tax

"ภาษีที่รัก"

หากคุณเป็นคนนึงที่สงสัยว่า รักแท้มีอยู่จริงรึเปล่า เพียงแค่หลับตา แล้วนึกถึงคำว่า "ภาษี" รักแท้ที่คุณมองหา ก็จะเดินทางมาอยู่ตรงหน้าคุณทันที

ครั้งหนึ่งในช่วงชีวิตวัยเยาว์ของเรา เคยจั้งคำถามกับตัวเองกันไหมครับว่า "รักแท้คืออะไร" เราใช้เวลาครุ่นคิดกับคำถามนี้ จนกระทั่งเราพบคนที่เราและเขาเลือกที่จะตกลงปลงใจกัน เป็นคู่ชีวิต

เราแต่งงาน มีครอบครัว มีลูกตัวเล็กๆ จนเราลืมคำถามนั้นไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบ

จนกระทั่งในวันหยุดสุดสัปดาห์ ระหว่างที่เรากำลังนั่งดูลูกเล่นกับสุนัขตัวโปรด โดยที่มีคุณภรรยาคอยดูแลอยู่ข้างๆ เราก็นึกถึงคำถามนี้ขึ้นมาอีกครั้ง และครั้งนี้เราก็ได้คำตอบ คำตอบ ซึ่งผ่านการตกตะกอนทางความคิด

ด้วยเวลาที่เนิ่นนานเหลือเกิน

จนที่ในที่สุดเราก็ค้นพบว่า

ตั้งแต่เราเกิดมีคนๆหนึ่งที่คอยดูแลเราอยู่เสมอ

คอยประคองเราขึ้นมา เมื่อเราไปเล่นซน หกล้มจนเป็นแผล

คอยดูแล รักษา ยามเราเมื่อเราป่วยไข้ไม่สบาย

อยู่ด้วยกันกับเราเสมอ ทั้งในยามที่เราทุกข์เศร้า หรือสุขล้นปรี่

จนกระทั่งขณะเรากำลังจะตายจากโลกไปนี้ไป เค้าก็อยู่กับเราไม่ห่าง

 

เรามาทำความรู้จักคนๆนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่าครับ

 

หากจะนิยาม "ภาษี" ด้วยถ้อยคำที่ไม่ซับซ้อน มันก็คือ รายจ่ายที่เราต้องมอบให้รัฐบาลผ่านช่องทางและกลไกต่างๆ

เพื่อที่รัฐบาลจะนำเงินภาษีนี้มาบริหารประเทศ และนำมาดูแลประชาชนผ่านทางระบบสวัสดิการ ระบบสาธารนูปโภค ส่งเสริมและพัฒนาทักษะความรู้ผ่านทางระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น

รัฐบาลจะทำการจัดเก็บภาษี ผ่านช่องทางต่างๆดังต่อไปนี้

1. กรมสรรพากร

2.กรมสรรพสามิต

3.กรมศุลกากร

4.หน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

รายได้ที่รัฐได้จากการจัดเก็บภาษี และเป็นรายได้หลัก มาจาก

"กรมสรรพากร"

เรามาทำความรู้จักกับกรมสรรพากรกันครับว่าเค้าทำหน้าที่อะไรบ้าง

 

กรมสรรพากร เป็นหน่วยงานระดับ "กรม" สังกัด "กระทรวงการคลัง"

โดยที่กรมสรรพากรทำหน้าที่จัดเก็บภาษีตาม "ประมวลรัษฎากร"

(ประมวลรัษฎากร เป็นกฏหมายภาษีฉบับหนึ่งของไทย มีสถานะเทียบเท่า พรบ.)

ได้แก่

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

3. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

จัดเก็บจากธุรกิจที่ได้สัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของรายได้สุทธิ

4. ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT

ตัวนี้ส่วนใหญ่เราจะเข้าใจผิดกันมากครับ จริงๆแล้วตามกฏหมาย ไทยเราตั้งภาษีตัวนี้ที่ 10% แต่ในทุกๆปีจะมีกฏหมายพิเศษออกมาลดให้เหลือ 7%

5. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เช่น ธนาคาร ประกันชีวิต ธุรกิจเงินทุน หลักทรัพย์ ฟองซิเอร์ รับจำนำ ปล่อยกู้ ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงิน ขายอสังฯ ขายหลักทรัพย์

6. ภาษีมรดก

มรดกที่มีมูลค่ารวมเกิน 100 ล้านบาท โดยจะจัดเก็บภาษีในอัตรา 10% ของส่วนที่เกินมาจาก 100 ล้านบาทนั้น เช่น สมมติคุณปลาวาฬ ตาย และมีมรดกทั้งสิ้น 400ล้าน 100 ล้านบาทแรกจะไม่เสียภาษี ส่วน 300 ล้านบาทถัดมาจะเสียภาษีที่อัตรา 10% โดยมีข้อยกเว้นดังนี้

- หากมรดกตกทอดแก่ ภรรยาที่จดทะเบียนสมรวถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ต้องเสียภาษี

- หากมรดกตกทอดแก่ทายาทที่มีลำดับชั้น ตั้งแต่ บิดา มารดา ขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา 5%

7. อากรแสตมป์

เก็บในรูปของดวงแสตมป์ที่ใช้สำหรับปิดบนเอกสารราชการและหนังสือสัญญาต่างๆ

8.ภาษีอื่นๆ

 

