โพแทสเซียม ในผักและผลไม้ เทคนิคลดและเลือกอาหารสำหรับผู้ป่วย

โพแทสเซียม ในผักและผลไม้ เทคนิคลดและเลือกอาหารสำหรับผู้ป่วย

 

โพแทสเซียม (Potassium) เป็นแร่ราตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีบทบาทสำคัญให้ร่างกายทำงานได้ปกติ ทั้งช่วยในการควบคุมระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ควบคุมสมดุลอิเล็กโตรไลต์ และสมดุลกรด-เบส กลับกันผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมลดลง ทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือดได้ จึงจำเป็นต้องใส่ใจโพแทสเซียมในอาหารเป็นพิเศษ 

 
 
 
“โพแทสเซียม” ในผักและผลไม้ เทคนิคลดและเลือกอาหารสำหรับผู้ป่วย

เกณฑ์ในการจำแนกระดับโพแทสเซียม

  • <3.5 *mEq/L ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) ผู้ป่วยอาจมีอาการ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตะคริว หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • >5.0 *mEq/L ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia) ผู้ป่วยอาจมีอาการ  กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจหยุดเต้น

โดยแพทย์แนะนำว่า ควรจำกัดการได้รับโพแทสเซียมจากอาหารอยู่ที่ 2,000 มิลลิกรัม/วัน โดยรักษาระดับโพแทสเซียมในเลือดให้อยู่ในช่วง 5 – 5.0 mEq/L

หมวดผัก ปริมาณ 1 ส่วนเท่ากับ (ผักสุก 1 ทัพพี หรือ ผักดิบ 2 ทัพพี (100 กรัม) )


                                                                                ผักโพแทสเซียมต่ำถึงปานกลาง

  • แตงกวา แตงร้าน ฟักเขียว ฟักแม้ว บวบ มะระ มะเขือยาว มะละกอดิบ ถั่วแขก หอมใหญ่ กะหล่ำปลี ผักกาดแก้วผักกาดหอม พริกหวาน พริกหยวก



ผักที่โพแทสเซียมสูง

  • เห็ด หน่อไม้ฝรั่ง บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ แครอท แขนงกะหล่ำ ผักโขม ผักบุ้ง ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง

ยอดฟักแม้ว ใบแค ใบคืนช่าย มันเทศ มันฝรั่ง ฟักทอง อโวคาโด


 

หมวดผลไม้ ผลไม้ ปริมาณ 1 ส่วน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดผลไม้ (น้ำหนักเฉพาะส่วนที่รับประทานได้)

ผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมต่ำถึงปานกลาง

  • แอปเปิล 1 ผล
  • สับปะรด 5 ชิ้นคำ
  • ลองกอง 8 ผล
  • ส้มโอ 2 กลีบ
  • เงาะ 4 ผล
  • ชมพู่ 2 ผล
  • พุทรา 6 ผลเล็ก
  • มังคุด 4 ผลเล็ก
  • องุ่นเขียว 15 ผลเล็ก

ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง

  • กล้วยน้ำว้า 1 ผล
  • กีวี 1 ผลเล็ก
  • แคนตาลูป 8 ชิ้น
  • มะละกอสุก 5 ชิ้นคำ
  • ส้มเขียวหวาน 1 ผล
  • แตงโม 10 ชิ้นคำ
  • มะม่วงสุก/ดิบ 12
  • แก้วมังกร 5 – 6 ชิ้น
  • ฝรั่ง 1 ลูกเล็ก
  • น้ำผักผลไม้ต่าง ๆ 12 แก้ว
  • กล้วยหอม 1/2 ผล
  • กล้วยตาก 1 ชิ้นกลาง
  • ขนุน 2 ยวงเล็ก
  • ทุเรียน 1 พูเล็ก

ผัก ผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยง

  • ผลไม้โพแทสเซียมสูง มักมีรสชาติหวานจัด หรือเปรี้ยวจัด เนื้อแน่น และนิ่ม หรือมีสีสวยสด
  • ผลไม้แห้ง ผลไม้กระป๋อง/แปรรูป และน้ำผลไม้มีความเข้มข้นโพแทสเซียมสูง
  • ผักที่มีสีสวยสด และพืชหัว จะได้ปุ๋ยโพแทสเซียม เร่งสี เร่งผล จึงมีโพแทสเซียมสูง

เทคนิค ลด “โพแทสเซียม” สำหรับผู้ป่วยโรคไตหรือโรคหัวใจ

  • เลือกกลุ่มผักโพแทสเซียมต่ำ-ปานกลาง รวมกันวันละ 3 ทัพพี
  • เลือกกลุ่มผลไม้โพแทสเซียมต่ำ-ปานกลาง รวมกันวันละ 1-2 ส่วน
  • การหั่นผักเป็นชิ้นเล็ก แล้วต้มในน้ำ จะเป็นการลดปริมาณโพแทสเซียมลง เนื่องจากโพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุที่ละลายในน้ำ แต่วิธีการนี้ก็จะทำให้สูญเสียวิตามินบางชนิดไปกับน้ำและความร้อน การทอดไม่ได้ทำให้โพแทสเซียมสลายไป
  • การรับประทานผัก ผลไม้ กลุ่มโพแทสเซียมต่ำ-ปานกลางปริมาณมาก จะส่งผลทำให้ได้รับปริมาณโพแทสเซียมสูงได้
  • สามารถใช้ผักโพแทสเซียมสูงถ้าใช้ในปริมาณน้อยมาก ๆ ได้ในบางกรณี เช่น ขิงซอยโรยหน้าข้าวต้ม กระเทียมใส่ในผัดผัก
  • หลีกเลี่ยงน้ำผักผลไม้ ผลไม้แห้ง ผลไม้กระป๋อง/แปรรูป

บางกรณีแพทย์/นักกำหนดอาหารอาจพิจารณาให้งดผัก ผลไม้ หากมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงเกินเกณฑ์ ที่สำคัญควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอทุกครั้ง

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 2

 

 

Visitors: 1,520,702