นักวิทย์พบโลกกำลังหมุนเร็วขึ้น ปี 2020

นักวิทย์พบโลกกำลังหมุนเร็วขึ้น ปี 2020 ทุบสถิติวันที่สั้นที่สุด 28 ครั้ง ปีนี้จ่อหมุนเร็วขึ้นกว่านั้นอีก อาจส่งผลต่อนาฬิกาโลก

เราทราบกันว่าโลกนั้นหมุนรอบตัวเองแต่ละวันนั้นใช้เวลาประมาณ 86,400 วินาที หรือ 24 ชั่วโมง แต่ความจริงแล้วมันแตกต่างกันอย่างเล็กน้อย

หลายสิบปีที่ผ่านมาโลกพัฒนานาฬิกาอะตอมที่มีความแม่นยำทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถดูเวลาที่มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยได้ และนักวิทยาศาสตร์สามารถบันทึก และวัดความยาวของวันเป็นแบบมิลลิวินาที ( 1 มิลลิวินาที = 0.001 วินาที) ซึ่งทำให้เราสามารถพบว่าการหมุนของโลกนั้นมีความผันแปรมากกว่าที่คาดคิดก่อนหน้านี้

โดยปีที่ผ่านมานี้ นักวิทยาศาสตร์พบว่าโลกหมุนเร็วขึ้น โดยเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2563 เป็นวันที่สั้นที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา ซึ่งมันเร็วกว่าปกติ 1.4602 มิลลิวินาที ( 1 มิลลิวินาที = 0.001 วินาที)

และมากไปกว่านั้นเหล่าวันที่เร็วที่สุด (นับตั้งแต่ปี 1960) 28 อันดับนั้นก็อยู่ในปี 2020

เท่านั้นยังไม่พอ ในปีนี้ 2021 นักวิทยาศาสตร์คาดการว่าโลกจะหมุนเร็วขึ้นเฉลี่ยวันละ 0.05 มิลลิวินาที

นักวิทยาศาสตร์ด้านดาวเคราะห์ไม่ได้กังวลถึงการค้นพบดังกล่าวเนื่องจากทราบว่ามีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการหมุนของโลกที่แปรปรวน ไม่ว่าจะเป็นความกดของชั้นบรรยากาศ กระแสมหาสมุทร ลม การเคลื่อนไหวของแกน การดึงดูดของดวงจันทร์ ระดับหิมะตก และการกร่อนของภูเขา

นอกจากนี้ พวกเขาก็ได้เริ่มสงสัยว่าภาวะโลกร้อนนั้นมีส่วนทำให้โลกหมุนเร็วขึ้นหรือไม่ เนื่องจากหมวกน้ำแข็ง และน้ำแข็งที่สูงก็เริ่มหายไปมากขึ้น

แต่นักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์นั้นมีความกังวลถึงเรื่องดังกล่าว ด้วยเหตุผลที่ว่าเทคโนโลยีหลายประเภทได้อ้างอิงกับกับสิ่งที่พวกเราเรียกว่าเวลาตามจริง

สิ่งนี้อาจจะส่งผลต่อนาฬิกาโลก โดยก่อนหน้านี้เรามีการทำการเพิ่มวินาทีให้นาฬิกาของเราแล้วกว่า 27 ครั้ง (เรียกว่า Positive leap second) แต่ในอนาคตหากโลกหมุนเร็วขึ้นต่อเนื่อง นี่อาจเป็นครั้งแรกที่เราจะลบวินาทีออกจากนาฬิกาของเรา (Negative leap second)

 

ที่มาจาก: เพจ Environman

Visitors: 1,216,763