ดูแลลำไส้ดี ช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ยังไง?

ดูแลลำไส้ดี ช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ยังไง?
 
 
 
เชื่อว่าตอนนี้คนส่วนใหญ่น่าจะพอรู้แล้วว่า จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารสำคัญต่อร่างกายของมนุษย์มาก จุลินทรีย์ที่ว่านี้ ไม่เพียงแค่แบคทีเรียแต่ยังรวมถึง ไวรัส 
เชื้อรา ต่างๆ ที่อาศัยอยู่เป็นระบบนิเวศน์ในทางเดินด้วย
 
แล้วก็เหมือนระบบนิเวศน์ต่าง ๆที่ สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศน์นอกจากจะมีปฏิสัมพันธ์กันเองแล้ว ยังมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่ด้วย เช่น
 
นกในป่า นอกเหนือจากการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรง กับหนู งู หนอน เหยี่ยว แล้ว ยังมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่ด้วย เช่น เมล็ดพืช ผลไม้ ต้นไม้ ดิน เป็นต้น
 
เช่นเดียวกัน จุลินทรีย์ต่างๆในทางเดินอาหารเราก็มีปฏิสัมพันธ์กับ เส้นเลือด เส้นประสาท และเซลล์ต่างในระบบภูมิคุ้มกันของเราด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ 
มันสามารถไปมีผลต่อสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ อย่างซับซ้อน ซึ่งปัจจุบันเราก็ยังไม่เข้าใจทั้งหมด
 
แต่เราก็เข้าใจมากพอที่จะเห็นว่า การดูแลจุลินทรีย์ในลำไส้เป็นเรื่องที่สำคัญต่อสุขภาพมาก
 
เราลองมาดูตัวอย่างกันสักเล็กน้อยนะครับ
 
ปกติอาหารที่เรากินจะมีผลต่อจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารว่า ในทางเดินอาหารของเราจะมีจุลินทรีย์อะไรอยู่บ้าง หลากหลายมากน้อยแค่ไหน
 
สิ่งที่จะเกิดตามมาคือ จุลินทรีย์เหล่านี้ ก็เป็นสิ่งมีชีวิต ที่ต้องกินและขับถ่ายบางอย่างออกมาเช่นกัน เหมือนสัตว์กินอาหารก็ต้องถ่ายออกมาเป็นมูลสัตว์ 
ต้นไม้ก็จะมีการขับกาซออกซิเจนออกมาขณะสังเคราะห์แสง
 
ซึ่งสิ่งที่สัตว์และพืชขับถ่ายหรือปล่อยออกมา ก็จะไปมีผลต่อสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกัน สิ่งที่จุลินทรีย์ขับถ่ายหรือปล่อยออกมาก็จะมีผลต่อร่างกายเราด้วย สารบางอย่างอาจจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เราป่วยเป็นโรคเบาหวาน สารบางอย่างอาจจะทำให้เราเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งบางชนิดมากขึ้น สารบางอย่างอาจจะทำให้เรามีสุขภาพดีมากขึ้น
 
หนึ่งในสารที่จุลินทรีย์ปล่อยออกมาและนักวิทยาศาสตร์คุ้นเคยกันค่อนข้างดีมีชื่อว่า ไตรเมทิลเอมีน trimethylamine หรือย่อว่า TMA จะถูกปล่อยออกมาเมื่อ
รากินอาหารพวกเน้ือแดง ปลา ไข่และไก่
 
สาร TMA ตัวนี้เมื่อไปถึงตับจะถูกเปลี่ยนเป็นสารเคมีที่ทำให้ เพิ่มความเสี่ยงโรคเส้นเลือดอุดตันได้มากขึ้น
 
แต่ไม่ทุกคนที่จะมีจุลินทรีย์ที่จะปล่อย TMA เท่ากัน ถ้าเราเป็นคนที่ปกติกินผักผลไม้สูง (กินใยอาหาร) เป็นประจำ เราจะมีจุลินทรีย์ที่จะปล่อย TMA น้อยกว่า 
คนที่ไม่ค่อยกิน ผักผลไม้ ดังนั้น เมื่อคนสองคนที่มีจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารต่างกัน กินเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้แดงเหมือนกัน ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเส้น
เลือดหัวใจอุดตันไม่เท่ากัน
 
 
อีกตัวอย่างที่น่าสนใจคือ
คนที่กินอาหารกายใยสูงเป็นประจำ มีแนวโน้มที่จะมีจุลินทรีย์ที่สร้างสารกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อเรียกรวม ๆ กันว่า กรดไขมันสายสั้น หรือshort-chain fatty acids
 
กรดไขัมสายสั้นหลายชนิดนี้ พบว่า สามารถช่วยให้หลอดเลือดของเราขยายตัวได้ดีขึ้น ซึ่งมีผลช่วยลดความดันเลือดในคนที่มีปัญหาความดันโลหิตสูงได้
 
นอกเหนือไปจากอาหารที่กากใยสูง ก็ยังพบว่าอาหารอีกหลายชนิดก็จะมีผลให้จุลินทรีย์ในลำไส้เราเปลี่ยนแปลงได้ เช่น พบว่าคนที่กินอาหารเค็มมากกับคนที่
กินไม่เค็มมาก ก็มีจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารบางอย่างต่างกันไป และจุลินทรีย์ที่ต่างกันนี้ อาจจะสร้างสารเคมีที่ไปมีผลต่อการทำงานของไตต่างกัน
 
แล้วไม่ได้มีแค่แบคทีเรียในลำไส้เท่านั้นที่จะมีผลต่อสุขภาพ เช่น มีการค้นพบว่าแบคทีเรียในปากบางชนิด ยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผักที่เรากิน แล้วปล่อยสาร
เคมีที่ช่วยลดความดันเลือดได้ด้วย
 
โดยสรุปทั้งหมดนี้จะเห็นว่า หลายครั้งผลของอาหารที่มีต่อร่างกายเรานั้น ไม่ได้มาจากสารอาหารโดยตรง แต่เป็นจากการที่อาหารนั้นไปมีผลต่อจุลินทรีย์ แล้ว
จุลินทรีย์ปล่อยสารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพของเราอีกทีนึง
 
การกินอาหารในรูปธรรมชาติ เช่น กินผักผลไม้ในรูปแบบอาหาร จึงดีกว่าการกินน้ำผลไม้ (แยกกาก) ดีกว่าการกินอาหารแปรรูแล้วเติมวิตามินลงไปดีกว่า
ดื่มน้ำผสมวิตามินและดีกว่ากินสารอาหารในรูปอาหารเสริม
 
ด้วยเหตุนี้ การดูแลจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร จึงสามารถมีผลต่ออวัยวะอื่นที่อยู่ห่างไกลอย่างหัวใจได้ครับ
 
ขอบคุณที่มา : เรื่องเล่าจากร่างกาย

Visitors: 1,218,215