โรค NCDs สาเหตุการตายอันดับ 1 ของโลก พบไทยป่วยสูง 14 ล้านคน

โรค NCDs สาเหตุการตายอันดับ 1 ของโลก พบไทยป่วยสูง 14 ล้านคน

รู้หรือไม่ ? ในแต่ละปีพบผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs ในกลุ่มอายุ 30-69 ปีหรือเรียกว่า “การเสียชีวิต ก่อนวัยอันควร” มากถึง 15 ล้านคน ที่ล้วนเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต

 

โรค NCDs หรือ Non-communicable disease กลุ่มโรคไม่ติดต่อรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค และไม่มีการแพร่กระจายจากคนสู่คน แต่เป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด แน่นอนว่าทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาดังกล่าวจากการรายงานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบประชากรทั่วโลก เสียชีวิตจากโรค NCDs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 38 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 68ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก) ในปีพ.ศ. 2555 เป็น 41 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 71 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก) ในปีพ.ศ. 2559

 

 

 

กลุ่มโรค NCDs ที่พบการเสียชีวิตมากที่สุด 

 

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด (17.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 44)
  • โรคมะเร็ง (9.0 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 22)
  • โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (3.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 9)
  • โรคเบาหวาน (1.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 4)

 

ซึ่งในแต่ละปีพบผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs ในกลุ่มอายุ 30-69 ปีหรือเรียกว่า “การเสียชีวิต ก่อนวัยอันควร”มากถึง 15 ล้านคน โดยร้อยละ 85 เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง โดยปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียปีสุขภาวะและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง

ขณะที่ประเทศไทย จากข้อมูลสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ปี 2552 มีผู้ป่วยด้วยโรคในกลุ่มนี้ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตมากกว่า 3 แสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 73 ของการเสียชีวิตของประชากรไทยทั้งหมด และมากกว่าครึ่งเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี ซึ่งสูงกว่าอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยของประชากรทั้งโลกถึง 10%

 

 

ทำไมโรค NCDs ถึงน่ากังวล 

โรค NCDs (Non-Communicale diseases)  เป็นโรคที่ไม่ได้มาจากเชื้อโรค หรือติดเชื้อ ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง ต่างๆ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ทานอาหาร Fast food ออกกำลังกายน้อย มีความเครียดสะสม จนกลายเป็นภัยเงียบที่แฝงตัวในกลุ่มคนทำงาน สืบเนื่องจากเป็นวัยที่ทำงานหนัก มีภาวะเครียด พักผ่อนน้อย ทานอาหารไม่เป็นเวลา ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาไขมันในเลือดสูง,ความดันโลหิตสูง,น้ำตาลในเลือดสูงและ ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ซึ่งทำให้เกิดโรค NCDs ในที่สุด

 

ปรับพฤติกรรมเลี่ยงก่อโรค NCDs

 

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานผักและผลไม้
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารฟาดฟู้ด อาหารมัน รวมถึงอาหารปิ้งย่าง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  งดสูบบุหรี่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด
  • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล,กระทรวงสาธารณสุข 



Visitors: 1,229,090