กินคาวไม่กินหวาน สันดานไพร่ สำนวนนี้มีที่มา
ที่มาของสํานวน สำนวนนี้มาการที่ในอดีต ไพร่มีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างแร้นแค้น อาหารการกินจึงไม่สมบูรณ์พร้อมนัก โอกาสที่จะได้ทานของหวานจึงเป็นสิ่งที่ยาก ไม่เหมือนกับพวกที่ ฐานันดรสูงส่งที่มีอาหารการกินและของคาวหวานเพียบพร้อม
ในยุคที่น้ำตาลเป็นของหายาก ราคาแพง มีแต่อาหารราชสำนักที่ ‘หวาน’ ต่อมาเมื่อคนธรรมดาสามัญสามารถเข้าถึง ‘น้ำตาล’ ได้มากขึ้น จึงเริ่มปรุงอาหารของตนให้หวานขึ้น โดยเข้าใจว่าความหวานนั้นเท่ากับความเป็น ‘ชาววัง’ ไม่ใช่อาหาร ‘ลูกทุ่ง’ รสชาติจึงมาพร้อมกับสัญญะทางชนชั้นด้วย
ความเผ็ด ความแซ่บ ความร้อนแรง มาพร้อมกับภาพพจน์ของอาหารชนบทที่ดูดิบเถื่อน ความหวาน รสชาติอ่อนๆ ความไม่เผ็ด อาหารรสไม่จัด หมายถึงรสชาติของคนที่อาศัยอยู่ในเมือง มีการศึกษา เป็นลูกจีน มีฐานะทางเศรษฐกิจที่สูงกว่า – เราจึงมักได้ยินคำว่า (รสชาติ ผู้ดี๊ ผู้ดี)
สำนวน ‘กินคาวไม่กินหวานสันดานไพร่’ ก็ชัดเจนว่า ความหวาน ของหวาน น้ำตาล คือสถานะทางสังคม มิใช่รสชาติล้วนๆ
Credit: https://board.postjung.com/1077374
|