อินเดีย ใช้ChatGPT มากที่สุด - ไทย มีสัดส่วนผู้ใช้ 14%
อินเดีย ใช้ChatGPT มากที่สุด - ไทย มีสัดส่วนผู้ใช้ 14%
โอเพ่น เอไอ (OpenAI) เปิดตัว แชตจีพีที (ChatGPT) มาเกือบสองปีเต็มแล้ว ช่วยจุดประกายการปฏิวัติ AI เชิงสร้างสรรค์ ผู้บริโภคเข้าแถวรอใช้ ChatGPT กันอย่างล้นหลาม นับเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันด้าน AI ระหว่างบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่างน้อย 3 แห่ง อินเดีย ใช้แชตจีพีที ในสัดส่วนมากสุดบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (BCG) สำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลก หรือ “CCI Global Consumer Sentiment Survey 2023” ต่อการใช้ ChatGPT ข้อมูลพบว่า ประเทศที่มีประชากรอายุน้อย จะมีการใช้ AI มากขึ้น ขณะที่ จากการสำรวจทั้งหมด “อินเดีย” มีสัดส่วนผู้ใช้ ChatGPT สูงสุด หรือประมาณ 45% ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะประเทศนี้มีงานด้าน ไอที จำนวนมาก ซึ่ง ChatGPT อาจเป็นทรัพย์สินที่มีค่า ขณะที่ “ไทย” มีสัดส่วนผู้ใช้ ChatGPT ราว 14%
ที่มา : https://www.visualcapitalist.com/ ความสัมพันธ์อย่างหนึ่งที่ปรากฏในชุดข้อมูลนี้ก็คือ ประเทศที่มีอายุน้อยกว่าตามอายุเฉลี่ยมีแนวโน้มที่จะมีการใช้ ChatGPT สูงกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะประชากรที่อายุน้อยกว่าและเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมากกว่า และความสัมพันธ์นี้ยังปรากฏให้เห็นเมื่อพิจารณาถึงวิธีการใช้เครื่องมือ AI ตัวอย่างเช่น ผู้ตอบแบบสำรวจในอินเดียและฟิลิปปินส์ (มีการใช้ ChatGPT สูงกว่า) ใช้ AI เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น ช่วยในการวิจัยหรือเป็นผู้ช่วยส่วนตัวเสมือนจริง ในทางกลับกัน ตามข้อมูลของ BCG ผู้ตอบแบบสำรวจในสหรัฐอเมริกาและเยอรมนี (มีการใช้ ChatGPT ต่ำกว่า) ส่วนใหญ่จะ “ลองเล่น” โดยรวมแล้ว ผู้ตอบแบบสำรวจประมาณ 40% ระบุว่ารู้สึกตื่นเต้นกับ AI โดย 28% มีความขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ และ 29% มีความกังวล
จากเดิมชื่อ GPT-3.5 สร้างจากอัลกอริทึม ดีป เลิร์นนิ่งที่ซับซ้อน ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่จากหลายแหล่ง หลายภาษาในการเทรนด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ GPT-3.5 มีความสามารถภาษาอังกฤษดีทีเดียว ภาษาไทยดีพอใช้ ภาพรวม Gen AI แนวโน้มยังดีขณะที่ ภาพรวมของ Generative AI จากข้อมูล "เอคเซนเชอร์" เปิดงานวิจัยล่าสุด พบ Generative AI มีศักยภาพผลักดันมูลค่าเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เพิ่มขึ้นได้อีก 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับจีดีพีที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.7% ต่อปีในช่วง 15 ปีข้างหน้าหากองค์กรเลือกนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ด้วยความรับผิดชอบในวงกว้าง และให้ความสำคัญกับบุคลากรเป็นหลัก งานวิจัยของ เอคเซนเชอร์ ชี้ว่า การนำ Gen AI มาใช้อย่างรับผิดชอบ จะช่วยสร้างมูลค่าเศรษฐกิจมากขึ้นถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Gen AI โดยที่ไม่ได้ลงทุน หรือให้ความสำคัญกับบุคลากรและกระบวนการทำงานอย่างเหมาะสม ข้อค้นพบสำคัญจากงานวิจัยชิ้นนี้ ได้แก่ 33% ของชั่วโมงทำงานในเอเชียแปซิฟิก จะเปลี่ยนเป็นระบบอัตโนมัติหรือให้ Generative AI ช่วยทำงานเพื่อยกระดับประสิทธิภาพ จึงส่งผลกระทบต่อชั่วโมงทำงาน ซึ่งบุคลากรในออสเตรเลียและญี่ปุ่น จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ประมาณ 45% และ 44% ตามลำดับ ตามมาด้วยจีน (33%) และอินเดีย (31%) ขณะที่ 96% ของผู้บริหารในเอเชียแปซิฟิก ตระหนักดีว่า Gen AI จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่ง 91% ของคนทำงานในภูมิภาคนี้ ระบุว่า มีความพร้อมเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพื่อทำงานร่วมกับ Gen AI อย่างไรก็ดี มีเพียง 4% ของผู้บริหารเท่านั้น ที่ได้เริ่มฝึกทักษะพนักงานในการทำงานร่วมกับ Gen AI อย่างเต็มพิกัด อีกผลสำรวจที่ออกมาคล้ายกัน คือ 89% ธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกมีแผนเพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยี Gen AI ในปีนี้ แต่ก็มีเพียง 35% ของธุรกิจเท่านั้นที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนพัฒนาโครงสร้างกำลังคน
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/tech/gadget/1142190
|