เอลนีโญ – ลานีญา” สอนเด็กเข้าใจพายุสองพี่น้อง กับผลกระทบโลกร้อน

“เอลนีโญ – ลานีญา” สอนเด็กเข้าใจพายุสองพี่น้อง กับผลกระทบโลกร้อน

หลายปีที่ผ่านมา เราอาจจะได้ยินชื่อ เอลนีโญ หรือ ลานีญา ตามข่าวพยากรณ์อากาศผ่านหูกันมาบ้าง และ อาจนึกสงสัยขึ้นมาว่า ทำไมถึงเกิดพายุ ที่มาพร้อมกับชื่อแปลก ๆนี้ขึ้นเรื่อย ๆ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับพายุสองพี่น้องนี้กัน

พายุเด็กผู้ชาย-ผู้หญิง “เอลนีโญ กับ ลานีญา”

ที่เรียกว่าพายุสองพี่น้องก็เพราะว่า El Niño หรือ ในภาษาไทยเขียนว่า เอลนีโญ เป็นคำที่มาจากภาษาสเปนซึ่งแปลว่า “เด็กผู้ชาย” และ La Niña เขียนว่า ลานีญา เป็นคำที่มาจากภาษาสเปนซึ่งแปลว่า “เด็กผู้หญิง” ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เรียกแทนปรากฏการณ์ทางรูปแบบสภาพภูมิอากาศที่ขัดแย้งกัน

เอลนีโญ El Niño เจ้าเด็กผู้ชาย-ภัยแล้ง

ชื่อ เอลนีโญ นั้นถูกตั้งโดยชาวประมงในอเมริกาใต้ที่สังเกตเห็นถึงกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกในช่วงปี 1600 และเด็กผู้ชายคนนี้ยังมีชื่อเต็มว่า El Niño de Navidad หรือเด็กผู้ชายแห่งคริสมาสต์ เนื่องจาก เอลนีโญจะเกิดขึ้นสูงสุดในช่วงเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนที่มีเทศกาลคริสมาสต์นั่นเอง

ในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" นั้น ลมค้า จะอ่อนกำลังลง น้ำอุ่นจะถูกดันไปในฝั่งตรงกันข้ามกับสภาวะปกติ โดยจะดันกลับไปทางทิศตะวันออกไปยังชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกา

 

ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" กับ ภัยแล้ง

ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" กับ ภัยแล้ง

โดยเอลนีโญสามารถส่งผลต่อสภาพอากาศของเราได้อย่างมาก เนื่องจากน้ำอุ่นทำให้กระแสน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนตัวไปทางใต้จากตำแหน่งที่เป็นกลาง และด้วยการเปลี่ยนแปลงนี้ ภูมิภาคเอเชีย และ ออสเตรเลียจะขาดฝน และ เกิดความแห้งแล้ง และในทางตรงกันข้าม พื้นที่ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาและแคนาดาจะชื้นกว่าปกติและมีน้ำท่วมเพิ่มมากขึ้น

ปรากฏการณ์เอลนีโญยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลนอกชายฝั่งแปซิฟิกอีกด้วย ในสภาวะปกติ การที่น้ำขึ้นมาจะนำน้ำจากส่วนลึกขึ้นสู่ผิวน้ำ น้ำนี้เย็นและอุดมไปด้วยสารอาหาร ในช่วงเอลนีโญ แพลงก์ตอนพืชนอกชายฝั่งก็จะมีจำนวนน้อยลง สิ่งนี้ส่งผลต่อปลาที่กินแพลงก์ตอนพืช และส่งผลต่อทุกสิ่งที่กินปลาด้วย น้ำทะเลที่อุ่นกว่ายังสามารถนำพันธุ์สัตว์เขตร้อน เช่น ปลาทูน่าหางเหลืองและปลาทูน่าอัลบาคอร์

 

