รู้ไหม? แมลงวันตาไวกว่าเรา 4 เท่า เราถึงตบไม่ได้ง่ายๆ

รู้ไหม? แมลงวันตาไวกว่าเรา 4 เท่า เราถึงตบไม่ได้ง่ายๆ
 
.
แมลงวันถือเป็นสัตว์ที่ก่อความรำคาญให้มนุษย์มาช้านาน ซึ่งสาเหตุที่น่ารำคาญส่วนหนึ่งก็เพราะมันเคลื่อนไหวเร็วมากๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่เราจะตบพวกมันได้
.
ถามว่าทำไมแมลงวันถึงเร็วขนาดนั้น คำตอบคือ เพราะ “สายตาไวมากๆ” ของมันนี่แหละ เพียงแต่การจะเข้าใจความไวของสายตาแมลงวันนั้น เราจำเป็นต้องเข้าใจหลักเกณฑ์ที่ใช้วัดความไวของสายตาของสิ่งมีชีวิตกันก่อน
.
‘Flicker-Fusion Frequency’ คือ หลักเกณฑ์ที่ว่า นั่นคือ เฟรมเรต (frame rate) ของสายตาสิ่งมีชีวิตต่อ 1 วินาที การที่มนุษย์ทั่วไปมีค่า Flicker-Fusion Frequency ที่ 60 เฮิร์ตซ์ จึงหมายความว่า ใน 60 วินาที ตาของมนุษย์จะส่งภาพไปยังสมอง 60 ครั้ง
.
สัตว์ต่างๆ จะมีค่า Flicker-Fusion Frequency ที่ต่างกันอยู่ เช่น แมลงสาบ 60 เฮิร์ตซ์ ผีเสื้อกลางคืน 70 เฮิร์ตซ์ สุนัขจะอยู่ที่ 80 และตั๊กแตนจะอยู่ที่ 90 เฮิร์ตซ์ ซึ่งจะเห็นว่า สิ่งมีชีวิตต่างๆ จะมีค่า Flicker-Fusion Frequency ที่ต่างกันโดยไม่ขึ้นอยู่กับขนาดตัวแต่อย่างใด ด้วยความที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มองเห็นโลกในความเร็วใกล้เคียงกับมนุษย์ มันจึงทำให้เราสามารถตีพวกมันได้อย่างไม่ยากเย็นอะไร
.
แล้วกับแมลงวันล่ะ?
.
เพราะแมลงวันมีค่า Flicker-Fusion Frequency อยู่ที่ประมาณ 250 เฮิร์ตซ์ ซึ่งเร็วกว่ามนุษย์กว่า 4 เท่าตัว ดังนั้นเวลาที่เราเคลื่อนไหว แมลงจึงเห็นทุกอย่างเป็นภาพสโลว์โมชั่น จนทำให้เราไม่สามารถตีมันได้ง่ายๆ นั่นเอง
.
อย่างไรก็ตาม ค่า Flicker-Fusion Frequency ในสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัย เช่น ค่า Flicker-Fusion Frequency ของมนุษย์ในวัยเด็กจะสูงกว่าวัยชรา มันเลยเป็นเหตุผลว่า ทำไมคนยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ช้าลงนั่นเอง
.
อ้างอิง: BigThink. You’re not fast enough to swat a fly. Here’s why. http://bit.ly/3jgEiKQ
Physiological Entomology. The flicker fusion frequencies of six laboratory insects, and the response of the compound eye to mains fluorescent ‘ripple’. https://bit.ly/40hSILA
 
 
Visitors: 1,229,149