก็มีรายงานอยู่บ้าง แต่อาจจะไม่ได้มีรายงานที่ชัดเจนมากๆ เท่านั้นเอง)
 
3. ผู้ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนทุกชนิด สามารถรับวัคซีนป้องกันโควิด-19ได้ โดยไม่จำเป็นต้องหยุดการใช้ยา
(* ข้อนี้น่าจะเป็น Key ที่ทุกคนรอฟังประกาศค่ะ)
 
4. หากยังมีความกังวลใจ และต้องการหยุดยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ก็ควรใช้วิธีคุมกำเนิดอย่างอื่นร่วมด้วย
 
http://www.rtcog.or.th/home/ประกาศการฉีดวัคซีน-และก/5006/
 
สรุปได้ว่า
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ประกาศว่า
 
ไม่จำเป็นต้องหยุดยาคุม นั่นเอง แต่ถ้าจะหยุดก็แล้วแต่เลย ..แค่อย่าลืมใช้วิธีคุมกำเนิดอย่างอื่นนะจ๊ะ
 
Visitors: 1,218,236