“เอลนีโญ – ลานีญา” สอนเด็กเข้าใจพายุสองพี่น้อง กับผลกระทบโลกร้อน

“เอลนีโญ – ลานีญา” สอนเด็กเข้าใจพายุสองพี่น้อง กับผลกระทบโลกร้อน

ลานีญา La Niña เด็กหญิงตัวเล็ก ๆ-พายุ ฝนฟ้าคะนอง

ลานีญา La Niña แปลว่า เด็กผู้หญิง ในภาษาสเปน โดยลานีญามีผลตรงกันข้ามกับเอลนีโญ ในช่วงเหตุการณ์ลานีญานั้นลมค้าจะรุนแรงกว่าปกติ ส่งผลให้กระแสน้ำอุ่นเข้าสู่เอเชียมากขึ้น นอกชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกา ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลให้น้ำเย็นที่อุดมด้วยสารอาหารขึ้นสู่ผิวน้ำ

น้ำเย็นในมหาสมุทรแปซิฟิกเหล่านี้ดันกระแสน้ำพุ่งไปทางเหนือ สิ่งนี้มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ภัยแล้งทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา และฝนตกหนักและน้ำท่วมในภูมิภาคเอเชีย และ ออสเตรเลีย

อุณหภูมิในฤดูหนาวจะอุ่นกว่าปกติในภาคใต้และเย็นกว่าปกติในภาคเหนือ และมากไปกว่านั้นเด็กผู้หญิงตัวน้อยๆ หรือ ลานีญา สามารถนำไปสู่ฤดูพายุเฮอริเคนที่รุนแรงยิ่งขึ้นได้อีกด้วย

 

ปรากฏการณ์ "ลานีญา" กับ พายุ ฝนฟ้าคะนอง

ปรากฏการณ์ "ลานีญา" กับ พายุ ฝนฟ้าคะนอง

“ลมค้า” คืออะไร

โดยปกติแล้ว ในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นมหาสมุทรที่กั้นระหว่างทวีปเอเชีย และ ทวีปอเมริกา จะมีกระแสลมที่เรียกว่า “ลมค้า” หรือเป็นที่รู้จักในนักเดินเรือทั่วโลกในชื่อ Trade Wind เป็นกระแสลมที่ทำให้เรือจากท่าเรือยุโรปและแอฟริกาเดินทางไปยังอเมริกาใต้ และจากอเมริกาไปยังเอเชีย เป็นลมที่เรือพาณิชย์อาศัยประโยชน์จากมันจนถึงปัจจุบันนี้

ลมค้า หรือ ลมที่เป็นมิตรต่อการค้าเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ระหว่างเส้นศูนย์สูตรประมาณ 30 องศาเหนือและ 30 องศาทางใต้ของเส้นศูนย์สูตร ในภูมิภาคที่เรียกว่า "ละติจูดม้า" การหมุนของโลกทำให้อากาศเอียงไปทางเส้นศูนย์สูตรในทิศทางตะวันตกเฉียงใต้ในซีกโลกเหนือ และในทิศทางตะวันตกเฉียงเหนือในซีกโลกใต้ สิ่งนี้เรียกว่า “ปรากฏการณ์โบลิทาร์”

ปรากฏการณ์โบลิทาร์ ร่วมกับบริเวณที่มีความกดอากาศสูง ทำให้ลมที่พัดผ่านหรือลมค้าเคลื่อนตัวจากตะวันออกไปตะวันตกทั้งสองด้านของเส้นศูนย์สูตรพาดผ่าน "แถบ" 60 องศานี้

 

ลมค้า หรือ ลมที่เป็นมิตรต่อการค้า Trade Wind เป็นกระแสลมที่ส่งผลกับการเดินเรือ

ลมค้า หรือ ลมที่เป็นมิตรต่อการค้า Trade Wind เป็นกระแสลมที่ส่งผลกับการเดินเรือ

ขณะที่ลมพัดไปประมาณ 5 องศาเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร ทั้งกระแสลมและมหาสมุทรจะหยุดลงในกลุ่มอากาศร้อนและแห้ง แถบ 10 องศารอบส่วนกลางของโลกนี้เรียกว่า "โซนการบรรจบกันระหว่างเขตร้อน" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ความซบเซา"

  • ความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่รุนแรงในช่วงที่ซบเซาทำให้ลมค้าขายอุ่นขึ้นและชื้น
  • โดยดันอากาศขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศเหมือนบอลลูนลมร้อน
  • เมื่ออากาศสูงขึ้น อากาศจะเย็นลง
  • ทำให้เกิดฝนและพายุต่อเนื่องในเขตร้อนและป่าฝน
  • มวลอากาศที่เพิ่มขึ้นเคลื่อนตัวไปทางขั้วโลก แล้วจมกลับไปสู่พื้นผิวโลกใกล้กับละติจูดม้า
  • อากาศที่กำลังจมทำให้เกิดลมค้าขายที่สงบและมีฝนตกเล็กน้อย และทำให้วงจรเสร็จสมบูรณ์

และด้วยลมค้านี่เอง ทำให้เกิดการพัดของกระแสน้ำอุ่นจากอเมริกาใต้ไปสู่เอเชีย และเพื่อแทนที่น้ำอุ่นนั้น น้ำเย็นจึงขึ้นมาจากส่วนที่ลึกกว่า โดยกระบวนการที่เรียกว่า น้ำผุด ซึ่งเอลนีโญและลานีญาเป็นรูปแบบสภาพภูมิอากาศที่ขัดแย้งกันและทำลายสภาวะปกติเหล่านี้

 

เอลนีโญ กับ ลานีญา คืออะไร? เราได้รับผลกระทบอะไรบ้างจากพายุสองพี่น้อง?

เอลนีโญ กับ ลานีญา คืออะไร? เราได้รับผลกระทบอะไรบ้างจากพายุสองพี่น้อง?

เอลนีโญ-ลานีญา กับ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

เป็นที่ทราบกันดีว่า มนุษย์ คือตัวการสำคัญที่สร้างภาวะเรือนกระจกเป็นจำนวนมาก และส่งผลต่อธรรมชาติของพวกเราในปัจจุบัน และ การสร้างภาวะเรือนกระจกปริมาณมหาศาลของเรานี่เอง ทำให้ เหตุการณ์ เอลนีโญ และ ลานีญา บ่อยครั้งขึ้น

โดยมีการเปรียบเทียบ ด้วยการจำลองระหว่างปี 1901-1960 กับการจำลองระหว่างปี 1961-2020 ผลลัพธ์ส่วนใหญ่แสดงให้เห็นถึง “ความแปรปรวน” ของปรากฏการณ์เอลนีโญที่เพิ่มขึ้น  โดยความแปรปรวนที่รุนแรงมากในปรากฏการณ์เอลนีโญ หลังปี 1960 ซึ่งเป็นช่วงที่มนุษย์เริ่มปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น

และการเกิดเหตุการณ์ เอลนีโญ-ลานีญา ที่บ่อยขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และ ภาวะโลกร้อน เนื่องจากสภาพอากาศไม่เป็นไปตามฤดูกาลที่ควรเป็น

ทั้ง เอลนีโญ-ลานีญา และ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ นั้นเป็นสาเหตุของกันและกัน โดยมีมนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่ส่งผลต่อวิกฤติการณ์นี้

 

เอลนีโญ-ลานีญา ผลกระทบ Climate Change ฝีมือมนุษย์

เอลนีโญ-ลานีญา ผลกระทบ Climate Change ฝีมือมนุษย์

เราได้รับผลกระทบอย่างไรจากสองพี่น้อง เอลนีโญ-ลานีญา?

โดยปกติแล้ว เอลนีโญ และ ลานีญา จะมีความยาวของปรากฏการณ์นี้อยู่ที่ 9-12 เดือน โดยจะเกิดขึ้นทุกๆ 2 ถึง 7 ปี แต่ด้วยฝีมือมนุษย์อย่างเรา ๆ ที่สร้างมลภาวะปริมาณมหาศาล จนส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ  และ ธรรมชาติ ทำให้ปรากฏการณ์สองพี่น้องนี้มีความยาวนานกว่าที่ควรเป็น

