ร้อนตับแตก มีที่มาอย่างไร ทำไมถึงกลายเป็นวลีฮิตติดปากคนไทยช่วงหน้าร้อน
ร้อนตับแตก มีที่มาอย่างไร ทำไมถึงกลายเป็นวลีฮิตติดปากคนไทยช่วงหน้าร้อน
"ร้อนตับแตก" มีที่มาอย่างไร ทำไมถึงกลายเป็นวลีฮิตติดปากคนไทยช่วงหน้าร้อน สปริงชวนสำรวจที่มาของคำนี้ พร้อมทั้งสำนวนฝรั่งที่สื่อถึงอากาศร้อน เอาไว้ใช้บ่นขิงข่าในวันที่ร้อนจนเหงื่อไหล ร้อนจนตับแตก! รู้สึกเหมือนกันไหมว่าเมื่อเข้าสู่หน้าร้อน พี่ดวงอาทิตย์เขาจะรักเราเป็นพิเศษ อุณหภูมิแต่ละวันพุ่งเกิน 40 จนเป็นเรื่องปกติ อากาศร้อนถึงขั้นรองเท้าบิดเบี้ยว พัดลมบนเพดานคดเคี้ยว เหลือแค่ทอดไข่จนสุกเกรียมแล้วล่ะ อะไรมันจะร้อนขนาดนั้น ร้อนจนตับแตก! เอ๊ะ...ว่าแต่ “ร้อนตับแตก” ที่เราพูด ๆ กัน มันมีที่มาอย่างไร แล้วตับที่ว่าใช่เครื่องในของเราไหม ถ้าไม่ใช่แล้วมันคืออะไร ทำไมคนไทยถึงเปรียบเทียบว่าร้อนตับแตกสปริงชวนติดตามเรื่องราวประวัติศาสตร์วลีฮิต “ร้อนตับแตก” ย้อนที่มา “ร้อนตับแตก” วาทกรรมที่มาพร้อมกับอากาศฮ้อนจริง ๆ แล้ว คำว่า “ตับ” ไม่ได้หมายถึงเครื่องในของเราแต่อย่างใด แต่หมายถึงใบจากซึ่งคนสมัยก่อนนิยมนำมาทำเป็นหลังคาบ้าน โดยจะเย็บเรียงติดต่อกัน นี่คือนิยามของคำว่าตับ
ส่วนตับแตกมันเกิดจากตอนที่ใบจากถูกอากาศร้อนจัด จนเกิดเสียงดังเปรี๊ยะ ๆ ทำให้เราเรียกติดปากกันมาว่า “ร้อนตับแตก” โอ๊ย...กทม.ทำไมอากาศร้อนขนาดนี้ ร้อนจนตับแตก อย่างไรก็ดี แม้ยุคสมัยจะผ่านไปแล้วหลายชั่วอายุคน แต่สำนวนนี้ ซึ่งฝังรากลึก (มาก) ก็ไม่ได้เลือนหายไปไหน คนยังคงใช้คำว่าร้อนตับแตกเพื่อบ่งบอกว่าวันนั้นอากาศร้อนมาก และคาดว่าน่าจะถูกส่งต่อกันไปเรื่อย ๆ สำนวนภาษาอังกฤษ สื่อถึงอากาศร้อนรู้สำนวนไทยไปแล้ว คิดว่าถ้าจะให้ครบก็ควรต้องนำวิธีบ่นขิงข่าว่าอากาศร้อนในโลกตะวันตกมาฝากกันด้วย เผื่อว่าเรามีเพื่อน แฟน หรือคนใกล้ตัวเป็นฝรั่ง เราจะได้เอ่ยออกไปได้อย่างถูกต้อง แถมได้อรรถรสไม่แพ้ภาษาไทย
Asia’s boiling hot! – เอเชียเดือดมากแม่ท่องศัพท์สำนวนกันไปแล้ว มาติดตามสถานการณ์อากาศร้อนในเอเชียกันหน่อย เรียกได้ว่าต้องปาดเหงื่อกันเลยทีเดียว เพราะเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียถูกคลื่นความร้อนถล่มอย่างหนัก กรุงเทพมหานคร อากาศร้อนพุ่ง 40 องศา และถือเป็นข่าวร้ายเพราะมีรายงานว่า ในปีนี้ (2567) มีคนเสียชีวิตจากฮีตสโตรกแล้ว 30 ราย ขณะที่จังหวัดในภาคเหนือของไทย อุณหภูมิพุ่งทะลุ 44 องศา
ฟิลิปปินส์ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร ด้วยอากาศที่ร้อนมาก ๆ ทำให้โรงเรียนรัฐบาลทั่วประเทศหลายหมื่นแห่งต้องระงับชั้นเรียน และเปลี่ยนไปเรียนออนไลน์ เพื่อเซฟสุขภาพของเด็ก ๆ แต่ซ้ำร้าย ไม่ใช่เด็กทุกคนที่สามารถเข้าถึงการเรียนทางไกลได้ แถมกลับมาบ้านก็ใช่ว่าจะหนีอากาศร้อนอันหฤโหดได้พ้น
ทั้งนี้ เวียดนาม พม่า กัมพูชา ก็มีอากาศร้อนเหมือน “เตาหลอม” อุณหภูมิพุ่งทะลุ 40 องศา ประชาชนไม่สามารถอาศัยอยู่ในบ้านได้ในตอนเที่ยงวัน หลายคนต้องมานั่งหลบแดดที่ร่มเงาจากต้นไม้ เพราะอยู่ในบ้าน เหมือนอยู่ในเตาอบดี ๆ นี่เอง
ที่มา: Euro News |