ความดันสูง...ทำลายหัวใจของคุณได้ด้วยวิธีใด!
“ความดันสูง”...ทำลายหัวใจของคุณได้ด้วยวิธีใด!
“ความดัน” กับ “หัวใจ” เกี่ยวกันอย่างไร มาดูกัน...ถ้าให้เปรียบเทียบร่างกายของมนุษย์แล้ว มันก็ไม่ต่างอะไรกับเมืองใหญ่ๆเมืองหนึ่ง ที่เซลล์อวัยวะต่างๆก็เปรียบเสมือนตึกอาคารบ้านเรือน โดยที่พวกมันต่างต้องการไฟฟ้าและน้ำประปาที่ส่งมาทางสายไฟและท่อน้ำเพื่อเป็นพลังงานในการดำรงชีวิต
แต่สำหรับเซลล์ของพวกเรานั้น มันต้องการพลังงานจากอาหารและออกซิเจนที่อยู่ใน”เลือด”ที่ลำเลียงมาตาม”เส้นเลือด”
หัวใจนั้นทำหน้าเป็นเหมือนโรงงานไฟฟ้าและโรงงานผลิตน้ำประปาขนาดใหญ่ โดยหัวใจต้องสูบฉีดเลือดทั้งหมดไปให้ครอบคลุมทุกๆเซลล์ทั่วทั้งร่างกาย ดังนั้นหัวใจและเส้นเลือดจึงถือเป็นระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญที่สุดในร่างกายของมนุษย์ ถ้าระบบนี้พังลงไป เซลล์ต่างๆ อวัยวะต่างๆ ก็จะดับตามไปด้วย และคุณรู้หรือไม่ว่า...
“สาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประชากรทั่วโลกนั้น เกิดจากความผิดปกติของระบบสาธารณูปโภคนี้ล่ะ”
โดยความผิดปกติที่สามารถเกิดขึ้นกับหัวใจและเส้นเลือดจริงๆมีสาเหตุอยู่มากมาย แต่สาเหตุที่สำคัญนั้นมีอยู่เพียงไม่กี่อย่าง และ”ความดันโลหิตสูง”ก็คือหนึ่งในนั้น!
ถ้าถามว่า”อวัยวะใดในร่างกายเราที่ทำงานหนักที่สุด?”
หมอก็คงต้องตอบว่าไม่มีอวัยวะใดๆเลยที่ทำงานหนักได้ใกล้เคียงกับหัวใจ!
คุณลองจินตนาการดูนะครับ... หัวใจของคุณนั้นต้องบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดไปทั่วทั้งร่างกายถึง 60-100 ครั้ง ภายใน 1 นาที และไม่มีวินาทีใดๆเลยในชีวิตของพวกเราที่หัวใจนั้นหยุดทำงาน! ลองนึกภาพเวลาคุณวิ่งมาราธอนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวันดูสิครับ คุณอาจหมดแรงจนขาดใจตายได้เลย...
ซึ่งหัวใจของพวกเรามันก็ทำงานหนักแบบนั้นล่ะครับ แต่สิ่งที่หมออยากบอกก็คือ ถ้าคุณมี”ความดันสูง”ด้วย มันจะยิ่งทำให้หัวใจของคุณต้องทำงานหนักมากขึ้นอีกหลายเท่าเลย!
ลองนึกภาพง่ายๆนะครับ เวลาคุณต้องปั๊มยางรถที่มีลมแน่นอยู่แล้ว คุณคงต้องออกแรงปั๊มอย่างมหาศาลใช่ไหม และเมื่อคุณออกแรงปั๊มต่อไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องไปหลายๆวัน กล้ามเนื้อของคุณก็จะขยายตัวและใหญ่ขึ้นเหมือนเล่นเวทเทรนนิ่ง
และเช่นเดียวกัน นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับหัวใจในเวลาที่ความดันในเส้นเลือดสูงมากขึ้น มันทำให้หัวใจต้องออกแรงปั๊มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่มีวันหยุด จนกล้ามเนื้อหัวใจของคุณเริ่มพองโตมากขึ้นเรื่อยๆ
เอาล่ะ แต่หลายๆคนอาจรู้สึกว่ากล้ามเนื้อหัวใจมันโตขึ้น ก็น่าจะเเข็งแรงขึ้น สูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นใช่ไหมล่ะ?
แต่ในความจริงแล้วกลับไม่เป็นเช่นนั้น!
แม้กล้ามเนื้อที่พองโตขึ้นในช่วงแรกจะสามารถทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีมากขึ้น แต่ในระยะยาวแล้วกลับให้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง!