โดยช่วงต้นปี 2023 ในเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา การเผชิญภัยลานีญา ในทวีป เอเชีย และ ออสเตรเลีย ได้สิ้นสุดลง หลังจากเกิดลานีญาในโซนเอเชีย และ ออสเตรเลีย นานถึง 3 ปี ส่งผลให้หลาย ๆจังหวัดเผชิญกับปัญหาอุทกภัย พืชผักผลไม้ ไม่สามารถออกได้ตามฤดูกาล ไร่นาของเกษตรกรหลายรายได้รับความเสียหาย เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวจากไวรัสโควิด-19 ต้องชะลอตัวลง และถึงแม้ว่าเหตุการณ์อุทกภัยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อาจเกิดจากพายุต่างๆ แต่ ลานีญา ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ฝนมาเร็วขึ้น ส่งผลให้เกิดความแปรปรวนทางสภาพอากาศ และ ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาอุทกภัยยาวนานขึ้น

และไม่นานหลังจากการประกาศการสิ้นสุดลงของลานีญา ถัดไปเพียงแค่ 3 เดือน เอลนีโญ ก็ได้เริ่มต้นขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญคาดว่า 5 ปีต่อจากนี้ ปริมาณฝนจะน้อยกว่าค่าปกติ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยแล้งอย่างรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง

ปรากฏการณ์เอลนีโญ นำมาซึ่งความแห้งแล้ง และ ลานีญา ทำให้เกิดน้ำท่วมและฝนตกหนัก ทั้งสองปรากฏการณ์ถือเป็นความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจ GDP และการสูญเสีย รายได้ของคนในประเทศ โดยเฉพาะเกษตรกร รวมถึงสินค้าเพื่อบริโภค อาจมีการปรับราคาให้สูงขึ้น เนื่องจากเกษตรกรไม่สามารถสร้างผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการได้

 

Climate Change ปัญหาใหญ่ระดับโลก โลกอนาคต อาจอยู่ไม่ไกล

Climate Change ปัญหาใหญ่ระดับโลก โลกอนาคต อาจอยู่ไม่ไกล

เราจะมีส่วนช่วยบรรเทาความรุนแรงของปัญหาอย่างไร?

ถึงแม้ว่าจะมีไม่มีทางหยุดการเกิดปรากฏการณ์สองพี่น้องนี้ได้ เนื่องจาก เอลนีโญ-ลานีญา นั้นก็เป็นหนึ่งในสภาวะทางธรรมชาติที่ต้องเกิดขึ้น แต่การเริ่มใส่ใจสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน ลดการสร้างมลพิษในชีวิตประจำวัน ควรเป็นเรื่องที่เรา ๆ นั้นสนใจและเริ่มปฏิบัติกันมากขึ้น วันนี้เรามี Tips 5 ข้อง่าย ๆ ให้ทุกคนลองไปทำตามกันได้ที่บ้าน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรักษ์โลก ช่วยชะลอการเกิดวิกฤตการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และทำให้ปรากฏการณ์สองพี่น้องมาเยือนเราน้อยลง

  1. ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งาน
  2. ปิดไฟเมื่อไม่ได้ใช้งาน
  3. แยกขยะ โดยแบ่งออกเป็น ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล และ ขยะอันตราย
  4. ลดการชอปปิ้ง หรือ ซื้อของที่ไม่จำเป็น
  5. พกถุงผ้า กล่องข้าว หรือ แก้วน้ำ ที่สามารถใช้ซ้ำได้

โดยทุกคนสามารถเริ่มทำตามทีละข้อ หรือ ใครสามารถทำทั้งหมด 5 ข้อพร้อมกันได้ก็ยิ่งดี และถึงแม้การปรับ Lifestyle เพียงเล็กน้อย แต่หากทุกคนเริ่มที่จะทำมันพร้อมๆกัน ทำให้ชินเป็ฯกิจวัตร พวกเราจะได้โลกที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น และส่งต่อโลกที่น่าอยู่ให้คนรุ่นถัดไป

 

 

ที่มา : https://www.springnews.co.th/keep-the-world/climate-change/843944

 

 

Visitors: 1,430,172