โควิดยังไม่จบ โรคลัมปี สกิน เข้ามาซ้ำเติม ระบาดในวัว ติดต่อสู่คนได้หรือไม่
โควิดยังไม่จบ โรคลัมปี สกิน เข้ามาซ้ำเติม ระบาดในวัว ติดต่อสู่คนได้หรือไม่โควิดกำลังระบาดหนักในไทย พร้อมกับการเข้ามาของโรค ”ลัมปี สกิน” ระบาดเป็นวงกว้างในขณะนี้ในโค กระบือ กับความหวังการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศ เพื่อหยุดยั้งโรคนี้เช่นกัน
โรคอุบัติใหม่ เร่งสั่งวัคซีน ควบคุมการระบาดโรคนี้เข้ามาในไทยได้อย่างไร ทางสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากการลักลอบนำโคเนื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน มาเลี้ยงในพื้นที่ ล่าสุดกรมปศุสัตว์ ได้ดำเนินการควบคุมโรค ตั้งวอร์รูมติดตามสถานการณ์ โดยเข้มงวดการเคลื่อนย้ายสัตว์ และลักลอบนำเข้าตามแนวชายแดน นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ระบุ โรคลัมปี สกิน เป็นโรคอุบัติใหม่ เพิ่งเกิดขึ้นในไทย จึงยังไม่เคยมีการใช้วัคซีนควบคุมและป้องกันโรคในประเทศมาก่อน ขณะนี้ได้สั่งซื้อวัคซีนจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีแหล่งผลิตในประเทศแอฟริกาใต้ รวม 60,000 โดส และจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมอีก 300,000 โดส นอกจากการใช้วัคซีนในการควบคุม แต่เพราะโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่มียาที่ใช้รักษาโดยตรง จำเป็นต้องรักษาตามอาการ โดยให้ยาลดไข้ เมื่อสัตว์มีอาการไข้ ให้ยาลดการอักเสบ เมื่อมีตุ่มบนผิวหนัง และเมื่อผิวหนังมีการแตก หลุดลอก ให้ใช้ยารักษาแผล ร่วมกับยาปฏิชีวนะ และใช้ยารักษาแผลภายนอกจนกว่าจะหาย ระบาดในเอเชีย ตั้งแต่ปี 2562 ก่อนมาไทยจากข้อมูลองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) พบการระบาดของโรคลัมปี สกิน ซึ่งเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศแถบแอฟริกา และต่อมาแพร่กระจายในภูมิภาคเอเชีย ตั้งแต่ปี 2562 ในบังกลาเทศ อินเดีย จีน ไต้หวัน ภูฏาน ฮ่องกง เนปาล เวียดนาม และเมียนมา ด้วยเพราะสถานการณ์การระบาดของโรคลัมปี สกิน และเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในไทย ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งกำชับให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งแก้ไขปัญหาและควบคุมโรค ตามมาตรการที่กรมปศุสัตว์กำหนด รวมถึงจัดหาวัคซีนเพื่อควบคุมโรคอย่างเร่งด่วน
"ลัมปี สกิน" ไม่ติดต่อสู่คน-สัตว์ชนิดอื่นรศ.ดร.นสพ.อนุวัตน์ วิรัชสุดากุล ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ย้ำว่า โรคลัมปี สกิน กำลังระบาดในโค กระบือ หลายจังหวัดของไทย ไม่ติดต่อสู่คน และสัตว์ชนิดอื่น รวมถึงสุกร แม้การระบาดของโรคกระจายค่อนข้างเร็ว เพราะมีแมลงเป็นพาหะ โดยเฉพาะในฟาร์มโค กระบือของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย แต่เชื่อว่าเมื่อเกิดการระบาดเป็นวงกว้าง จะค่อยๆ สงบลง โดยโค กระบือที่เคยป่วยจะมีภูมิคุ้มกัน และเชื่อมั่นว่ากรมปศุสัตว์จะสามารถควบคุมได้อยู่ แต่ต้องใช้เวลา ซึ่งต้องมีวัคซีนเหมือนกับโควิด ในการฉีดสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ “เบาใจได้โรคนี้ไม่ติดต่อสู่คน เหมือนโรคระบาดที่เคยเกิดขึ้นในสัตว์ส่วนใหญ่ไม่ติดต่อสู่คน เช่นเดียวกาฬโรคในม้า และโค กระบือ ที่ป่วย มีอัตราตายต่ำ รักษาตามอาการ หรือเมื่อมีตุ่มมีหนองตามผิวหนัง”.
ผู้เขียน : ปูรณิมา กราฟิก : sathit chuephanngam ที่มา : ThairathOnline : https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2102526 |