นอกจากงานก็ไม่เหลือใครอีกแล้ว! ทำไมคนเรายิ่งเติบโตถึงยิ่ง ‘เหงา’

นอกจากงานก็ไม่เหลือใครอีกแล้ว! ทำไมคนเรายิ่งเติบโตถึงยิ่ง ‘เหงา’



เลิกงานแล้วไม่มีอะไรให้ทำเลย จากที่เคยเลิกเรียนแล้วไปกินข้าว โยนโบว์ลิ่ง ร้องคาราโอเกะกับเพื่อน ทำไมยิ่งโตยิ่งรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่มีใคร ชีวิตมีแค่ตื่นเช้าไปทำงาน กลับบ้านดูซีรีส์ แล้วก็ตื่นเช้าไปทำงานวนไป

 

โรบิน ดันบาร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาวิวัฒนาการกล่าวไว้ว่า เราสามารถรักษาความสัมพันธ์กับคนในชีวิตไว้ได้แค่ 150 คนในคราวเดียวกันเท่านั้น แต่การรักษาความสัมพันธ์กับคน 150 คนไม่ได้ง่ายขนาดนั้น เพราะเราไม่สามารถให้เวลาและความสนิทกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกันได้

 

ดังนั้นความพยายามในการรักษาความสัมพันธ์ของเราประมาณ 60% จะไปกระจุกอยู่กับคนเพียง 15 คน และอีก 40% จะถูกมอบให้กับ 5 คนที่สำคัญที่สุดของเราเท่านั้น และตัวเราจะมีการประเมิน 5 คนนั้นอยู่ตลอดเวลาด้วย ว่าจะมีใครเข้าใครออกบ้าง ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่เราจะทำใครสักคนหล่นหายไปจากชีวิต

 


 

เมื่อเวลาผ่านไป ความคาดหวังทางสังคมที่เปลี่ยนไปของผู้คนตามช่วงวัยมีส่วนสำคัญในการพบปะกับความเหงา การศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Perspectives on Psychological Science พบว่าความคาดหวังของผู้คนจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่ออายุมากขึ้น ส่งผลให้พวกเขามักจะรู้สึกเหงามากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้อยู่คนเดียวก็ตาม

 

เมื่อเราโตขึ้น ความคาดหวังทางสังคมของเราก็เปลี่ยนไป ไม่เหมือนตอนเด็กที่เราเป็นเพื่อนกับใครก็เป็นเพื่อนด้วยใจล้วนๆ แต่เมื่อเราโตขึ้น ปัจจัยอื่นๆ มากมายก็เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งความสนใจ ระดับทางสังคม พื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน 

 

จากงานศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Perspectives on Psychological Science พบว่าความคาดหวังเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่มากขึ้น ทำให้คนยิ่งโตยิ่งเหงา แม้ว่าจะมีเพื่อนอยู่บ้าง แต่ความคาดหวังที่สูงขึ้นจะทำให้เรารู้สึกเหงาอยู่ดี

 

มีงานศึกษาอีกชิ้นหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า คนช่วงอายุระหว่าง 18-29 ปีรู้สึกว่า ‘ปริมาณเวลา’ ที่ใช้ร่วมกับผู้อื่นเป็นปัจจัยที่สามารถชี้วัดความเหงาได้ ยิ่งใช้เวลาร่วมกันคนอื่นมากเท่าไร ยิ่งไม่เหงา แต่สำหรับคนที่โตขึ้นแล้วมีช่วงอายุระหว่าง 30-64 ปี กลับรู้สึกว่า ‘คุณภาพของเวลา’ ต่างหากที่เป็นปัจจัยชี้วัดความเหงา ยิ่งเวลาที่ใช้กับคนอื่นมีคุณภาพมากเท่าไร ก็ยิ่งไม่เหงา แม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ถ้ามีความหมายก็ไม่เหงาแล้ว

 

บางคนกลัวที่จะต้องหาเพื่อนใหม่หรือเริ่มความสัมพันธ์ใหม่ ที่จริงแล้วเราสามารถบรรเทาความเหงาลงได้ด้วยการติดต่อเพื่อนเก่ากลับไปบ้าง หรือทักไปคุยกับคนที่เราอยากคุยด้วย ใช้เวลาด้วยกันอย่างมีคุณภาพ ไม่จำเป็นต้องรายล้อมไปด้วยผู้คนมากมาย ก็หายเหงาได้ด้วยการเชื่อมใจกันและกัน

 

อ้างอิง:

 

ที่มา : https://thestandard.co/more-lonely-as-we-grow-older/

 

Visitors: 1,405,369