เรื่องราวเกี่ยวกับโรค Alzheimer (อัลไซเมอร์)
เรื่องราวเกี่ยวกับโรค "Alzheimer (อัลไซเมอร์)"
ทำไมโรคนี้ถึงเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ?
ทำไมคนที่เป็นโรคนี้ถึงชอบติดอยู่กับความทรงจำในอดีต ?
ถ้าคุณพ่อคุณแม่เป็นอัลไซเมอร์ ลูกมีสิทธ์ได้รับมรดกนี้ไหม ?
ทำไมผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ถึงได้นอนเยอะมากใน 1 วัน ?
ความเจ็บปวดทางกายอาจไม่ชัดเท่าความเจ็บปวดทางใจ และที่มากกว่านั้นคือ ความเจ็บปวดของคนรอบข้างผู้ป่วย
วันนี้เราจะพาเพื่อนๆมารู้จักกับโรค "Alzheimer (อัลไซเมอร์)" หนึ่งในสาเหตุของภาวะสมองและความจำเสื่อมกันนะ
"Alzheimer (อัลไซเมอร์)" คืออะไร ? (แบบสรุป)
- เกิดจากการฝ่อตัวของสมอง และทำให้บางส่วนของสมองทำงานผิดปกติ หรืออาจหยุดทำงานไปเลย
- มีการสะสมของโปรตีนที่ไม่ปกติอย่าง อะไมลอยด์พลัค (Amyloid Plaques) ในสมองมากเกินไป
- กลุ่มใยประสาทที่พันกัน (Neurofibrillary Tangles)
- สารสื่อประสาทอะซีติลโคลีน (Acetylcholine) ในสมองที่ไม่สมดุลกัน
- ผลที่เกิดหนักที่สุดตามมาก็คือ เส้นเลือดในสมอง ค่อยๆถูกทำลายลงไปเรื่อยๆ และนี่เป็นสาเหตุของภาวะความจำเสื่อมด้วยนั้นเอง
(ขอบคุณที่มาของข้อมูลจาก www.pobpad.com)
- ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่ได้เสียชีวิตจากโรค"Alzheimer (อัลไซเมอร์)" โดยตรง
แต่ไปเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนซึ่งเกิดตามหลังจากอัลไซเมอร์เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง, ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะขาดน้ำ, หรือแม้กระทั่งโรคปอดบวมน้ำ ติดเชื้อ ซึ่งเกิดมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อการกินอาหารได้
ทำไมถึงเรียกโรคนี้ว่า "Alzheimer (อัลไซเมอร์)"
- มาจากชื่อของ นักประสาทวิทยาและคุณหมอชาวเยอรมันชื่อว่า Alois Alzheimer ในปี 1910
- ในปี 1906 โดยขณะนั้นคุณหมอ Alois ได้ทำการรักษาและผ่าตัดเคสหญิงอายุ 51 ปี ที่ต่อมาได้เสียชีวิตลง
- คุณหมอ Alois พบว่าเนื้อสมองของเธอนั้นมีการสะสมของโปรตีนอยู่หนามาก แถมเส้นประสาทยังพันกันเละเลย และท้ายที่สุดคุณหมอก็สรุปได้ว่าระบบประสาทของเธอได้พังไปจนหมดแล้ว (สาเหตุของการเสียชีวิต)
- จนกระทั่งปี 1910 มีการพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคสาเหตุนี้ในผู้สูงอายุ และผู้ค้นพบคนแรกก็คือ คุณหมอ Alois Alzheimer ชื่อของคุณหมอจึงถูกจดจำและใช้เรียกโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่นั้นมา
ทำไมโรคนี้ถึงเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ?
- จากผู้ป่วย 5 ล้านรายในอเมริกาของโรคนี้ พบว่าเกือบ 64% เป็นเพศหญิงสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
- 1 ในสาเหตุนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้อ้างอิงถึงความจริงจากสถิติว่า ผู้หญิงมักจะมีอายุขัยที่ยืนยาวกว่าผู้ชาย เลยเป็นไปได้ว่า จะทำให้พวกเธอที่อายุยืนมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่า
- สาเหตุต่อมาก็มีการสันนิษฐาน จากการสำรวจของผู้ป่วยในอเมริกา พบว่าผู้ป่วยเพศหญิงมีการออกกำลังกายประจำวันที่น้อยกว่าเพศชาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยให้ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ หรือช่วยบรรเทาโรคนี้ได้
- อีกตัวอย่างหนึ่งที่ดีก็คือ พันธุกรรมชื่อ "APOE4" ที่พัฒนามาพร้อมกับร่างกายของมนุษย์เราทั้ง 2 เพศนี้ละ แต่ว่าผลสำรวจของ Dr.Victor W. Henderson ในปี 2014พบว่าเจ้าพันธุกรรมตัวนี้พัฒนาทำให้ความเสี่ยงของเพศหญิงสูงกว่า
- ในรายงานเล่มเดียวกันของ Dr.Victor ยังระบุว่า ผู้หญิงในช่วงวัยทอง หลังหมดฮอร์โมนไปแล้ว estrogen, progesterone และ testosterone ที่ลดลงไปยังส่งผลต่อความเสี่ยงของโรคนี้ด้วย
(ขอบคุณข้อมูลจาก Discover Magazines)
ถ้าคุณพ่อคุณแม่เป็นอัลไซเมอร์ ลูกมีสิทธ์ได้รับมรดกนี้ไหม ?
