สายโซเชียลเดือดร้อนไหม? จะใช้ชีวิตกันยังไง? หลังบังคับใช้กฎหมาย PDPA

สายโซเชียลเดือดร้อนไหม? จะใช้ชีวิตกันยังไง? หลังบังคับใช้กฎหมาย PDPA

อยากรู้แต่ไม่มีเวลา อ่านแค่ตรงนี้พอ

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.. 2562 จึงเรียกกันย่อๆ ว่ากฎหมาย PDPA ร่างเสร็จตั้งแต่ปี 2562 แต่ ครมมีมติเห็นชอบออกพระราชกฤษฎีกาขยายเวลาบังคับใช้เต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ภายใต้กฎหมายนี้ รัฐบาลบอกว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับการคุ้มครองมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ต้องเคารพข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน หลังจากนี้ใครได้รับข้อความโฆษณาโดยไม่ยินยอม สามารถเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ ฐานละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรภายใต้กฎหมาย PDPA?

ในส่วนที่กฎหมาย PDPA เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนทั่วไปนั้น ทำให้หลายคนสงสัยว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอสได้ชี้แจงเอาไว้เป็นหัวข้อดังนี้ 

เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA

  1. การถ่ายรูปถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA ทั้งหมดจริงหรือ?ตอบกรณีการถ่ายรูปถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูปถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว
  2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA?
    ตอบสามารถโพสต์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA จริงหรือ?
    ตอบถ้าเป็นการติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน
  4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้?
    ตอบไม่จำเป็นต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(1) เป็นการทำตามสัญญา 

(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ 

(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล 

(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ 

(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ

(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง 

ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆ ไป

สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมาย PDPA

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิตามกฎหมาย PDPA ดังนี้ สิทธิในการถอดถอนความยินยอม ในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมไว้สิทธิในการได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด (Privacy Notice), สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลสิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคลสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลสิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลสิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลสิทธิในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่มีการฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประกาศที่ออกตามกฎหมาย PDPA 

หากมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่จะกระทบสิทธิเสรีภาพของเจ้าของ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของส่วนบุคคลทราบ และมีแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้า

ข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมาย PDPA สำหรับกิจการสื่อมวลชน

ในกรณีกิจการสื่อมวลชน มาตรา 4 (3) เป็นข้อยกเวินเชิงเนื้อหาที่ไม่ใช้บังคับตาม พ..แต่มีรายละเอียดอื่น ดังนี้ เป็นข้อยกเว้นเฉพาะกิจกรรมประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น การประมวลผลที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการสื่อมวลชน กฎหมายไม่ได้ยกเว้น เช่น การใช้ข้อมูลพนักงาน การทำระบบสมาชิก การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของกิจการสื่อมวลชนจะต้องเป็นไปตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพหรือเป็นประโยชน์สาธารณะเท่านั้น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการยกเว้นยังคงต้องจัดให้มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรฐานด้วย

อ้างอิง

  • สำนักงานคณะกรรมการควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์https://bit.ly/3zaI9ii
  • กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. 10 เรื่องที่ประชาชนต้องรู้เกี่ยวกับ PDPA. https://bit.ly/3x6JS5A 
  • ThaiNetizen. เครือข่ายพลเมืองเน็ต สนับสนุนให้บังคับใช้พ...คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งฉบับ ตามกำหนด 1 มิ..นี้https://bit.ly/3t7P5J1

 

ที่มา : https://www.brandthink.me/content/pdpa

 

Visitors: 1,430,579