โควิดเปลี่ยนโลก หยุดคือถอยหลัง

โควิดเปลี่ยนโลก หยุดคือถอยหลัง
ครบรอบ 6 เดือนของการประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นการระบาดใหญ่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ห้ามหยุดนิ่ง การเรียนรู้ปรับตัวรับมือสถานการณ์คือสิ่งจำเป็น เครื่องมือดิจิทัลคือโอกาสในการเป็นผู้ชนะ และทุกคนต้องมีความหวังต่อไป ต่อให้เป็นเพียงแสงสว่างปลายอุโมงค์
 
 
องค์การอนามัยโลกระบุว่า วันนี้ (11 ก.ย.2563) ครบรอบ 6 เดือนของการประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) เป็นการระบาดใหญ่ หรือนับตั้งแต่วันที่ 11 มี.ค.63 สำหรับบางคนถือว่าเร็วมากกับเวลาที่ผ่านมา 6 เดือน เป็น 6 เดือนที่โลกเปลี่ยนแปลงทั้งกายภาพและจิตใจของคนครบทุกด้าน สังคม เศรษฐกิจและการเมือง ขณะที่ล่าสุดมีข่าวรัฐบาลสหรัฐมีแผนที่จะยุติการตรวจคัดกรองที่เข้มงวด ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย.นี้ ถือว่าเป็นความประมาทที่ผู้นำสหรัฐเลือกแล้ว
 
เนื่องจากความหวาดกลัวหลายประเทศยังไม่ลดน้อยถอยลง ผลการศึกษาล่าสุดยังพบว่า มีคนติดเชื้อซ้ำหลังจากหายป่วยแล้ว ส่งผลต่อความกังวลของการพัฒนาวัคซีนว่าคือคำตอบแน่หรือ โดยวัคซีนที่ขึ้นบัญชีกับองค์การอนามัยโลก 35 ตัว มีเพียง 9 ตัว ที่อยู่ในเฟสสุดท้าย ขณะที่สถานการณ์โดยรวมทั่วโลกยังไม่ค่อยดีนัก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูล ณ วันที่ 10 ก.ย. มีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกกว่า 28 ล้านคน ผู้เสียชีวิตกว่า 9 แสนราย
 
สถิติสำคัญ สหรัฐยังครองอันดับ 1 ทั้งยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตอยู่ที่ 6,549,475 คน และ 195,239 รายตามลำดับ ส่วนประเทศไทยผู้ติดเชื้อ 3,454 คน เสียชีวิต 58 ราย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายละเอียด สัดส่วนผู้เสียชีวิตต่อการติดเชื้อเริ่มลดลง หรือเฉลี่ยจากระดับ 5% ลงมาสู่ระดับไม่ถึง 3% เราหวังว่าสัดส่วนดังกล่าวจะลดลงอย่างต่อเนื่อง หากเทียบกับโลกระบาดใหญ่ในอดีตทั้งอหิวาต์ โรคเอดส์ สัดส่วนผู้เสียชีวิตต่อการติดเชื้ออยู่ที่ระดับ 5-10% บางครั้งมากกว่า 10% ด้วยซ้ำ
 
การเปลี่ยนแปลงในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมาพบว่า หลายสถานที่สำคัญบนโลก โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวกำลังได้รับการฟื้นฟูโดยธรรมชาติ พื้นที่สิ่งปลูกสร้างหลายแห่งทรุดโทรมลง เพราะรกร้างจากการใช้งาน สังคมมนุษยชาติมีระยะห่าง ส่วนเศรษฐกิจแทบจะหยุดการเคลื่อนไหวจนล้มละลาย ไม่นับสังคมการเมืองที่ผู้มีอำนาจโฟกัสกับการประชุมแก้ปัญหาโควิด ไม่รวมสีสันแฟชั่นเครื่องแต่งกาย และการสวมใส่หน้ากาก ได้บีบบังคับชาวโลกให้เปลี่ยนตัวเอง แม้แต่การล้างมือ จากนี้ไปมีแต่จะมากขึ้น เพราะเป็นความเคยชิน
 
6 เดือนที่ผ่านมา ห้ามหยุดนิ่ง เราเห็นว่าการเรียนรู้ปรับตัวรับมือสถานการณ์คือสิ่งจำเป็น เครื่องมือดิจิทัลคือโอกาสในการเป็นผู้ชนะ ไม่ว่าระดับบุคคล องค์กรและระดับประเทศ จะใช้ชีวิต ปฏิบัติตัวหรือมีนโยบายอย่างไรให้รอดจากเชื้อโควิด โดยยังมีงานทำไม่เป็นภาระของคนอื่น รัฐบาลก็ต้องมีแผนฟื้นเศรษฐกิจชัดเจนและต่อเนื่องภายใต้ข้อจำกัด เราเห็นว่าประเทศไทยต้องไปให้ถึงจุดนั้น เพื่อโลกยุคหลังโควิดจะไม่ทำร้ายเรา คนไทยทุกคนต้องมีความหวัง ต่อให้เป็นเพียงแสงสว่างปลายอุโมงค์ เพราะความหวังทำให้มนุษย์รอด
 
