ผลวิจัยใหม่ชี้คนไทยเดิน 1,000 ก้าวต่อวันเท่านั้น หรือนี่จะเป็นสาเหตุให้คนไทย "เจ็บป่วย-อ้วน"
. คงไม่ต้องเถียงกันว่า “การออกกำลังกาย” เป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว ซึ่งการออกกำลังกายอะไรดีกว่ากันก็อาจเป็นประเด็นร้อนให้คนมาเถียงกัน แต่ในที่นี้ เราอยากจะเสนอว่าการ “เดิน” น่าจะเป็นการออกกำลังกายที่ “ดี” ที่สุด เพราะมันเป็นการออกกำลังกายขั้น “พื้นฐาน” ที่สุดที่คนทั่วไปทำได้แบบไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์อะไรทั้งนั้น แถมทำที่ไหนก็ได้ด้วย . พลังของการเดิน . การ “เดิน” มีพลังขนาดไหน โดยทั่วไป เขาก็อธิบายว่าคนญี่ปุ่นที่เป็นชาติที่ไม่ “เข้ายิม” กันเลย แต่ดันสุขภาพดี ก็เพราะเป็นไม่กี่ชาติในโลกที่เดินได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำของการเดินที่ “ดีต่อสุขภาพ” ที่อยู่ประมาณ 7,500 ก้าวต่อวัน (ตัวเลขนี้มายังไง ทำไมไม่ใช่ 10,000 ก้าว ไปอ่านได้ที่ https://www.brandthink.me/content/walk-7500-steps-per-day) . และในทางกลับกัน เขาก็คิดเช่นกันว่า ชาติที่ “เดินน้อย” ร่างกายก็น่าจะไม่ค่อยแข็งแรง และเต็มไปด้วยโรคสารพัด . ปัญหาคือนี่เป็นเพียงสมมติฐาน ไม่เคยมีวัดกันจริงๆ จังๆ ไม่มีองค์กรใดมา “นับก้าว” จริงๆ แบบเป็นระบบ ซึ่งในงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดที่พยายามหาจำนวนก้าวต่อวันของคนทั่วโลก และเคยมานั่งนับก้าวของคนไทยก็ออกมาที่ 4,600 ก้าวต่อวัน แต่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนั้นยังน้อย เพียงแค่ไม่ถึง 5,000 คน . ซึ่งถ้าใครเคยนับก้าวตัวเอง ก็อาจสงสัยว่า คนไทยเดินกันเยอะขนาดนั้นเลยเหรอ? หรือจริงๆ ผลมันคลาดเคลื่อนเพราะสุ่มตัวอย่างไม่ดี? . สธ.ไทยชี้คนไทยเดินวันละพันก้าว . ทีนี้ บังเอิญกระทรวงสาธารณสุขได้ทำโครงการชื่อ “ท้าไทยก้าว...ไกลโรค” ในปี 2020 ซึ่งมีการเก็บข้อมูลการเดินของคนไทยเกือบ 200,000 คน ในช่วงมกราคมถึงมีนาคม 2020 (เป็นช่วง “ก่อนโควิด” นิดนึงพอดี) . นับเป็นการเก็บข้อมูลการเดินของคนไทยที่เป็นระบบที่สุดที่เคยมีมา โดยมีการแยกละเอียดทั้งเพศ วัย ความอ้วน ฯลฯ และล่าสุดผลการวิจัยนี้ก็ตีพิมพ์ออกมาแล้ว . รายละเอียดที่น่าสนใจมีหลายจุด เข่นการที่ “คนแก่” เดินเยอะกว่าคนหนุ่มสาวนิดหน่อย รวมถึง “คนเมือง” เดินเยอะกว่าคนในชนบทนิดหน่อย