เจาะลึก ทำไมออสเตรียถึงครองอันดับ 1 ประเทศที่มีการรีไซเคิลขยะมากที่สุด?
เจาะลึก ทำไมออสเตรียถึงครองอันดับ 1 ประเทศที่มีการรีไซเคิลขยะมากที่สุด?
"ออสเตรีย" กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมาก หลังไม่กี่วันที่ผ่านมา เพิ่งถูกประกาศว่าเป็นประเทศที่มีสามารถจัดการรีไซเคิลขยะได้มากที่สุดในโลก (59%) เวลส์รั้งอันดับ 2 (58.6%) ส่วนไทยรั้งอันดับที่ 27 (21.8%) สปริงชวนเจาะลึกออสเตรียมีระบบการจัดการขยะอย่างไร ถือเป็นเทรนด์อย่างหนึ่งที่หลาย ๆ ประเทศแข่งกันคิดค้นพัฒนาระบบการจัดการขยะของตัวเอง ดูเหมือนว่าปีนี้ “ออสเตรีย” จะได้รับแสงไปเต็ม ๆ เพราะถูกลิสต์ให้เป็นอันดับ 1 สำหรับประเทศที่มีการรีไซเคิลมากที่สุด (59%) จากผลการศึกษา “รายงานระยะที่ 1 – การรีไซเคิลทั่วโลก” จาก Reloop and Eunomia Research and Consulting 10 อันดับ ประเทศที่มีอัตราการรีไซเคิลมากที่สุดในโลก
ส่วนไทย...รั้งอันดับที่ 27 มีอัตราการรีไซเคิล 21.8% สปริงชวนผู้อ่านไปดูว่าทำไม “ออสเตรีย” ถึงได้ครอบครองตำแหน่งนี้ พวกเขาใช้มาตรการอะไร ที่สำคัญการชักจูงคนในประเทศให้คัดแยกขยะ และนำไปรีไซเคิลจนเป็นอุปนิสัยพวกเขาทำอย่างไร ออสเตรีย รั้งอันดับ 1 ประเทศที่รีไซเคิลขยะได้มากที่สุดในโลก Credit ภาพ Flickr / Emmanuel DYAN ปริมาณขยะในออสเตรียมีมากแค่ไหน?ในปี 2564 ออสเตรียมีขยะทั่วประเทศ 77.38 ล้านตัน อัตราการเกิดขยะเฉลี่ย 3,493 กิโลกรัม/คน/ปี โดยขยะที่มีจำนวนมากที่สุด 5 ประเภท ได้แก่ อิฐ หิน ปูน (81.3%), ขยะมูลฝอยจากครัวเรือน (7.6%), ขยะโลหะ (4.5%), ขยะอินทรีย์ (3.7%), และขยะจากการกลั่นน้ำมันและถ่านหิน (3%) ออสเตรียเกิดขยะราว 77.38 ล้านตัน Credit ภาพ wikipedia / Christian Philipp ระบบจัดการขยะดี คนเปิดรับ ผลลัพธ์จึงน่าประทับใจเว็บไซต์ Expatica นิยามลักษณะของคนออสเตรียไว้ได้เห็นภาพพอสมควร โดยระบุว่าชาวออสเตรียเก่งและเอาจริงเอาจังกับการแยกขยะและการรีไซเคิลขยะเป็นอย่างมาก ทั้งในระดับบุคคล หน่วยงาน และรัฐบาล จากการสำรวจของ Euro-barometer เปิดเผยว่า ชาวออสเตรีย 96% แยกขยะออกจากบรรจุภัณฑ์ และกว่า 99% แยกกระดาษออกจากขยะก่อนทิ้ง ตัวเลขนี้อาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงทัศนคติและพฤติกรรมของชาวออสเตรียได้เป็นอย่างดี ชาวออสเตรียชอบคัดแยกขยะเป็นชีวิตจิตใจ มาตรการจัดการขยะของออสเตรีย ทุกคนคงพอเห็นภาพคร่าว ๆ แล้วว่าประเทศออสเตรียให้ความสำคัญกับการจัดขยะเป็นอย่างดี ซึ่งในระดับปัจเจกถือว่าน่าชื่นชม สปริงนิวส์ชวนดูต่อว่าแล้วในระดับมาตรการ กฎหมาย หรือนโยบายด้านจัดการขยะของออสเตรียเขาว่าไว้อย่างไร
ออสเตรียประกาศเก็บ “ภาษีฝังกลบ” มาตั้งแต่ปี 1989ชื่อที่ชาวออสเตรียเรียกระบบนี้คือ Altlastensanierungsbeitrag’ (‘ALSAG’)เงินที่ได้จากการจัดเก็บภาษีฝังกลบจะถูกปันไปใช้กับการทำความสะอาดพื้นที่ซึ่งมีการปนเปื้อน ปัจจุบัน ซึ่ง ข้อมูลจากเว็บไซต์ Expatica ระบุไว้ว่าตั้งแต่ปี 1989 ถึงปี 2014 ออสเตรียสามารถเก็บเงินจากภาษีฝังกลบรวม 1.2 พันล้านยูโร เมื่อเปิดตำราดูข้อมูลจาก Eunomia ถึงค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะก็พบว่าขยะหรือของเสียจำนวน 1 ตัน ต้องจ่ายภาษีฝังกลบประมาณ 29.8 ยูโร สำหรับการเผาจะต้องจ่ายเงินราว 8 ยูโรต่อวัน Müllapp แอปช่วยเก็บขยะในออสเตรียแอปนี้ทำอะไรได้บ้าง ยกตัวอย่างเช่นผู้ใช้สามารถจัดระเบียบการทิ้งขยะของตัวเองได้ โดยสามารถเลือกวันที่ได้ตามต้องการ เมื่อถึงเวลาแอปก็จะเตือนให้คุณรู้ว่า “ต้องไปทิ้งขยะแล้วนะ” นอกจากนี้ แอปยังมีข้อมูลเรื่องสถานที่ทิ้งขยะ หรือรถรับทิ้งขยะว่าจะมาจอดจุดใดของเมือง มิเพียงแค่ขยะเท่านั้น แต่เสื้อผ้าเก่า หนังสือ แอปนี้ก็มีบอกไว้ทั้งหมดว่าคุณควรนำไปบริจาคได้ที่ไหน การจัดการขยะง่าย สะดวก และอยู่ในชีวิตประจำวันของชาวออสเตรียจริง ๆ Müllapp แอปช่วยเก็บขยะในออสเตรีย เครดิตภาพ Müllapp Müllapp แอปช่วยเก็บขยะในออสเตรีย เครดิตภาพ Müllapp สรุปทิ้งท้าย บทความชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่าระบบจัดการขยะที่ดี บวกกับการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน สุดท้ายประโยชน์ก็ไม่ได้ตกถึงใครที่ไหน บ้านเมืองสะอาด สิ่งแวดล้อมดูสบายตา และที่สำคัญคนกระตือรือร้นที่จะแยก-รีไซเคิลขยะ กล่าวคือระบบที่ดี ง่ายสะดวก ไม่มีเหตุผลใดใดเลยที่คนจะไม่ปฏิบัติตาม ท้ายที่สุดแล้ว “ออสเตรีย” จึงครองอันดับหนึ่งประเทศที่รีไซเคิลได้มากที่สุดไป
ที่มา: Terracycle, Expatica, Greenfiscalpolicy, Eunomia,
|