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ https://www.blockdit.com/articles/5f5a737e9e70a63d0797364b/#
ครบรอบ 6 เดือนของการประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นการระบาดใหญ่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ห้ามหยุดนิ่ง การเรียนรู้ปรับตัวรับมือสถานการณ์คือสิ่งจำเป็น เครื่องมือดิจิทัลคือโอกาสในการเป็นผู้ชนะ และทุกคนต้องมีความหวังต่อไป ต่อให้เป็นเพียงแสงสว่างปลายอุโมงค์
บทบรรณาธิการกรุงเทพธุรกิจ
โควิดเปลี่ยนโลก หยุดคือถอยหลัง | บทบรรณาธิการกรุงเทพธุรกิจ
องค์การอนามัยโลกระบุว่า วันนี้ (11 ก.ย.2563) ครบรอบ 6 เดือนของการประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) เป็นการระบาดใหญ่ หรือนับตั้งแต่วันที่ 11 มี.ค.63 สำหรับบางคนถือว่าเร็วมากกับเวลาที่ผ่านมา 6 เดือน เป็น 6 เดือนที่โลกเปลี่ยนแปลงทั้งกายภาพและจิตใจของคนครบทุกด้าน สังคม เศรษฐกิจและการเมือง ขณะที่ล่าสุดมีข่าวรัฐบาลสหรัฐมีแผนที่จะยุติการตรวจคัดกรองที่เข้มงวด ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย.นี้ ถือว่าเป็นความประมาทที่ผู้นำสหรัฐเลือกแล้ว
เนื่องจากความหวาดกลัวหลายประเทศยังไม่ลดน้อยถอยลง ผลการศึกษาล่าสุดยังพบว่า มีคนติดเชื้อซ้ำหลังจากหายป่วยแล้ว ส่งผลต่อความกังวลของการพัฒนาวัคซีนว่าคือคำตอบแน่หรือ โดยวัคซีนที่ขึ้นบัญชีกับองค์การอนามัยโลก 35 ตัว มีเพียง 9 ตัว ที่อยู่ในเฟสสุดท้าย ขณะที่สถานการณ์โดยรวมทั่วโลกยังไม่ค่อยดีนัก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูล ณ วันที่ 10 ก.ย. มีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกกว่า 28 ล้านคน ผู้เสียชีวิตกว่า 9 แสนราย
สถิติสำคัญ สหรัฐยังครองอันดับ 1 ทั้งยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตอยู่ที่ 6,549,475 คน และ 195,239 รายตามลำดับ ส่วนประเทศไทยผู้ติดเชื้อ 3,454 คน เสียชีวิต 58 ราย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายละเอียด สัดส่วนผู้เสียชีวิตต่อการติดเชื้อเริ่มลดลง หรือเฉลี่ยจากระดับ 5% ลงมาสู่ระดับไม่ถึง 3% เราหวังว่าสัดส่วนดังกล่าวจะลดลงอย่างต่อเนื่อง หากเทียบกับโลกระบาดใหญ่ในอดีตทั้งอหิวาต์ โรคเอดส์ สัดส่วนผู้เสียชีวิตต่อการติดเชื้ออยู่ที่ระดับ 5-10% บางครั้งมากกว่า 10% ด้วยซ้ำ
การเปลี่ยนแปลงในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมาพบว่า หลายสถานที่สำคัญบนโลก โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวกำลังได้รับการฟื้นฟูโดยธรรมชาติ พื้นที่สิ่งปลูกสร้างหลายแห่งทรุดโทรมลง เพราะรกร้างจากการใช้งาน สังคมมนุษยชาติมีระยะห่าง ส่วนเศรษฐกิจแทบจะหยุดการเคลื่อนไหวจนล้มละลาย ไม่นับสังคมการเมืองที่ผู้มีอำนาจโฟกัสกับการประชุมแก้ปัญหาโควิด ไม่รวมสีสันแฟชั่นเครื่องแต่งกาย และการสวมใส่หน้ากาก ได้บีบบังคับชาวโลกให้เปลี่ยนตัวเอง แม้แต่การล้างมือ จากนี้ไปมีแต่จะมากขึ้น เพราะเป็นความเคยชิน
6 เดือนที่ผ่านมา ห้ามหยุดนิ่ง เราเห็นว่าการเรียนรู้ปรับตัวรับมือสถานการณ์คือสิ่งจำเป็น เครื่องมือดิจิทัลคือโอกาสในการเป็นผู้ชนะ ไม่ว่าระดับบุคคล องค์กรและระดับประเทศ จะใช้ชีวิต ปฏิบัติตัวหรือมีนโยบายอย่างไรให้รอดจากเชื้อโควิด โดยยังมีงานทำไม่เป็นภาระของคนอื่น รัฐบาลก็ต้องมีแผนฟื้นเศรษฐกิจชัดเจนและต่อเนื่องภายใต้ข้อจำกัด เราเห็นว่าประเทศไทยต้องไปให้ถึงจุดนั้น เพื่อโลกยุคหลังโควิดจะไม่ทำร้ายเรา คนไทยทุกคนต้องมีความหวัง ต่อให้เป็นเพียงแสงสว่างปลายอุโมงค์ เพราะความหวังทำให้มนุษย์รอด
Visitors: 1,403,296