คนอ้วนหรือไม่อ้วนนั้นก็เดินต่อวันพอๆ กัน . แต่ที่ชวน “ช็อก” มากๆ ก็คือ “ค่าเฉลี่ย” การเดินของคนไทยโดยรวมอยู่แค่ประมาณ 1,000 ก้าวเท่านั้น และไม่ว่าจะคนกลุ่มไหน มันก็ไม่มีใครเดินเฉลี่ยถึง 1,500 ก้าวด้วยซ้ำ ซึ่งน้อยกว่าที่ทางมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดวิจัยเอาไว้ก่อนหน้านี้มากราวกับ “หนังคนละม้วน”
ซึ่งถามว่าคนไทยเดินใช้เวลาเท่าไรต่อวัน? . ถ้าเป็นวิถีตามตัวอย่างที่ว่ามา เวลาเดินต่อวันน่าจะรวมๆ กันแค่ 15-20 นาที ซึ่งนี่ก็ไม่แปลกเลยที่คนญี่ปุ่นเดินมากกว่าคนไทยประมาณ 7 เท่า หรือในขณะที่เราเดินประมาณ 1,000 ก้าว เขาเดินวันละประมาณ 7,000 ก้าว . อยากเดินเยอะขึ้นทำไงดี? . คงไม่ต้องอธิบายกันมากว่าถ้านี่คือเรื่องที่เกิดขึ้น “ทุกวัน” ผลในการสร้างความแตกต่างด้านสุขภาพระหว่างคนไทยและญี่ปุ่นมันมหาศาลสุดๆ หรือจะคิดให้ง่ายกว่านั้น 6,000 ก้าวที่เป็นความต่างระหว่าง “จำนวนก้าวรายวัน” ของสองชาตินี้ ถ้าว่ามัน “เบิร์นพลังงาน” จากอาหารได้เท่าไร คิดง่ายๆ คือประมาณข้าวถ้วยหนึ่งเลย . และนี่แหละคือเหตุผลที่เราเห็นคนญี่ปุ่นกินอาหารเต็มไปด้วยแป้งแล้วไม่อ้วนกัน คือการเดินต่อวันของพวกเขาเอาพลังงานไปใช้หมด คือเขาเดินเช้าเดินเย็นทุกวัน ดังนั้นพลังงานมันไม่ใช่แค่ได้ใช้ แต่มันถูกเฉลี่ยใช้ทั้งวันด้วย . สุดท้าย ก็ต้องย้ำว่า ที่เขาวิจัยในไทยล่าสุดนี่คือ “ก่อนโควิด” นะครับ ตอนโควิดนี่คนไทยเดินน้อยลงกว่าเดิมแน่นอน ไม่ถึง 1,000 ก้าวโดยเฉลี่ยแน่ๆ และก็ไม่แปลกเลยที่คนทั่วไปจะ “เจ็บป่วย” หรือรู้สึกไม่สบายตัวสุดๆ กัน . เพราะช่วงโควิด คนไทยแทบไม่ได้ “ออกกำลังกาย” เลย และก็ยังไม่ต้องนับว่าพอล็อคดาวน์ ร้านนวดยันยิมก็ปิดอีก เรียกได้ว่า สถานการณ์ดูจะส่งให้เรา “ไม่ได้ขยับร่างกาย” กันยาวๆ . ทั้งนี้ ตอนนี้ปลดล็อคดาวน์แล้ว แม้ว่าหลายๆ สถานที่ยังไม่เปิด แต่ห้างยังเปิดครับ นึกอะไรไม่ออกก็เดินห้างได้ . แอร์เย็นๆ เดินไปเถอะครับ มันดีต่อสุขภาพจริงๆ . อ้างอิง: NCBI. Daily Step Counts from the First Thailand National Steps Challenge in 2020: A Cross-Sectional Study. https://bit.ly/3mb7IHA Nature. Large-scale physical activity data reveal worldwide activity inequality. https://stanford.io/3mb7JLE
ที่มา : @brandthink.me https://www.instagram.com/p/CgtFpG2PhTT/
|