ผมได้ทำกราฟแยกตามประเภทภาษี ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2560-2562 เพื่อให้ทุกท่านได้เห็นถึงการเติบโตในส่วนของการจัดเก็บภาษีจากสรรพากร(หน่วยงานซึ่งมีเป้าหมายที่ท้าทายมากครับ ส่วนใหญ่เราก็จะเห็นข่าวว่า ปีนี้ตั้งเป้าว่าจะจัดเก็บภาษีให้ได้มากขึ้น)

ขอข้ามการอธิบายในส่วนของภาษี อื่นๆ อากรแสตมป์ และภาษีธุรกิจเฉพาะไปนะครับ

เรามาดูกันที่ภาษีมรดก ตัวนี้เกิดไอเดียมาจากความต้องการที่จะจัดเก็บภาษีจากคนรวยให้ได้มากขึ้นครับ ประเด็นคือ คนรวยไม่ได้เสียชีวิตกันทุกปี

ดังนั้นการจัดเก็บภาษีตรงนี้อาจจะไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่าที่ต้องการ(การที่เราทำงานหาเงินมาทั้งชีวิต ส่วนนึงก็คงหวังให้รุ่นลูกหลานได้อยู่สบาย ในช่วงชีวิตที่ผ่านมาก็จ่ายภาษีกันมาตลอดทาง ยามเมื่อเสียชีวิตไปแล้วก็ยังต้องเสียภาษีอีกนิดหน่อยเป็นค่าผ่านทางไปยมโลก หมูน้อยคิดว่าภาษีรักเราเสียยิ่งกว่าเมียอีกครับ แม้ตายแล้วก็ยังอยากจะตามดูแลกันต่อ)

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ในส่วนนี้เราก็จะเห็นได้ว่ามีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากมองในแง่บวก คือการที่เรามีรายได้สูงขึ้นทำให้โดนจัดเก็บภาษีมากขึ้นเป็นเรื่องปรกติ แต่ถ้ามองในแง่ของความเป็นจริง สามปีที่ผ่านมานี้เงินเดือนเราเพิ่มขึ้นมามากรึเปล่า?

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เป็นเรื่องที่ดีครับการที่นิติบุคคลมีรายได้มากขึ้นทำให้เสียภาษีคืนมาให้รัฐมากขึ้น เพียงแต่นิติบุคคลที่เสียภาษีเพิ่มขึ้นนั้นมี

การกระจายตัวหรือไปกระจุกตัวอยู่กับบางกลุ่ม จุดนี้ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมกันได้ครับ

มาส่วนที่ใกล้ตัวเราดีกว่าภาษีมูลค่าเพิ่ม

นอกจากชื่อจะมีคำว่าเพิ่มแล้ว การจัดเก็บรายได้จากส่วนนี้ก็เพิ่มขึ้นมากนะครับ สวนทางกับเศรษฐกิจที่"เติบโตน้อยลง" จริงๆ (หมูน้อยขอย้ำให้ทุกท่านมั่นใจครับว่า เศรษฐกิจไทยไม่ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย แค่เติบโตน้อยลง เหมือนน้ำท่วมรอการระบาย)

 

เรามักจะเจอคำพูดที่ว่าคนรายได้น้อยไม่เสียภาษี(ผมไม่อยากใช้อีกคำ)

พอเรามาดูข้อมูลจริงๆแล้วเป็นไงกันบ้างครับ ภาษีมูลค่าเพิ่มกินสัดส่วนสูงที่สุด เมื่อเทียบกับภาษีทุกด้าน

เพราะมันสามารถเข้าถึงทุกคนได้ครับ ลองนึกสภาพ คนรายได้น้อย ซื้อของจากตลาดสดกลับมาทำกับข้าวที่บ้านนะครับ เค้าซื้อน้ำตาล น้ำปลา ผงชูรส ข้าวสาร เราคิดว่าในกลุ่มพวกนี้มีตัวไหนไม่โดนภาษีมูลค่าเพิ่มบ้างรึเปล่า

จริงๆผมค่อนข้างนับถือจินตนาการของคนที่คิดวิธีเก็บภาษีมากครับ ยกตัวอย่าง เช่น

- ภาษีความหวาน เพื่อให้คนไทยสุขภาพดี ไล่เก็บจากเครื่องดื่มหรือสินค้าที่มีความหวาน ซึ่งเค้าเหล่านั้นก็ตอบแทนเราเป็นราคาที่สูงขึ้น

- ภาษีความเค็ม(กำลังจะออก)

- ภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีแอลกอฮอล์ 0% (เผื่อท่านใดงง ตอนนี้ทางฝั่งธุรกิจเครื่องดื่มมีนวัติกรรมเบียร์ 0% แอล) ไอเดียของการเก็บภาษีชนิดนี้คือ เพื่อไม่ให้เป็นการส่งเสริมให้คนหันมาดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จริงๆ จึงต้องเก็บภาษีของเครื่องดื่มชนิดนี้ด้วย

 

ดังนั้นหากใครคิดว่า "รักแท้ไม่มีอยู่จริง" หมูน้อยอยากให้ท่านนั่งพักแล้วหลับตา ลองคิดถึงคุณภาษีที่เค้าอยู่ข้างเราเสมอไม่จากไปไหน

อยู่ด้วยกันตั้งแต่เราเป็นเด็กทารก สวมใส่ผ้าอ้อม กินนมผง เดินด้วยรถเข็นเด็ก จวบจนเราตายก็ตามมาคอยส่งถึงปลายทางชีวิต หมูน้อยยังจินตนาการไม่ออกเลยครับว่า

Visitors: 1,429,837