รัฐบาลชี้แจงการบริหารสถานการณ์โควิด 3 เรื่องสำคัญ

รัฐบาลชี้แจงการบริหารสถานการณ์โควิด 3 เรื่องสำคัญ
 
 
1. สธ. ยืนยันวัคซีนโควิดที่ไทยใช้ ทั้งแอสตราเซเนกา และซิโนแวค มีประสิทธิภาพสูง และความปลอดภัย ประชาชนสามารถฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันและเพิ่มภูมิคุ้มกันของตัวเองได้ มีการฉีดวัคซีนสะสมรวม 579,305 โดสหรือเข็ม มีผู้ได้รับวัคซีนแล้ว 505,744 คน ในทุกจังหวัดตามเป้าหมาย และขณะนี้ยังมีการจัดหาวัคซีนซิโนแวคอีก 1 ล้านโดสซึ่งอยู่ในประเทศไทยแล้ว รอการตรวจทางห้องปฏิบัติการและเอกสาร
 
2. สถานการณ์โควิด-19 ในไทย ขณะนี้ เชื่อมโยงกับสถานบันเทิงและนำไปสู่การแพร่กระจายของเชื้อโรคสู่เพื่อนฝูงและชุมชน จึงจำเป็นต้องลดการเคลื่อนที่ของบุคคล ปิดสถานที่เสี่ยง งดกิจกรรมการรวมกลุ่ม เน้นปรับพฤติกรรมส่วนบุคคล เพิ่มมาตรการทำงานที่บ้าน Work From Home สามารถลดผู้ป่วยติดเชื้อจะลดลงมาประมาณ 391 คนต่อวัน
 
ทั้งนี้ สำหรับการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างจังหวัดเพื่อกลับมาทำงาน ดังนี้
1) ขอให้เดินทางโดยรถยนต์ หากต้องเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ ให้ใส่หน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่าง งดเว้นการรับประทานอาหาร
2) หากสามารถ work from home ที่จังหวัดนั้นๆ ได้ จะช่วยลดการแพร่เชื้อจากการเดินทางข้ามจังหวัด
3) หากจำเป็นต้องกลับมา ให้ work from home และกักตนเอง 14 วัน หากพบอาการผิดปกติ ให้รีบแจ้งจนท. โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือหมายเลข 1422
 
3. ภาครัฐมีการบริหารจัดการเตียงเพียงพอในการรองรับผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมีการจัดเตียงรองรับทั้งจากสถานพยายาลและโรงแรมแบบ Hospitel รวมกว่า 6 พันเตียง รวมทั้ง โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมมีการเตรียมโรงพยาบาลภาคสนาม และกรมการแพทย์เตรียมเปิด Hospitel ซึ่งจะรองรับได้อีก 450 เตียง และโรงพยาบาลรามาธิบดีเตรียมเปิด Hospitels อีก 2 แห่ง อีก 100 เตียง สำหรับกรุงเทพมหานคร ได้มีการเพิ่มโรงพยาบาลสนาม ที่บางขุนเทียน 500 เตียง ที่บางบอน 200 เตียง และเตรียมเปิดที่บางกอกอารีนา จะรับได้อีก 1000 เตียง
 
รัฐบาลให้การรับรองโรงพยาบาลสนามที่มีอยู่ขณะนี้มีความปลอดภัย มีจำนวนแพทย์และพยาบาลตามมาตรฐานที่วางไว้ สำหรับ Hospitel ซึ่งเป็นการจัดบริการในโรงแรม กรมสนับสนุนบริการทางการแพทย์จะเข้าไปรับรองมาตรฐาน เช่นเดียวกับสถานกักกันของรัฐ (SQ/ ASQ) ซึ่งมีการตรวจ ประเมิน และติดตามสม่ำเสมอ
 
ทั้งนี้ นโยบายหลักของไทย ผู้ติดเชื้อทุกคนในประเทศจะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น ยกเว้นช่วงการรอเตียง ซึ่งผู้ป่วยอยู่ที่บ้าน แล้วจะมีกลไกรองรับในการประสานเพื่อไปรับตัวผู้ป่วยในช่วงเวลาที่เหมาะสม
 
ทั้งนี้ สามารถติดต่อไปที่สายด่วนจัดหาเตียง เบอร์ 1669 สำหรับต่จังหวัดต่างๆ จะเข้าศูนย์การบริหารจัดการ สายด่วนกรมการแพทย์ 1668 รับสายเวลา 8.00 – 22.00 น. และสายด่วน สปสช. 1330 ตลอด 24 ชม. หรือผ่าน line แอพลิเคชั่น สบายดีบอต
 
Visitors: 1,218,224