การติดแอร์มีผลทำให้เราอ้วน ได้อย่างไร?

การติดแอร์มีผลทำให้เรา ‘อ้วน’ ได้อย่างไร?


.
ทุกวันนี้ความ ‘อ้วน’ เป็นปัญหาสาธารณสุขไปแล้ว และชาติทั่วโลกก็ต้องต่อสู้กับความอ้วนของเหล่าประชากร ซึ่งทั่วๆ ไปไอเดียมันก็มักจะกลับไป ‘แก้ที่สาเหตุ’ โดย ‘สาเหตุ’ ที่ว่ามันก็คงจะเป็นเรื่องพฤติกรรมการกินของคนเป็นหลัก และการไม่ออกกำลังกายเป็นรอง
.
อย่างไรก็ดี การคิดแบบนี้ก็คือการโทษในระดับปัจเจก ทำนองว่า เพราะคุณกินแต่แป้งคุณเลยอ้วน เพราะคุณชอบกินน้ำหวานคุณเลยอ้วน เพราะคุณไม่เข้ายิมคุณเลยอ้วน เพราะคุณไม่เดินวันละ 7,500 ก้าวคุณเลยอ้วน ฯลฯ
.
ทั้งที่จริงๆ แล้วปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมก็มีผล แต่คนไม่ค่อยพูดกัน และวันนี้เราจะพูดถึงการ ‘ติดแอร์’ ที่มีผลให้คนตกอยู่ในภาวะอ้วนได้เช่นกัน
.
การติดแอร์ เป็นนวัตกรรมสำคัญที่ทำให้ ‘เขตร้อน’ สามารถสู้กับเขตหนาวได้ในทางเศรษฐกิจ และอดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ก็เคยพูดว่า สิงคโปร์คงจะเจริญแบบทุกวันนี้ไม่ได้ถ้าไม่ติดแอร์
.
ทุกวันนี้ ครัวเรือนชนชั้นกลางนั้นก็ ‘ติดแอร์’ กันเป็นมาตรฐานไปแล้ว ถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตไม่ได้ต่างจากทีวี ตู้เย็น ฯลฯ ที่เราไม่ต้องคิดอะไรมาก แค่ ‘ของมันต้องมี’
.
แต่ถ้านั่นทำให้เราอ้วนล่ะ?
.
จริงๆ มีงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษากันตั้งแต่สัตว์ถึงคน และเป็นวิจัยที่ทำกันมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ซึ่งผลรวมๆ ก็ชี้ตรงกันว่า ยิ่งคุณ ‘ติดแอร์’ ให้อุณหภูมิห้องมัน ‘เย็น’ คุณจะยิ่ง ‘หิว’ และ ‘กินเยอะขึ้น’ และในทางกลับกัน อุณหภูมิยิ่งสูงขึ้น ความหิวก็จะยิ่งน้อยลงๆ โดยถ้าจะยกตัวอย่างเร็วๆ งานวิจัยปี 1963 ที่ศึกษาหนู ทดลอง พบว่า หนูที่อยู่ในอุณภูมิ 24 องศาเซลเซียสจะกินเยอะกว่าหนูที่อยู่ในอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ส่วนถ้าอุณหภูมิเพิ่มถึง 40 องศาเซลเซียส หนูจะไม่หิวเลย และเอาจริงๆ งานวิจัยในคนในปี 2015 เขาค้นพบเลยว่า อุณหภูมิที่ขึ้นไปทุกๆ 1 องศาเซลเซียส มีผลทำให้คนกินน้อยลงประมาณ 85 กิโลแคลอรี

หรือพูดง่ายๆ มันมีหลักฐานด้านการวิจัยชัดๆ ว่าอากาศยิ่งเย็น เราจะยิ่งเจริญอาหาร และถ้าไม่มีการเปลี่ยนกิจกรรมอะไร การติดแอร์ให้ห้องเย็น ยังไงก็น่าจะทำให้เรากินเยอะขึ้นแบบไม่รู้ตัว เพราะร่างกายเราถูกออกแบบมาแบบนั้น
.
แล้วการ ‘ไม่ติดแอร์’ ทำให้เรา ‘หิวน้อยลง’ จริงๆ หรือ? คำตอบคือไม่ใช่ เพราะมันมีคำอธิบายอีกว่า พวกเทคโนโลยี ‘ควบคุมอากาศ’ ของมนุษย์ มีผลทำให้อุณหภูมิสภาพแวดล้อมคงที่ทั้งวัน และทำให้ร่างกายมนุษย์นั้น ‘เผาผลาญ’ หรือใช้พลังงานน้อยลงกว่าการอยู่ในอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปมาทั้งวัน อันเป็นภาวะธรรมชาติ
.
เพราะแทบทุกที่ในโลก อุณหภูมิมันเปลี่ยนตลอดวัน และอุณหภูมิตอนเที่ยงวันกับเที่ยงคืนก็เป็นคนละเรื่อง ร่างกายของมนุษย์ถูกออกแบบมาให้จัดการกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบนี้ได้ แต่พอเราอยู่ใน ‘ห้องแอร์’ ที่อุณหภูมินิ่งๆ ทั้งวัน ทำให้เราไม่ใช้ฟังก์ชันนี้ในร่างกาย ก็เลยทำให้กระบวนการ ‘เผาผลาญ’ หรือทำให้กระบวนการทางเคมีในร่างกาย ‘ลดลง’ หรือทำให้ร่างกาย ‘ใช้พลังงาน’ น้อยลงกว่าที่ควรจะเป็นนั่นเอง
.
ทั้งหมดนี้เราก็จะเห็นเลยว่าผลมันมีทั้งสองทาง การติดแอร์ทำให้เราหิวขึ้น พร้อมๆ กับที่ทำให้ร่างกายใช้พลังงานน้อยลง และแค่นี้ก็คงจะเพียงพอจะเคลมว่ามันส่งผลกับ ‘ความอ้วน’ ได้แน่
.
ที่ว่ามา ก็ไม่ใช่ว่าเราจะเสนอให้ถอดแอร์ไปทิ้ง แต่เราต้องตระหนักว่าการ ‘ติดแอร์’ มันทำให้เราหิวขึ้น ไปพร้อมๆ กับทำให้ ‘ระบบเผาผลาญ’ ทำงานน้อยลงตลอดวันจริง และเราก็อาจเริ่มจากตรงนี้ในการแก้ปัญหา ‘ความอ้วน’ ไม่ว่าจะเป็นระดับปัจเจกหรือระดับสังคม
.
อ้างอิง: El Pais. Thermal sedentary lifestyles – the reason why air conditioning is fattening. https://bit.ly/3J3zhOj
.
#BrandThink
#CreateaBetterTomorrow

ที่มา : @brandthink.me
https://www.instagram.com/p/CgrordDvWvp/



Visitors: 1,410,124