แล้วทำไมกล้ามเนื้อหัวใจถึงไม่สามารถแข็งแรงมากขึ้นเหมือนกล้ามเนื้อทั่วไปล่ะ?
เวลาที่คุณเล่นเวทเทรนนิ่ง กล้ามเนื้อของคุณจะสามารถพองโตขึ้นได้ก็ต่อเมื่อระบบเส้นเลือดนำอาหารมาเลี้ยงอย่างเพียงพอ ซึ่งโดยธรรมชาติเเล้วกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวร่างกายของพวกเรานั้นมีระบบหลอดเลือดมาเลี้ยงมากมายทั่วทุกทิศทาง
แต่สำหรับกล้ามเนื้อหัวใจ พวกมันกลับไม่ได้มีระบบหลอดเลือดที่ดีเช่นนั้น...
การที่กล้ามเนื้อหัวใจโตมากขึ้น แม้ระยะแรกจะไม่มีปัญหาใดๆ แต่ถ้ามันโตมากขึ้นไปเรื่อยๆแบบนี้ สุดท้ายมันจะกลายเป็นสิ่งที่พวกเราเรียกกันว่า ”โรคหัวใจโต”
เพราะเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจโตมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงจุดหนึ่ง มันก็จะเลยขอบเขตที่เส้นเลือดสามารถไปถึงได้ ทำให้กล้ามเนื้อที่โตต่อไปเรื่อยๆต่อจากนี้จะ”ไม่มี”เลือดไปเลี้ยงอีกต่อไป
นี่คือข้อจำกัดสำคัญของกล้ามเนื้อหัวใจ และสุดท้ายกล้ามเนื้อหัวใจที่พองโตเหล่านี้ก็อาจจะต้องตายทั้งหมด โดยนี่ก็คือสิ่งที่พวกเราเรียกว่า ”โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด”นั่นเอง
และนอกจากนี้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจก็มักตีบแคบลงจากโรคความดันโลหิตสูงด้วยเช่นกัน ยิ่งทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดง่ายขึ้นไปอีก!
และเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจตายไปแล้ว แต่มันก็ยังไม่จบอยู่เพียงเท่านี้...
กล้ามเนื้อที่ตายไปเหล่านี้สุดท้ายก็จะกลายเป็น”พังผืดหรือแผลเป็น”ที่อยู่รอบๆหัวใจ ซึ่งมันจะไปทำให้หัวใจแข็งตัวขึ้นและมีความยืดหยุ่นน้อยลง เมื่อมีพังผืดมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายก็จะทำให้หัวใจบีบตัวและคลายตัวได้น้อยลง
อย่างที่บอกไปครับว่าหัวใจนั้นคือระบบสาธารณูปโภคในร่างกายของพวกเรา ดังนั้นเมื่อมันสูบฉีดเลือดออกไปได้ไม่เหมือนเดิมอีกแล้วล่ะก็ คุณก็จะได้รู้ว่าการใช้ชีวิตโดยมีเลือดมาเลี้ยงร่างกายเพียงน้อยนิดนั้น มันจะเหนื่อยขนาดไหน!
ต่อไปจากนี้ เพียงแค่การเดินก็อาจเหนื่อยไม่ต่างจากการวิ่ง หือเพียงแค่การนั่งเฉยๆก็อาจเหนื่อยไม่ต่างจากการทำงาน และนี่ก็คือสิ่งที่เรียกว่า ”โรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง” นั่นเอง
แม้หัวใจมีกล้ามเนื้อมากขึ้น แต่ถ้ากล้ามเนื้อเหล่านั้นไม่ได้รับการเลี้ยงดู สุดท้ายพวกมันก็จะตายและกลายเป็นพังผืดที่คอยขัดขวางการเต้นของหัวใจแทน...
สุดท้ายหมอขอทิ้งท้ายไว้ว่า หัวใจของพวกเรานั้น เดิมทีมันก็เป็นอวัยวะที่ทำงานหนักมากๆอยู่แล้ว ทำไมพวกเราจะต้องไปเพิ่มภาระมันให้มากขึ้นอีกใช่ไหมล่ะครับ ซึ่งแทนที่จะทำอย่างนั้น พวกเรามาหาวิธีที่จะพักผ่อนมันดีกว่าครับ!
#Healthstory - เรื่องสุขภาพ ง่ายนิดเดียว
|
“ความดัน” กับ “หัวใจ” เกี่ยวกันอย่างไร มาดูกัน...