- Van Andel Institute ระบุอย่างไม่ชัดเจน ว่าอาจจะไม่เกี่ยวกับกรรมพันธุ์จากพ่อแม่ แต่ในกรณีที่เครือญาติ หรือบรรพบุรุษมีโรคนี้มาอยู่ด้วย อาจะมีผลราวๆ 30% ที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ในช่วงอายุที่น้อยลงมากขึ้น (คือประมาณ 40 ปี ก็อาจจะเริ่มมีอาการระยะที่ 1 ให้เห็นแล้ว)
- แต่ทั้งนี้ จากการค้นหาของเราเนี่ย ยังไม่มีสื่อไหนที่ออกมายืนยันชัดเจนนะ มีเพียงแค่ขอสังเกตและสันนิษฐานจากสถิติผู้ป่วย
- พวกเค้าพบว่าอายุที่มากขึ้นของคน ทำให้มีความเสี่ยงอยู่แล้ว
- และด้วยการพบในอายุที่เกิน 60 ปีขึ้นไป จึงทำให้ระบุยากเข้าไปใหญ่ว่าเกี่ยวกับกรรมพันธุ์จากพ่อแม่หรือไม่
ทำไมผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ถึงชอบติดอยู่กับความทรงจำในอดีต ?
อธิบายแบบเข้าใจง่ายคือ
- อัลไซเมอร์ไปลดประสิทธิภาพระบบประสาทที่ส่งกระแสบรรจุหน่วยความจำใหม่ๆ นั้นทำให้ผู้ป่วยจำสิ่งที่เค้าพบเจอในปัจจุบันไม่ได้
- กลายเป็นว่าสมองส่วน hippocampus (น้องสีฟ้าจากภาพล่าง) ที่อยู่ในส่วนสมองของ neocortex จะเป็นส่วนที่ถูกเจ้าอัลไซเมอร์ทำร้ายมากที่สุด และดันเป็นสมองส่วนที่มีหน้าที่หลักเกี่ยวกับความจำซะด้วย
- และถ้า hippocampus ถูกทำลาย นั้นหมายความว่า ความทรงจำของผู้ป่วยจะหายไปหมดเลยนั้นเอง
- โชคยังดีบ้างที่ ความทรงจำในอดีตนั้น นักวิทยาศาสตร์พบว่า สมองส่วนอื่น นอก Neocortex ได้มีการบันทึกเอาไว้
- ถึงแม้จะไม่ได้ละเอียดหมด แต่ความทรงจำที่ฝังใจดีๆบางส่วนกลับสิ่งอยู่ข้างนอกนั้นแหละ เลยทำให้ผู้ป่วย ย้อนตัวเองกลับไปอยู่ในอดีต และวนอย่างนั้นไปเรื่อยๆ...
ทำไมผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ถึงได้นอนกลับเยอะมากใน 1 วัน ?
- โรคอัลไซเมอร์มีผลกระทบโดยตรงกับกิจวัตรการนอนหลับ (Sleep pattern)
- โดยผู้ป่วยอาจมีภาวะเรียกว่า Sundowning หรือเอาง่ายๆคือ เมื่อตกเวลาเย็นแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการรกระสับกระส่าย วิตกกังวล หรือ panic ว่าเริ่มมืดแล้ว จะเริ่มเป็นอันตราย
- ต่อมาก็จะเกิดความเครียด ที่ทำให้ไม่สามารถนอนหลับได้ (อาจกลายเป็นว่าตื่นกลางคืน นอนกลางวันแทน)
- และถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ กิจวัตรรูปแบบการนอนของเค้าก็ได้ถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงแล้วละ อาจจะทำให้เกิดภาวะอดนอน จึงทำให้พวกเค้านอนหลับไม่เป็นเวลา
References:
ที่มา : Simple Journey : https://www.blockdit.com/articles/5f99970a4fb4800c822e9853/#
|