อาการ FOSO คืออะไร ? ความบกพร่องแห่งยุคดิจิทัล กลัวตกกระแส วางมือถือไม่ได้
อาการ FOSO คืออะไร ? ความบกพร่องแห่งยุคดิจิทัล กลัวตกกระแส วางมือถือไม่ได้
ทำความรู้จัก อาการ FOSO คืออะไร ? ความบกพร่องแห่งยุคสมัยดิจิทัล กลัวตกกระแส วางมือถือไม่ได้ โดย FOMO คือ อาการกลัวตกกระแส ย่อมาจากคำว่า Fear of Missing Out สื่อถึงอาการที่ไม่อยากพลาดกระแสสำคัญบนโลกออนไลน์ กลัวว่าจะพลาดประเด็นสำคัญ จนทำให้คนเราวางมือถือไม่ได้ โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต กลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของคนในยุคสมัยดิจิทัลไปแล้ว หากจะบอกว่า ขาดมือถือเหมือนขาดใจ คำๆนี้อาจจะจริงสำหรับใครบางคนไปแล้ว อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์ให้ดี การไม่มีมือถือ ไม่มีอินเตอร์เน็ต ไม่ได้ทำให้ใครตายโดยตรงเลย และดูเหมือนว่าเทรนด์ที่กำลังมาอยู่ในตอนนี้ ของคน เจนฯ Z ด้วย ที่ต่างก็ต้องการ การละวางมือถือไว้ ละทิ้งโลกเสมือนไว้บ้าง...แล้วออกไปใช้ชีวิตจริงๆ มากกว่า แต่ในทางกลับกัน , มันก็ยังมีคนอีกบางกลุ่ม ที่อยู่ในภาวะ "ขาดมือถือไม่ได้" - "ขาดอินเตอร์เน็ตไม่ได้" เพราะเพียงแค่ห่างออกจากโลกออนไลน์ไปไม่กี่นาที ก็ดูเหมือนจะเกิดความกังวลกวนใจขั้นรุนแรง จนดูเหมือนว่าคนเหล่านี้ติดมือถือราวกับติดยาเสพติด ไม่อ่านไลน์ก็ดูเหมือนจะมีอาการลงแดง จะเป็นจะตายให้ได้ โดยคำว่า “โนโม” เป็นคำที่ใช้เรียกแทนโมบายโฟน ส่วนคำว่า “โฟเบีย” แปลว่ากังวลอย่างมากต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกังวลมากเกินกว่าเหตุ จึงเรียกรวมกันเป็น “โนโมบายโฟนโฟเบีย” แต่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า “โนโมโฟเบีย” มาจากการที่โทรศัพท์มือถือเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตประจำวัน
ส่วนคนที่ มีพฤติกรรมกลัวหรือระแวงว่าตัวเองจะตกข่าว ตกกระแส พลาดบางสิ่งบางอย่างไป หรือแม้แต่กลัวไม่ได้เป็นคนสำคัญ ไม่เป็นที่ยอมรับ จึงมักเช็กข่าวสารบ่อยกว่าปกติ คิดว่าตนเองต้องรู้ก่อนใคร พอเวลาพลาดเรื่องใดไปจะเกิดความเครียดหรือวิตกกังวลโดยที่ไม่รู้ตัว จะถูกเรียกว่า FOMO ซึ่งย่อมาจากคำว่า “Fear of Missing out” อาการ FOMO กับการใช้โซเชียลมีเดีย มักเป็นของคู่กัน ให้มองว่า มันไม่ใช่เรื่องแปลก หากกำลังรู้สึกไม่ดีกับอาการเหล่านี้ แต่ก็มีวิธีเบื้องต้น ในการรับมือ กับ เรื่องราวเหล่านี้
• กลั่นกรองเนื้อหา ผู้คนที่จะติดตามบนโซเชียลมีเดีย โดยเลือกติดตามคนที่ให้แนวคิดเชิงบวกมากขึ้น ความจริงแล้ว , โลกออนไลน์ ไม่ใช่ ทุกอย่าง... ไม่มีมัน เราก็ยังไม่ตาย... แต่จุดที่ลงตัวของเรื่องนี้ ควรหจุดที่มันสมดุล บัลลานซ์ การใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ กับ โลกจริงๆ ให้ได้
ที่มา : https://www.springnews.co.th/health/health/849612
|