โรคกัดเล็บ (Chronic Onychophagia)

โรคกัดเล็บ (Chronic Onychophagia)
 
พฤติกรรมชอบกัดเล็บ เกิดจากอะไร? กัดเล็บตัวเอง อาการแบบไหนเข้าข่ายป่วย! ชอบกัดเล็บตัวเอง ทำไงดี?
 
โรคกัดเล็บ (Chronic Onychophagia)
ปัจจุบัน คนที่ชอบกัดเล็บไม่ได้มีเฉพาะในเด็กเท่านั้น แต่ผู้ใหญ่ก็ยังมี รวมแล้วทั้งเด็กและผู้ใหญ่นิยมที่จะกัดเล็บตัวเองมีจำนวนมากกว่า *600 ล้านคน และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
 
*(ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ)
 
#สาระจี๊ดจี๊ด
บางคนนิยมกัดเล็บเท้าของตัวเองด้วย ฟังดูน่าเหลือเชื่อ แต่ก็เป็นความจริง
 
พฤติกรรมดังกล่าว....
จัดอยู่ในอาการทางจิตเวช เรียกว่า “โรคกัดเล็บ (Chronic Onychophagia)”
 
ถึงแม้ว่า...
อาการเหล่านี้มักจะค่อย ๆ หายไปเมื่อเราโตขึ้น
แต่! บางคน...
ก็ยังมีพฤติกรรมเหล่านี้จนถึงวัยทำงาน
 
สาเหตุการกัดเล็บของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ความกังวล ความรู้สึกไม่มั่นใจ หรือบางครั้งก็มาจากความรู้สึกเบื่อ คนเหล่านี้มักจะรู้สึกว่าอาการดังกล่าวสามารถบรรเทาลงได้เมื่อพวกเขาได้กัดเล็บ
 
นั่นหมายความว่า...
หากเราเห็นผู้ที่กัดเล็บเป็นประจำ หรือกำลังทำอยู่ในขณะนั้น อาจหมายความว่า...เขากำลังแสดงออกถึงความวิตกกังวล ความเครียด หรือเบื่อหน่ายอยู่
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ถึงแม้ว่าการกัดเล็บจะช่วยบรรเทาความรู้สึกภายในจิตใจได้ แต่นั่นก็คือบรรเทาปัญหาในจิตใจด้วยปัญหาอื่นที่อาจตามมาทีหลัง
 
เพราะการกัดเล็บจัดว่าเป็นการแสดงพฤติกรรมของความรู้สึกในใจที่เป็นด้านลบ สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่น มีขนาดเล็บที่เล็กจนมากเกินไป มีนิ้วมือที่ไม่สวย และสามารถติดเชื้อได้จากการเกิดบาดแผล นอกจากจะทำให้ร่างกายทรุดโทรมหรือเกิดบาดแผลแล้ว ยังสามารถส่งผลต่อปัญหาด้านจิตใจในระยะยาว
 
เราอาจจะเคยชินกับการกัดเล็บจนเสียบุคลิก และถูกคนรอบข้างล้อเลียนจนกลายมาเป็นปมติดตัวได้ แต่ถึงอย่างนั้น การกัดเล็บเป็นเพียงแค่การแสดงอาการทางความรู้สึกเท่านั้น เรายังสามารถลดอาการเหล่านี้ให้หายไปได้ด้วยวิธีต่าง ๆ
 
 
พฤติกรรมชอบกัดเล็บ เกิดจากอะไร?
 
