วงจรการนอนหลับ

คุณมีอาการเหล่านี้บ้างหรือไม่
 
-ขี้เกียจลุกจาเตียงตอนเช้า
-น้ำหนักขึ้น
-เป็นหวัดง่าย
-มีริ้วรอย ใต้ตาคล้ำ
-หงุดหงิดง่าย
 
ถ้าคุณมีอาการดังกล่าว 2-3 ข้อ นานเป็นสัปดาห์ นั้นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณนอนไม่เพียงพอ เเละมีความเสี่ยง เป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคเบาหวาน เเละอีกมากมาย
 
เมื่อพูดถึงการนอน การนอนเเบ่งออกเป็น 2 ช่วงครับ
1.) ช่วงหลับธรรมดา (Non-Rapid Eye Movement Sleep หรือ Non-REM Sleep)
ช่วง Non-REM Sleep นี้สามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 3 ระยะดังนี้
-ระยะที่ 1 เป็นช่วงเริ่มหลับ ในระยะนี้สมองจะทำงานช้าลง ถ้าเราถูกปลุกในระยะนี้เราจะตื่นง่ายไม่ค่อยงั่วเงีย ใช้เวลา 10-15 นาที
-ระยะที่ 2 ช่วงหลับเคลิ้ม จะใช้เวลาประมาณ 60-70 นาที
-ระยะที่ 3 เป็นช่วงที่หลับลึก ร่างกายจะเริ่มไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
2) ช่วงหลับฝัน (Rapid Eye Movement Sleep หรือ REM Sleep)
เป็นช่วงของการหลับฝัน ลูกตาของเราจะเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว การนอนหลับในช่วงนี้
จะช่วยเรื่อง ความทรงจำ การเรียนรู้ถาวร การจิตนาการ ซึ่ง Growth hormone จะหลั่งออกมาช่วงนี้ โดย Growth hormone จะหลั่งออกมามากที่สุดในช่วง 24:00-1:30 น. ดังนั้นเราควรเข้านอนเวลา 22:00 น. หรืออย่างช้าสุด 23:00 น.
 
ในขณะที่เราเริ่มหลับนั้น เราจะเข้าสู่ระยะ Non-REM ระยะที่ 1 และค่อยๆไปสู่ระยะที่ 2, 3 ตามลำดับ แล้วจึงถอยกลับมาเข้าสู่ระยะ Non-REM จากระยะที่ 3 ไประยะที่ 2, 1 จากนั้นจึงเข้าสู่ ระยะ REM แล้วจึงเริ่มกลับมาเข้าสู่ระยะ Non-REM ระยะที่ 1, 2, 3 ใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นการเริ่มรอบใหม่ของวงจรของการนอนหลับ
 
จาก REM เเรกไปสู่อีก REM จะใช้เวลาประมาณ 90 นาที เรียกว่าเป็น 1 รอบการนอน คนเราควรจะมีรอบการนอนอยู่ที่ 3-6 รอบต่อคืน
ตอนนี้ยังไม่มีงานวิจัยเเน่ชัดว่าคนเราต้องนอนกี่ชั่วโมง ซึ่งบ้างคนนอน 6 ชั่วโมง บ้างคนนอน 7 ชั่วโมง ก็เเล้วเเต่ร่างกายของเเต่ละคน
 
 
 
ข้อมูลดีๆจาก : why we sleep
 
 
 
 
Visitors: 1,213,066