หมอธีระวัฒน์เผย วัคซีนโควิดสัญชาติไทย ทดสอบในลิงได้ผลดี เตรียมทำโรงงานผลิตเอง!

หมอธีระวัฒน์เผย วัคซีนโควิดสัญชาติไทย ทดสอบในลิงได้ผลดี เตรียมทำโรงงานผลิตเอง!
 
29 สิงหาคม 2563 นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์ข้อความลงบนเพจเฟซบุ๊ก "ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha" ระบุว่า
 
"บริษัทใบยาประสบความสำเร็จวัคซีนโควิด-19 สร้างภูมิคุ้มกันในลิงทั้งระบบแอนติบอดีและการกระตุ้นระบบเซลล์ บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทย โดยนักวิจัยไทย บริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม สามารถพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำจากใบยาพืช โดยการใส่รหัสพันธุกรรมที่กำหนดการสร้างโปรตีนของไวรัสและภายในหนึ่งสัปดาห์ พืชจะทำการสร้างโปรตีนที่ต้องการ ทั้งนี้ลักษณะโครงสร้างและลำดับของโปรตีนไม่ได้ผิดเพี้ยนไปเมื่อเทียบกับการสร้างวัคซีนด้วยกลวิธีอื่นๆ
 
วัคซีนใบยาผ่านการทดสอบในหนูและในที่สุดในลิง ด้วยการฉีดสองเข็มห่างกันสามสัปดาห์ และลิงมีความปลอดภัยไม่ปรากฏมีผลข้างเคียง ผลเลือดในลิง ค่าเอนไซม์ตับปกติ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวปกติ
 
สิ่งที่น่ายินดีก็คือ ลิงมีระดับภูมิคุ้มกันสูงมาก ที่เรียกว่าNeutralizing antibody ซึ่งสามารถยับยั้งไวรัสได้ ทั้งนี้ทำการตรวจสอบด้วยการวัดระดับจากการตรวจทางElisa surrogate isotype independent virus neutralizing antibody และจากการทดสอบในการยับยั้งไวรัสจริงในเซลล์
 
นอกจากนั้น เชลล์ของลิง จากการกระตุ้นด้วยเปปไทด์พบว่ามี ค่าการสร้าง IFN gamma แสดงว่ามีกระตุ้น T cell ได้และลิงมีความปลอดภัยไม่ปรากฏมีผลข้างเคียง ผลเลือดในลิง ค่าเอนไซม์ตับปกติ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวปกติ
 
ทั้งนี้จุดเด่นก็คือวัคซีนที่ทำจาก “ใบยา” พืชไม่ได้มีกระบวนการยุ่งยากใดๆ แม้จะผลิตเป็นล้านโด๊ส โดยที่สามารถยกระดับจากการผลิตในห้องทดลองเพื่อเป็นระดับอุตสาหกรรมได้ทันทีทั้งนี้อยู่ที่ขั้นตอนโปรตีนบริสุทธิ์ที่นำมาฉีดในคน เป้าหมายตอนนี้คือทำโรงงานวัคซีน เพื่อผลิตเองในประเทศ
 
ในตารางแสดงให้เห็นถึงการใช้วัคซีนในขนาดต่างๆโดยที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองที่ยับยั้งไวรัสได้ และเมื่อเทียบกับ”ลิง”ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนในกลุ่มสุดท้าย
 
ถึงเวลาที่คนไทยทั้งประเทศมีความภาคภูมิใจกับการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ที่ทำเองทุกขั้นตอนโดยไม่ได้อาศัยต่างชาติไม่”ต้อง”กังวลเรื่องสิทธิบัตร เมื่อนำมาใช้จริงและสามารถผลิตปริมาณเพิ่มจำนวนได้มหาศาลภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์"
 
 
 
29 สิงหาคม 2563 นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์ข้อความลงบนเพจเฟซบุ๊ก "ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha" ระบุว่า
"บริษัทใบยาประสบความสำเร็จวัคซีนโควิด-19 สร้างภูมิคุ้มกันในลิงทั้งระบบแอนติบอดีและการกระตุ้นระบบเซลล์
บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทย โดยนักวิจัยไทย บริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม สามารถพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำจากใบยาพืช โดยการใส่รหัสพันธุกรรมที่กำหนดการสร้างโปรตีนของไวรัสและภายใน”หนึ่ง”สัปดาห์ พืชจะทำการสร้างโปรตีนที่ต้องการ ทั้งนี้ลักษณะโครงสร้างและลำดับของโปรตีนไม่ได้ผิดเพี้ยนไปเมื่อเทียบกับการสร้างวัคซีนด้วยกลวิธีอื่นๆ
วัคซีนใบยาผ่านการทดสอบในหนูและในที่สุดในลิง ด้วยการฉีดสองเข็มห่างกันสามสัปดาห์ และลิงมีความปลอดภัยไม่ปรากฏมีผลข้างเคียง ผลเลือดในลิง ค่าเอนไซม์ตับปกติ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวปกติ
สิ่งที่น่ายินดีก็คือ ลิงมีระดับภูมิคุ้มกันสูงมาก ที่เรียกว่าNeutralizing antibody ซึ่งสามารถยับยั้งไวรัสได้ ทั้งนี้ทำการตรวจสอบด้วยการวัดระดับจากการตรวจทางElisa surrogate isotype independent virus neutralizing antibody และจากการทดสอบในการยับยั้งไวรัสจริงในเซลล์
นอกจากนั้น เชลล์ของลิง จากการกระตุ้นด้วยเปปไทด์พบว่ามี ค่าการสร้าง IFN gamma แสดงว่ามีกระตุ้น T cell ได้
และลิงมีความปลอดภัยไม่ปรากฏมีผลข้างเคียง ผลเลือดในลิง ค่าเอนไซม์ตับปกติ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวปกติ
ทั้งนี้จุดเด่นก็คือวัคซีนที่ทำจาก “ใบยา” พืชไม่ได้มีกระบวนการยุ่งยากใดๆ แม้จะผลิตเป็นล้านโด๊ส โดยที่สามารถยกระดับจากการผลิตในห้องทดลองเพื่อเป็นระดับอุตสาหกรรมได้ทันทีทั้งนี้อยู่ที่ขั้นตอนโปรตีนบริสุทธิ์ที่นำมาฉีดในคน
เป้าหมายตอนนี้คือทำโรงงานวัคซีน เพื่อผลิตเองในประเทศ
ในตารางแสดงให้เห็นถึงการใช้วัคซีนในขนาดต่างๆโดยที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองที่ยับยั้งไวรัสได้ และเมื่อเทียบกับ”ลิง”ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนในกลุ่มสุดท้าย
ถึงเวลาที่คนไทยทั้งประเทศมีความภาคภูมิใจกับการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ที่ทำเองทุกขั้นตอนโดยไม่ได้อาศัยต่างชาติไม่”ต้อง”กังวลเรื่องสิทธิบัตร เมื่อนำมาใช้จริงและสามารถผลิตปริมาณเพิ่มจำนวนได้มหาศาลภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์"
 
40
7 แชร์
1.1K รับชม
  •  
    ถูกใจ
  •  
    แสดงความคิดเห็น
  • แชร์
  •  

 
Visitors: 1,218,223