ดีอีเผย 10 อันดับข่าวปลอม ที่ประชาชนเชื่อมากที่สุด อันดับ 1 ‘ขายสลากออมทรัพย์รัฐบาลไทย’ ขออย่าเชื่อ-แชร์ หวั่นสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล
ดีอีเผย 10 อันดับข่าวปลอม ที่ประชาชนเชื่อมากที่สุด อันดับ 1 ‘ขายสลากออมทรัพย์รัฐบาลไทย’ ขออย่าเชื่อ-แชร์ หวั่นสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2567 เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ กล่าวถึงผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมระหว่างวันที่ 25-31 ตุลาคม 2567 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 832,483 ข้อความ
โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 398 ข้อความ สำหรับช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุดคือข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 365 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน LINE Official จำนวน 26 ข้อความ และช่องทาง Facebook จำนวน 7 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 278 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 122 เรื่อง
ในจำนวนนี้มีข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์ที่ประชาชนให้ความสนใจมากที่สุดจำนวน 10 อันดับ ได้แก่
10 อันดับข่าวปลอม ที่ประชาชนเชื่อมากที่สุด
เวทางค์กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ประชาชนสนใจมากที่สุดจาก 10 อันดับข้างต้น พบว่าเป็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐโดยเฉพาะการรับเรื่องร้องทุกข์และการเปิดให้ลงทะเบียนผู้เสียหายจากโจรออนไลน์มากที่สุด รวมถึงการชวนร่วมลงทุนในหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ โดยข่าวปลอมอันดับ 1 คือเรื่องสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเปิดขายสลากออมทรัพย์รัฐบาลไทย ปันผลสูง ครบสัญญารับเงินคืน 140%
ทั้งนี้ กระทรวงดีอีประสานงานร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลและกระทรวงการคลัง พบว่าข้อมูลที่ปรากฏเป็นข้อมูลเท็จ โดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไม่มีนโยบายเปิดขายสลากออมทรัพย์ตามที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าวแต่อย่างใด และเฟซบุ๊ก Thai Government Savings Bonds ไม่ใช่เฟซบุ๊กของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ดังนั้นขอเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ สำหรับประชาชนที่สนใจข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.glo.or.th หรือ โทร. 0 2528 9999
เวทางค์กล่าวว่า กระทรวงดีอีมีความห่วงใยประชาชนเรื่องความตระหนักรู้เท่าทันข่าวปลอมที่ถูกแพร่กระจายบนสื่อออนไลน์ ซึ่งหากขาดความรู้เท่าทันส่งต่อข้อมูลข่าวปลอมจะทำให้ประชาชนเกิดความสับสน สร้างความเสียหาย การเข้าใจผิด เกิดการหลงเชื่อ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคล และอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง
ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวหรือลิงก์เว็บไซต์ให้แน่ชัด โดยสามารถสอบถามผ่านสายด่วน 1111 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมกันนี้ขอให้ประชาชนยึดหลัก 4 ไม่ คือ 1. ไม่กดลิงก์ 2. ไม่เชื่อ 3. ไม่รีบ และ 4. ไม่โอน
ที่มา : https://thestandard.co/de-top-10-fake-news/
|