37 ปีแห่งการปลูกป่าปลูกคน EP.3

37 ปีแห่งการปลูกป่าปลูกคน EP 3 : จากต้นกล้ากาแฟ สู่อนาคตแห่งความยั่งยืน
 
     EP สุดท้ายนี้จะพาคุณไปรู้จัก "คน" ที่เติบโตจากการยึดถือหัวใจของตำราแม่ฟ้าหลวง "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" จนกลายมาเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงจริงในโลกความจริง ต่อเนื่องจากสอง EP แรกที่พาคุณไปสัมผัสเบื้องหลังการทำงานของเจ้าหน้าที่แม่ฟ้าหลวงฯ ทั้งในงานฟื้นฟูป่า การสร้างอาชีพ และการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ผ่านการลงมือทำจริงในทุกตารางนิ้วของพื้นที่
    "แก่นแท้ของตำราแม่ฟ้าหลวง คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ไม่ว่าที่ไหนหรือบริบทใดก็ตาม หลักคิดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้เสมอ" คุณธนวิชญ์ ธิรินทอง ผู้ช่วยผู้จัดการส่วนงานกาแฟ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ กล่าวและว่า "หากชุมชนเข้าใจตัวเอง เข้าใจตัวตนของพื้นที่ได้อย่างลึกซึ้ง การพัฒนาจะไม่ใช่เรื่องของการช่วยเหลืออีกต่อไป แต่จะเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่คนในชุมชนลุกขึ้นทำด้วยตัวเอง และส่งต่อได้อย่างยั่งยืน"
    ในกระบวนการพัฒนากาแฟดอยตุง ผู้ช่วยผู้จัดการส่วนงานกาแฟมีบทบาทสำคัญในการค้นหาสายพันธุ์ที่เหมาะสมที่สุดกับพื้นที่ เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพสูงและสามารถต่อยอดสร้างรายได้ที่มั่นคงให้ชาวบ้าน "เป้าหมายของเราคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน ผ่านกาแฟที่ดีขึ้น" เขากล่าว
    "เมื่อเราพูดถึงการพัฒนากาแฟดอยตุง เราไม่ได้พัฒนาแค่ผลผลิต แต่เราพัฒนาคนที่ปลูกกาแฟด้วย ถ้าไม่มีความเข้าใจและเข้าถึงชาวบ้านจริง ๆ ก็ไม่มีวันที่กาแฟจะมีคุณภาพอย่างที่เป็นอยู่ในวันนี้" ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการพิเศษ กล่าวเสริม "และนี่แหละคือสิ่งที่ตำราแม่ฟ้าหลวงสอนเราพัฒนาผลผลิตไปพร้อมกับพัฒนาคน"
    สิ่งที่คุณธนวิชญ์ภูมิใจที่สุดในตอนนี้ คือการเห็นคนรุ่นใหม่เริ่มกลับมาสนใจงานกาแฟมากขึ้น แทนที่จะออกไปทำงานต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ "มันไม่ใช่แค่ปลูกกาแฟ แต่เขากำลังปลูกอนาคตของตัวเอง และพัฒนาชุมชนของเขาในแบบที่เราไม่ต้องชี้นำตลอดเวลา นี่แหละคือความยั่งยืน"
    เพราะงานด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ไม่ใช่เรื่องของมูลนิธิฯ นักพัฒนา หรือนักอนุรักษ์เพียงกลุ่มเดียวอีกต่อไป แต่คือภารกิจของทุกอุตสาหกรรม ที่ต้องช่วยกันใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และสร้างคืนกลับให้โลก เพื่อให้ลูกหลานในอนาคตได้มีทรัพยากรที่ดีอยู่เสมอ
    วันนี้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ พร้อมแล้วที่จะนำองค์ความรู้ที่สั่งสมจากประสบการณ์จริงในโครงการพัฒนาดอยตุงฯ กว่า 37 ปี มาช่วยแนะนำ และชวนให้ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมลงมือทำจริง เพราะตำราที่เราใช้ "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ไม่ได้เป็นเพียงทฤษฎี แต่คือกระบวนการที่ทำมาแล้ว และพิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริง สามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกองค์กรและทุกยุคทุกสมัย
 
 
    37 Years of Growing Forests and People – EP.3: From Coffee Seedlings to a Sustainable Future
In this final episode, we meet someone who has truly embodied the Mae Fah Luang Foundation’s philosophy—Understand, Reach, Develop—and turned it into action.
Thanawit Thirintong, Assistant Manager of the Coffee Department, has played a key role in identifying the right coffee varieties for Doi Tung’s highlands. His goal? Not just to grow better coffee, but to improve the lives of those who grow it.
    “Our goal is not just better coffee, but better lives,” Thanawit says.
He believes that development must start from within. When communities understand their identity and environment, they no longer need to be “helped”—they become agents of their own change.
“We don’t just improve the product,” adds a colleague. “We grow the people behind it.”
    Today, what makes Thanawit most proud is seeing young people choosing to stay, grow coffee, and develop their communities—instead of leaving for work elsewhere. That’s what sustainability looks like.
    Over the past 37 years, the Mae Fah Luang model has proven its impact—not just in forests, but in livelihoods, communities, and futures. Now, it stands ready to be shared with industries across sectors. Because “Understand, Reach, Develop” is not theory. It works.
 
Visitors: 1,522,374