ตกบ่อ...ทำไมถึงตาย

ตกบ่อ....ทำไมถึงตาย
 
 
ต้นเดือนก็มีข่าวนึง เมื่อวานก็มีข่าวนึง ที่มีคนเสียชีวิตในบ่อต่างๆ เช่น บ่อเกรอะ บ่อบำบัด บ่อหมักปุ๋ยเป็นต้น
 
นอกจากการตกบ่อ ความรู้ตรงนี้ ยังใช้ในการทำงานในที่ปิด บริเวณเล็กๆได้ด้วย จึงขอรวมๆเป็น “เหตุการเสียชีวิตในที่อับอากาศ” เพราะด้วยความไม่รุ้นี้ ส่งผลให้มีโอกาสเสียชีวิตถึง 71% ของผู้ที่ประสบเหตุ
 
โดยที่ผ่านมา 56% ของคนที่เสียชีวิต เกิดจากการ “ลงไปช่วย” ดังนั้น เราต้องมีความรู้ตรงนี้ด้วย ถ้าเราจะมีน้ำใจช่วยคนที่ตกลงไป
 
บ่อแบบนี้ก็ชอบจะเปิดทิ้งไว้ ไม่คนตก ก็สุนัขตกลงไป เหตุแบบนี้นับไม่ถ้วนจริงๆ
 
วันนี้เลยไปหาข้อมูลมา หาได้ค่อนข้างยาก เพราะ reference ฝรั่งไม่ค่อยมี
 
จริงๆที่เสียชีวิตจากการตกบ่อนี้ ไม่ได้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ แต่เสียชีวิตจากการได้รับก๊าซพิษ ซึ่งก๊าซพิษเหล่านี้ เมื่อสูดดมเข้าไปทำให้หมดสติ นอกจากนี้ การอยู่ในบ่อเกรอะ ถือเป็นบริเวณที่มีออกซิเจนน้อยกว่าปกติ จึงยิ่งส่งเสริมให้สมองขาดออกซิเจนได้ง่ายยิ่งขึ้น
 
ก๊าซหลักๆที่มีผลต่อร่างกายคือ
 
- ก๊าซมีเทน ไม่มีกลิ่น แต่เป็นก๊าซไวไฟ มีน้ำหนักเบา ลอยขึ้นด้านบนได้
- ก๊าซแอมโมเนีย เป็นก๊าซพิษทำให้หมดสติ จนเสียชีวิตได้ โดยแอมโมเนียนี้ถ้าหากเป็นบ่อเปิด จะลอยสู่อากาศทำให้ลดอันตรายลงได้
- ก๊าซไข่เน่า หรือก๊าซ hydrogen sulfide เป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ เพราะฉะนั้นจะค้างอยู่ก้นบ่อเสมอ
 
ดังนั้นผู้ที่จะลงไปช่วยต้องมีความรู้ 5 ข้อดังนี้
1. เช็คก่อนลง ถ้าทำได้ โดยถ้าเป็นในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มันมีที่วิเคราะห์ก๊าซ ได้ว่าอากาศตรงนั้นมีความเข้มข้นของก๊าซเท่าไหร่ ก็อาจจะเอาเครืองนี้ใส่ตะกร้าแล้วหย่อนลงไปก่อน ถ้าพบว่าความเข้าข้นออกซิเจนน้อยกว่า 19% ถือว่าอันตราย (ในอากาศที่เราหายใจ มี 20.9%) และเครืองนี้มักจะบอกได้ว่ามีแอมโมเนีย กี่% และก๊าซไข่เน่ากี่% ซึ่งถ้าหากมีแอมโมเนียเกิดน 300 ppm หรือก๊าซไข่เน่าเกิน 100 ppm ถือว่าอันตราย และเป็นที่อับอากาศ ห้ามลงไปเด็ดขาด ถ้าไม่มีเครือง ก็ให้คิดไว้ก่อนว่าถ้าเป็นหลุม ก็คือเป็นที่อับอากาศ
 
2. ถ้ามีอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง ก็ต้องใส่ลงไปช่วย เช่น ใส่ถึงออกซิเจนลงไปช่วย ซึ่งตรงนี้น่าจะเป็นเรื่องของกู้ภัยละ (เอาจริงๆที่ผ่านมา กู้ภัยเองก็เสียชีวิตจากการลงไปช่วยในบ่อเหล่านี้ด้วย) หน้ากาก N95 ไม่พอนะคะ หน้ากากอะไรก็ไม่พอ เพราะหน้ากากไม่สามารถกรองก๊าซได้
 
3. ถ้าไม่มีถังอากาศหายใจ จะต้องมีการระบายอากาศก่อน เพื่อให้อากาศบริเวณนั้น อยู่ในสภาพที่ปกติ อันนี้เป็นอันที่คนพบเห็นเหตุการณ์สามารถทำได้ทันที เหมือนเป็นการซื้อเวลา คือใช้พัดลมเป่าลงบ่อ เพื่อเอาอากาศปกติเข้าบ่อให้ได้มากที่สุด และเอาที่ดูดน้ำ หรือที่ดูดอะไรซักอย่างแหย่ลงไปก้นบ่อ แล้วดูดอากาศข้างล่างออกมา
 
ถ้าคิดจะลงไปช่วยในที่อับอากาศ ต้องมีบัดดี้ด้วยอย่างน้อย 3 คน
- โดยคนแรกคอยกำกับดูแล โดยใช้ไตรพอด ระบบรอก และเชือกผูกโยงให้เพื่อนลงไปด้านล่าง
- ส่วนคนที่สองคอยตรวจวัดอากาศบริเวณนั้นตลอดเวลาว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
- คนที่สามลงไปปฏิบัติงานด้านล่าง โดยมีอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุเบื้องต้น มีเชือกรัดตัวผูกตรงใต้รักแร้ ไตรพอด ระบบรอก
ซึ่งตรงนี้จริงๆไม่แนะนำสำหรับคนทั้่วไป เพราะถ้าเราไม่รู้ว่าข้างล่างเป็นยังไง เราก็อาจจะลงไปแล้วอันตรายเหมือนกัน อย่าคิดว่าแป๊บเดียว เพราะก๊าซเหล่านี้อันตรายมากๆ
 
4. ถ้าเกิดเอาคนเจ็บขึ้นมาได้แล้ว รีบพาไปที่อากาศปลอดโปร่ง และหาออกซิเจนให้ดมโดยด่วน ในมุมคนเห็นเหตุการณ์ที่เสียชีวิตส่วนมากคือตกใจ และคิดว่าลงไปช่วยไม่นาน จึงประมาท เป็นเหตุให้การตายจากการตกบ่อ มักไม่ตายแค่คนเดียว
 
 
ขอบคุณที่มา : เพจ หมอสายดาร์ก
Visitors: 1,215,858