บริจาคโลหิต ฝ่าวิกฤต COVID19

เลือด คือ ของเหลวที่สำคัญไหลเวียนอยู่ในร่างกาย
โดยในผู้ใหญ่ปกติจะมีเลือดไหลเวียนในร่างกายประมาณ 5-6 ลิตร
 
เลือดมีหน้าที่สำคัญ คือ ช่วยขนส่งก๊าซออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย
และเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์เนื้อเยื่อมายังปอด เพื่อซักฟอกและขับถ่ายออกจากร่างกายอีกที
 
นอกจากนี้เลือดยังมีหน้าที่นำสารวิตามินแร่ธาตุต่างๆ ไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ รวมทั้งยังรับของเสียจากเซลล์ไปขับออกจากร่างกายที่อวัยวะต่างๆ อีกด้วย เลือดจึงเป็นของเหลวที่สำคัญมากต่อการดำรงชีวิตของเราก็ว่าได้
 
แต่จากสถานการณ์วิกฤตโควิด19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น
ทำให้การบริจาคโลหิตตอนนี้ลดหายลงไปอย่างมาก ด้วยเพราะต้องรักษาระยะห่าง ไม่สะดวกในการออกมาบริจาคได้
โดยศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ต้องจัดหาเลือดให้ได้วันละ 1,800-2,000 ยูนิต ถึงจะเพียงพอจ่ายให้กับผู้ป่วยทั่วประเทศ
แบ่งเป็นหมู่โลหิตเฉลี่ยในแต่ละวันเป็น
กรุ๊ป A วันละ 500 ยูนิต
กรุ๊ป B วันละ 550 ยูนิต
กรุ๊ป AB วันละ 150 ยูนิต
กรุ๊ป O วันละ 800 ยูนิต
 
แต่ด้วยวิกฤตโควิด 19 ระลอกใหม่ ทำให้ต้องมีการเว้นระยะห่าง หน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคเลือดหลายที่ต้องถูกยกเลิก การจ่ายโลหิตที่ได้รับบริจาคให้กับโรงพยาบาลที่มีความต้องกาเลือดทำได้เพียง 50 % ของความต้องการทั้งหมด นั้นหมายความว่ายังมีจำนวนผู้ป่วยที่ขาดแคลนเลือดอีกจำนวนมาก ในทุกกรุ๊ปหมู่เลือด
 
ครั้งนี้จึงนับเป็นการขาดแคลนเลือดที่วิกฤติมากในประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้
 
ทางศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จึงได้ขอออกมาเชิญชวน คนที่มีสุขภาพดีแข็งแรง ออกมาช่วยบริจาคเลือดผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย
 
โดยก่อนจะไปบริจาคเลือด ทางสภากาชาดไทยของความร่วมมือ ให้ผู้ที่จะบริจาคโลหิตตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพและการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงตามความเป็นจริง
 
หากไม่แน่ใจควรงดการบริจาคโลหิตชั่วคราว เพื่อเป็นการเว้นระยะเวลาการพบเชื้อโควิด 4 สัปดาห์ รวมทั้งให้ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ รักษาระยะห่างในขณะมาบริจาคเลือดด้วย
 
โดยสามารถบริจาคโลหิตกันได้ที่
• ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
• ศูนย์รับบริจาคโลหิตและพลาสมา สถานีกาชาด 11 วิเศษนิยม บางแค
• เดอะมอลล์สาขาบางแค บางกะปิ งามวงศ์วาน
• ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม
• บ้านทรงไทย (ย่านวงศ์สว่าง)
• ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่ง
• สาขาบริการโลหิต
• โรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ
 
และสามารถตรวจสอบคุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต และทำแบบประเมินความเสี่ยง
ก่อนเข้าไปบริจาคโลหิตกันได้ตามนี้
 
มาตรการป้องกันการถ่ายทอดโรคติดเชื้อ COVID-19
ทางโลหิต ฉบับที่ 4 คลิก https://bit.ly/2UJ4RJE
 
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัครผู้บริจาคโลหิต
 
ดาวน์โหลดแบบคัดกรองตนเองเพื่อประเมินความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัส COVID-19
 
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มยินยอมผู้ของปกครองให้บริจาคโลหิต (สำหรับผู้ที่อายุ 17 ปีบริบูรณ์)
 
วันเวลาเปิดรับบริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถ.อังรีดูนังต์
 
ตารางหน่วยเคลื่อนที่บริจาคโลหิต
 
คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต
 
ตามปกติแล้วการบริจาคเลือดคือ การเอาเลือดที่เป็นส่วนเกินที่ร่างกายไม่ได้ใช้ให้กับผู้ป่วย เมื่อเราบริจาคเลือดไปแล้ว ไขกระดูกของเราจะสร้างเลือดขึ้นมาทดแทน แต่ถ้าเราไม่บริจาคเลือด เลือดส่วนนี้ก็จะสลายตัว เพราะหมดอายุออกมาทางปัสสาวะ และ อุจจาระแทน
 
การบริจาคเลือดจึงเป็นการเอาเลือดมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า
จึงอยากขอเชิญชวนผู้ที่ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อ ไปร่วมบริจาคโลหิต ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา โดยเว้นระยะห่างกัน เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยให้พ้นจากอันตราย
 
หากในยามที่บ้านเมืองเผชิญกับวิกฤตมากมาย และเราไม่รู้ว่าจะทำอะไร จะช่วยยังไง บางทีการบริจาคเลือด ก็อาจเป็นวิธีง่ายๆ ที่เราสามารถช่วยประเทศได้...
 
อ้างอิงข้อมูลจาก
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
Visitors: 1,405,373