นิสัยชอบกัดเล็บมักเกิดในวัยเด็กที่มีอาการมันเขี้ยว ชอบกัดทุกอย่างแม้กระทั่งเล็บมือเล็บเท้าของตัวเอง
 
ทว่า...
หากนิสัยชอบกัดเล็บเกิดในวัยผู้ใหญ่ ทางจิตวิทยาจะถือพฤติกรรมกัดเล็บเป็นการแสดงออกถึงความวิตกกังวล ความเครียด ความเบื่อหน่าย หรือมีความรู้สึกไม่มั่นคงทางจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่
 
ทั้งนี้ในกรณีที่กัดเล็บตัวเองอย่างจริงจัง ห้ามตัวเองไม่ได้ และมีพฤติกรรมกัดเล็บจนก่อให้เกิดแผลที่เล็บ มีเลือดออก แบบนี้ทางจิตวิทยาอาจบ่งชี้ถึงภาวะของโรควิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือโรคกัดเล็บ (Onychophagia) หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า ภาวะโรค Nail Biting
 
 
กัดเล็บตัวเอง อาการแบบไหนเข้าข่ายป่วย!
 
ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการดังต่อไปนี้...
 
- กัดเล็บในขณะที่ตัวเองเหม่อลอย ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวว่ากำลังกัดเล็บตัวเองอยู่
 
- กัดเล็บจนเล็บผิดรูป หรือเป็นแผลที่เล็บ
 
- รู้สึกอายเล็บตัวเอง พยายามจะหลบเลี่ยงไม่ให้ใครเห็นเล็บมือของตัวเอง
 
- อาจมีอาการแสดงอื่น ๆ ร่วมกับการกัดเล็บ เช่น ดึงผม แคะ แกะ เกาผิวหนัง กัดริมฝีปาก หรือเขย่าขาร่วมด้วย
 
อย่างไรก็ตาม...
พฤติกรรมกัดเล็บจะรุนแรงแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคทางจิตเวชที่เป็นอยู่ด้วย
 
ดังนั้น...
หากพบว่าตัวเองมีอาการกัดเล็บจนก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพทางกาย หรือทางจิตใจต่อตัวเอง ก็ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย ประเมินอาการ และรักษาต่อไป
 
 
ชอบกัดเล็บตัวเอง ทำอย่างไร?
 
วิธีแก้นิสัยกัดเล็บตัวเอง เราสามารถเริ่มต้นปรับพฤติกรรมตัวเองง่าย ๆ ตามนี้
 
1. พยายามตัดเล็บให้สั้นเข้าไว้
 
2. ตกแต่งเล็บให้สวยงาม หากเป็นผู้หญิงจะทาสีเล็บสวย ๆ ก็ได้
 
3. เคลือบเล็บด้วยรสเผ็ดหรือรสขมจากผักหรือสมุนไพร
 
4. สวมถุงมือ
 
5. หันเหความสนใจไปกับเรื่องอื่น
 
6. ปรับพฤติกรรมกับจิตแพทย์
 
ทั้งนี้หากอาการชอบกัดเล็บที่เป็นอยู่สัมพันธ์กับโรคทางจิตเวชโรคใดโรคหนึ่ง เคสนี้แนะนำให้ไปรักษากับจิพแพทย์โดยตรง โดยจิตแพทย์อาจเลือกวิธีรักษาแบบพฤติกรรมบำบัด หรืออาจให้ยากลุ่มต้านเศร้า ยาคลายกังวลเพื่อช่วยรักษาพฤติกรรมกัดเล็บด้วยอีกทาง
 
 
กัดเล็บบ่อย ๆ เสี่ยงโรค!
 
นอกจากการกัดเล็บจะเป็นต้นเหตุให้เล็บของคุณไม่เรียบสวยแล้ว เชื้อโรคและแบคทีเรียจากช่องปากและที่ติดอยู่รอบ ๆ บริเวณเล็บ ยังจะมีโอกาสแลกเปลี่ยนที่อยู่กันอย่างเมามัน กลายเป็นปัญหาสุขภาพอย่างเชื้อราที่เล็บ รวมทั้งปัญหาช่องปากและลำคออักเสบจากการติดเชื้อ หรือหากกัดเล็บจนเป็นแผลใหญ่เรื้อรังไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เนื้อบริเวณนิ้วอักเสบติดเชื้อ แผลเน่า จนต้องตัดนิ้วทิ้งหรือเสียชีวิตก็เป็นได้
 
 
 
ขอบคุณที่มา : #สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
Visitors: 1,229,208