ศบค. แถลงยกระดับมาตรการควบคุมการระบาดเข้มข้น ใน 10 จังหวัด

 ศบค. แถลงยกระดับมาตรการควบคุมการระบาดเข้มข้น ใน 10 จังหวัด
 
พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วย โฆษก ศบค. แถลงผลสรุปมติที่ประชุม ศบค. ชุดใหญ่ โดยสรุปดังนี้
 
ศบค. เห็นชอบการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ โดย สีแดงเข้ม คงเดิม 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นนทบุรี นครปฐม นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา สีแดง ปรับจาก 5 จังหวัด เป็น 24 จังหวัด สีส้ม 9 จังหวัด เป็น 25 จังหวัด สีเหลือง 53 จังหวัด เป็น 18 จังหวัด
 
และเห็นชอบให้ยกระดับมาตรการควบคุมการระบาดเข้มข้นในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (จังหวัดสีแดงเข้ม) โดยแบ่งเป็น
 
สำหรับ กทม.และปริมณฑล 6 จังหวัด
 
1. จำกัดการเคลื่อนย้ายและการดำเนินกิจกรรมของบุคคลให้มากที่สุด (เฉพาะกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล)
- กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนใช้การปฏิบัติงานในลักษณะ Work From Home ให้มากที่สุด โดยไม่กระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญ และการบริการประชาชน
- ระบบขนส่งสาธารณะ ปิดให้บริการในห้วงเวลา 21.00 น. ถึง 03.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
- ร้านสะดวกซื้อ ตลาดโด้รุ่ง ปิดเวลา 20.00 ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
- ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตื้มอลล์ เปิดได้เฉพาะ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ธนาคารและสถาบันการเงิน ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร รวมถึงสถานที่ฉีดวัคซีน ทั้งนี้เปิดได้ถึงเวลา 20.00 น.
- ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ห้ามบริโภคอาหารหรือสุราหรือเครื่องดื่มในร้าน โดยเปิดได้ถึงเวลา 20.00 น.
- ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค ได้แก่ นวดเพื่อสุขภาพ สปา สถานเสริมความงาม
- สวนสาธารณะ สามารถเบิดให้บริการสำหรับการออกกำลังกายได้ถึงเวลา 20.00 น.
- ห้ามการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางสังคม ที่ไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ การประกอบอาชีพ กิจกรรมทางศาสนาหรือกิจกรรมตามประเพณี ที่มีการรวมตัวกันของบุคคลตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
 
สำหรับพื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัด (กทม. ปริมณฑล และ 4 จังหวัดภาคใต้)
 
2. ห้ามการเดินทางที่ไม่จำเป็นและห้ามออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 21.00 ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้นเว้นแต่มีความจำเป็นยิ่ง หรือได้รับอนุญาตเป็นรายกรณี
 
3. การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดของ ศบค.ที่ได้มีประกาศ
ไปแล้วก่อนหน้านี้
 
4. กำกับดูแลให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันส่วนบุคคล (DMHTTA) อย่างสูงสุด
 
5. ให้เริ่มดำเนินการตามข้อ1-4 ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.64 เป็นต้นไป และให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ระดับสถานการณ์ต่างๆ ข้อห้าม และข้อปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 24, 25, 26) มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้
 
6. ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงจัดตั้งจุดตรวจจุดสกัด และชุดลาดตระเวน เพื่อกำกับดูแลการปฏิบัติ อย่างเข้มงวด โคยให้พร้อมดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค. 64 เวลา 06.00 น.เป็นต้นไป ทั้งนี้กรณีตรวจพบผู้ฝ่าฝืนให้บังดับใช้บทลงโทษตามแห่ง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558


 
นอกจากนี้ ยังได้ประกาศมาตรการด้านการแพทย์ และสาธารณสุขในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล เร่งรัดให้มีการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงระบบตรวจหาเชื้ออย่างเพียงพอ เร่งรัดการแยกกักที่บ้าน และแยกกันในชุมชน รวมทั้งการใช้ยาสมุนไพรในบัญชีหลัก ได้แก่ฟ้าทลายโจร และเร่งรัดการจัดตั้ง ICU โรงพยาบาลสนาม และโรงพยาบาลสนามชุมชน
 
พร้อมปรับแผนการฉีดวัคซีนสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ และ 7 กลุ่มโรคร้ายแรง ให้ได้ 1 ล้านคน ภายใน 1-2 สัปดาห์ และสำรองวัคซีนบางส่วนสำหรับควบคุมการระบาดใน กทม.
 
กรณีการใช้ วัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส และ แอสตร้าเซเนก้า 1.05 ล้านโดสที่ได้รับการบริจาคจากต่างประเทศ อนุมัติให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์เป็นบูสเตอร์โดส สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ ผู้สูงอายุ และกลุ่มโรคเรื้อรัง ชาวต่างชาติสูงอายุ และมีโรคเรื้อรัง และกลุ่มที่ต้องได้รับวัคซีนเพื่อการเดินทางไปต่างประเทศ ส่่วนแอสตร้าเซเนก้า อนุมัติให้ใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มโรคเรื้อรัง ชาวต่างชาติสูงอายุ และมีโรคเรื้อรัง และกลุ่มที่ต้องได้รับวัคซีนเพื่อการเดินทางไปต่างประเทศ
 
 
ที่มา : The Reporters :
https://www.blockdit.com/posts/60e8199d6f2e760b3eea2429

 
Visitors: 1,403,323