หลังวิ่งห้ามนั่ง!…เดี๋ยวก้นใหญ่? จริงมั้ย

หลังวิ่งห้ามนั่ง!…เดี๋ยวก้นใหญ่? จริงมั้ย
 
ก้นของคนเรานั้น มีทั้งกล้ามเนื้อและเซลล์ไขมัน การที่ก้นจะใหญ่ขึ้นได้นั้น แบ่งง่ายๆ 2 อย่าง
 
1. จากมวลกล้ามเนื้อที่มากขึ้น
 
มาได้จากการออกกำลังกายด้วยแรงต้าน เพิ่มโหลดต่อกล้ามเนื้อ
อย่าง weight training และสารอาหารที่เรารับประทาน
 
2. ก้นใหญ่จากไขมัน
 
พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ได้มีกิจกรรมทางกายมากพอกับปริมาณอาหารที่ทาน เข้าไป นั่งนานๆ บ่อยๆ ไม่ได้ออกกำลังกาย
 
มีงานวิจัยของ Professor Amit Grefen, Tel Aviv University , American Journal of Physiology เซลล์ไขมันสามารถสะสมได้มากขึ้น เนื่องจากตอบสนองต่อการลงน้ำหนักที่คงที่ (Static mechanical loading) ที่มีระยะเวลานาน อย่างการนั่งนานๆ
 
ต่อมา ตามหลักกายวิภาคศาสตร์ Gluteus muscle หรือกลุ่มกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของร่างกายที่อยู่บริเวณสะโพก กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มสำคัญของร่างกายที่ใช้ในการเคลื่อนไหว ประกอบไปด้วย 3 มัด เรียงจากขนาด และการวางตัวชั้นนอกไป ชั้นใน คือ Gluteus maximus ขนาดใหญ่สุด มองเห็นได้จากภายนอก (Surfaceanatomy) , Gluteus medius และ Gluteus minimus ซึ่งกล้ามเนื้อ 3 มัดนี้ทำงานร่วมกันในการให้ความแข็งแรงและเสริมความมั่นคงของข้อต่อเชิงกราน (Pelvic) สะโพก (Hip) รวมถึงกระดูกสันหลังส่วนล่าง (Lumbar spine)
 
นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมแนวเข่าเวลาเคลื่อนไหว หากกล้ามเนื้อกลุ่มนี้เกิดปัญหาในการทำงาน อ่อนแรง สามารถส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บในข้อต่ออื่นๆ อย่างกระดูกสันหลัง (Spine) ข้อเข่า (Knee) หรือข้อเท้า (Ankle)
 
 
Anatomy กล้ามเนื้อช่วงล่าง มาดูเรื่องการวิ่ง วิ่งเป็นการออกกำลังกายที่มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการเต้นหัวใจ (Heart Rate) ความดันเลือด (Blood pressure ) มีการสะสมของ Lactate ในกล้ามเนื้อ ถ้าเราวิ่งเสร็จแล้วนั่งลงทันที จะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง?
 
– อัตราการเต้นหัวใจตกเร็ว
– ความดันเลือดเปลี่ยนแปลงทันที
– กล้ามเนื้ออาจหดเกร็ง เป็นตะคริว
– เลือดไหลเวียนไม่ดี
 
หากเมื่อนั่งทันที เลือดไหลเวียนกลับสู่หัวใจทางเส้นเลือดดำ (Veins) ได้ช้า เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่ได้ทำงานหดตัวหรือไม่ได้ cool down ทำให้การ pump เลือดสู่หัวใจไม่พอ ความดันเลือดจะตก เสี่ยงต่อการเกิดการเป็นลมได้ ไม่ใช่เฉพาะการวิ่งแล้วนั่ง การออกกำลังกายหนักๆก็เช่นกัน
 
เพราะฉะนั้น จากคำกล่าวที่ว่าถ้าวิ่งแล้วนั่ง จะทำให้ก้นใหญ่ ไม่เป็นความจริง
 
และไม่มีความเป็นไปได้ แต่เหมือนเป็นอุบายที่ควรมีการ Cool down การผ่อนคลาย ยืดกล้ามเนื้อ ให้อัตราการเต้นหัวใจค่อยๆกลับเป็นปกติ การมี Active recovery เช่น การออกกำลังกายเบาๆ การว่ายน้ำ โยคะ ก็จะช่วยร่างกายผ่อนคลายและ Lactate ในกล้ามเนื้อลดลงปกติ

 

ที่มา : Fit Junctions https://www.blockdit.com/articles/5ffd55bed03a8911c4c9cf3d/#


Visitors: 1,213,546