ติดโซลาร์เซลล์บ้านเตรียมตัวยังไง ต้องตรวจสอบอะไบ้าง เช็คที่นี่

ติดโซลาร์เซลล์บ้านเตรียมตัวยังไง ต้องตรวจสอบอะไบ้าง เช็คที่นี่

ติดโซลาร์เซลล์บ้านเตรียมตัวยังไง ต้องตรวจสอบอะไบ้าง เช็คที่นี่
 
ติดโซลาร์เซลล์บ้านเตรียมตัวยังไง ต้องตรวจสอบอะไบ้าง เช็คที่นี่มีคำตอบ ฐานเศรษฐกิจทำการรวบรวมข้อมูลไว้ให้หมดแล้ว ทิศทางเกี่ยวข้องหรือไม่ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่มี

ติดโซลาร์เซลล์บ้านอยู่อาศัยต้องเตรียมตัวอย่างไร เป็นประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมุ่งหวังในการช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าเป็นหลัก

หลังจากที่เกิดประเด็นหนุ่มคนหนึ่งติดแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้านเอง ค่าไฟจากปกติเดือนละ 4,000-5,000 บาท เดือนล่าสุดเหลือแค่ 71.71 บาท

พร้อมระบุว่ากลางวันเปิดแอร์ 12000BTU 4 ตัว กลางคืน 3 ตัว จ่ายไฟบ้าน 3 หลัง ค่าติดตั้งประมาณ 300,000 บาท 

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงวิธีการเตรียมตัวในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ พบว่า 

การติดตั้ง "โซลาร์เซลล์" มีขั้นตอนหลายอย่างที่ต้องเตรียมตัว และต้องตัดสินใจ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของบ้าน

ไม่ว่าจะเป็นการเลือกอุปกรณ์ในการติดตั้ง บริษัทผู้จัดจำหน่าย และการเตรียมข้อมูลส่วนตัว

 

ข้อมูลที่ต้องเตรียม :

  • วัตถุประสงค์ในการติดตั้ง
  • ระบบไฟที่ใช้อยู่เป็น 1 เฟส หรือ 3 เฟส
  • แบบโครงสร้างบ้าน และแบบไฟฟ้า แต่ถ้าไม่มีสามารถให้ทีมงานเข้าไปสำรวจได้
  • บิลค่าไฟย้อนหลัง บางบริษัทขอดู 1-3 เดือน บางบริษัทขอดู 6 เดือน – 1 ปี เพื่อประเมินการใช้ไฟโดยเฉลี่ย
  • สัดส่วนการใช้ไฟช่วงกลางวันและกลางคืน
  • วัสดุมุงหลังคา และหลังคาหันไปทางทิศใด
  • ตำแหน่งที่อยากติดตั้งแผง "โซลาร์เซลล์" การมีเงาบังจากสิ่งรอบข้าง เพื่อนำมาพิจารณาร่วมกัน
  • ระบบที่ต้องการติดตั้ง ได้แก่ ออนกริด ออฟกริด หรือไฮบริด หรือให้ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ
  • ขณะที่ทางฝั่งของบริษัทที่จะมาติดตั้งก็จะมีขั้นตอนการดำเนินการเช่นเดียวกัน 

โดยเมื่อโทรศัพท์คุยและส่งข้อมูลกับทางทีมงานตามช่องทางการติดต่อแล้ว จะมีการนัดเข้าสำรวจหน้างานเพื่อตรวจสอบ วิเคราะห์ และพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหา จากนั้นจึงประเมินราคาให้ อาจมีบริการสำรวจหน้างานฟรี หรือมีค่าบริการสำรวจหน้างานเล็กน้อยซึ่งหักคืนได้เมื่อติดตั้ง หรือตามแต่ข้อกำหนดของบริษัท โดยมีสิ่งที่ต้องตรวจสอบ คือ

  • ทิศทางมีความเหมาะสม โดยทิศที่เหมาะที่สุดคือทิศใต้ เนื่องจากสามารถได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน
  • หลังคาต้องรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 20 กิโลกรัม/ตารางเมตร
  • เช็กหลังคาว่าสามารถติดตั้งได้ มีองศาเหมาะสม มีพื้นที่เพียงพอ
  • เช็กเฟสไฟของมิเตอร์ไฟ
  • เงาตกกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อนำมาออกแบบการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสม
  • ตำแหน่งตู้ไฟและพื้นที่ติดตั้งอินเวอร์เตอร์ อุปกรณ์ และแนวการเดินสาย
  • เช็กจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งานหนัก เช่่น ปั๊มน้ำ ขนาดเครื่องปรับอากาศ

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
https://www.thansettakij.com/sustainable/zero-carbon/562447

 

 

Visitors: 1,405,495