ภัยเงียบ โรคไขมันสะสมที่ตับ
อาการของโรค
- ระยะที่ 1 ไขมันก่อตัวอยู่ในเนื้อตับ คนไข้จะไม่มีอาการใด ๆ
- ระยะที่ 2 ตับเริ่มเกิดการอักเสบ นาน ๆ เข้าก็กลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
- ระยะที่ 3 ตับอักเสบรุนแรง เกิดพังผืดในตับและเซลล์ตับค่อย ๆ ถูกทำลาย
- ระยะที่ 4 เซลส์ตับถูกทำลายมาก ตับทำงานไม่ได้ตามปกติ เกิดอาการ ตับแข็งและอาจกลายเป็นมะเร็งตับ
กลุ่มเสี่ยง
- ผู้ที่มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน
- ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี (คนผอม)
- ผู้ที่ใช้ยาทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม
- ผู้ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ขนาดสูง ๆ
- ผู้ที่ใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจบางชนิด
- ผู้ที่ใช้ยารักษาโรคข้ออักเสบบางชนิด
- ผู้ที่ใช้ยารักษาโรคตับบางชนิด
การป้องกัน
- ควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น น้ำหนัก, การรับประทาน, อาหาร, การใช้ยา, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ตรวจสุขภาพประจำปี และตรวจการทำงานของตับ
- การใช้ยารักษา เช่น วิตามินอี ยารักษาโรคเบาหวาน แต่ให้ผลได้ในระยะสั้น ในระยะยาวไม่ดีเท่าการควบคุมน้ำหนัก
เคล็ดลับจากคุณหมอรามาฯ
โรคนี้เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ แต่ผู้ป่วยต้องมีวินัย เพราะต้องใช้เวลาในการรักษารวมถึงการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อย่างถูกต้องเข้มงวด เพราะฉะนั้นไม่ต้องตื่นตระหนกจนเกินไป
ข้อมูลจาก อ. พญ.ศุภมาส เชิญอักษร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
|