ถ้าให้เปรียบเทียบร่างกายของมนุษย์แล้ว มันก็ไม่ต่างอะไรกับเมืองใหญ่ๆเมืองหนึ่ง ที่เซลล์อวัยวะต่างๆก็เปรียบเสมือนตึกอาคารบ้านเรือน โดยที่พวกมันต่างต้องการไฟฟ้าและน้ำประปาที่ส่งมาทางสายไฟและท่อน้ำเพื่อเป็นพลังงานในการดำรงชีวิต
แต่สำหรับเซลล์ของพวกเรานั้น มันต้องการพลังงานจากอาหารและออกซิเจนที่อยู่ใน”เลือด”ที่ลำเลียงมาตาม”เส้นเลือด”
หัวใจนั้นทำหน้าเป็นเหมือนโรงงานไฟฟ้าและโรงงานผลิตน้ำประปาขนาดใหญ่ โดยหัวใจต้องสูบฉีดเลือดทั้งหมดไปให้ครอบคลุมทุกๆเซลล์ทั่วทั้งร่างกาย ดังนั้นหัวใจและเส้นเลือดจึงถือเป็นระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญที่สุดในร่างกายของมนุษย์ ถ้าระบบนี้พังลงไป เซลล์ต่างๆ อวัยวะต่างๆ ก็จะดับตามไปด้วย และคุณรู้หรือไม่ว่า...
“สาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประชากรทั่วโลกนั้น เกิดจากความผิดปกติของระบบสาธารณูปโภคนี้ล่ะ”
โดยความผิดปกติที่สามารถเกิดขึ้นกับหัวใจและเส้นเลือดจริงๆมีสาเหตุอยู่มากมาย แต่สาเหตุที่สำคัญนั้นมีอยู่เพียงไม่กี่อย่าง และ”ความดันโลหิตสูง”ก็คือหนึ่งในนั้น!
ถ้าถามว่า”อวัยวะใดในร่างกายเราที่ทำงานหนักที่สุด?”
หมอก็คงต้องตอบว่าไม่มีอวัยวะใดๆเลยที่ทำงานหนักได้ใกล้เคียงกับหัวใจ!
คุณลองจินตนาการดูนะครับ... หัวใจของคุณนั้นต้องบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดไปทั่วทั้งร่างกายถึง 60-100 ครั้ง ภายใน 1 นาที และไม่มีวินาทีใดๆเลยในชีวิตของพวกเราที่หัวใจนั้นหยุดทำงาน! ลองนึกภาพเวลาคุณวิ่งมาราธอนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวันดูสิครับ คุณอาจหมดแรงจนขาดใจตายได้เลย...
ซึ่งหัวใจของพวกเรามันก็ทำงานหนักแบบนั้นล่ะครับ แต่สิ่งที่หมออยากบอกก็คือ ถ้าคุณมี”ความดันสูง”ด้วย มันจะยิ่งทำให้หัวใจของคุณต้องทำงานหนักมากขึ้นอีกหลายเท่าเลย!
ลองนึกภาพง่ายๆนะครับ เวลาคุณต้องปั๊มยางรถที่มีลมแน่นอยู่แล้ว คุณคงต้องออกแรงปั๊มอย่างมหาศาลใช่ไหม และเมื่อคุณออกแรงปั๊มต่อไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องไปหลายๆวัน กล้ามเนื้อของคุณก็จะขยายตัวและใหญ่ขึ้นเหมือนเล่นเวทเทรนนิ่ง
และเช่นเดียวกัน นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับหัวใจในเวลาที่ความดันในเส้นเลือดสูงมากขึ้น มันทำให้หัวใจต้องออกแรงปั๊มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่มีวันหยุด จนกล้ามเนื้อหัวใจของคุณเริ่มพองโตมากขึ้นเรื่อยๆ
เอาล่ะ แต่หลายๆคนอาจรู้สึกว่ากล้ามเน้ือหัวใจมันโตขึ้น ก็น่าจะเเข็งแรงขึ้น สูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นใช่ไหมล่ะ?
แต่ในความจริงแล้วกลับไม่เป็นเช่นนั้น!
แม้กล้ามเนื้อที่พองโตขึ้นในช่วงแรกจะสามารถทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีมากขึ้น แต่ในระยะยาวแล้วกลับให้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง!
แล้วทำไมกล้ามเนื้อหัวใจถึงไม่สามารถแข็งแรงมากขึ้นเหมือนกล้ามเนื้อทั่วไปล่ะ?
เวลาที่คุณเล่นเวทเทรนนิ่ง กล้ามเนื้อของคุณจะสามารถพองโตขึ้นได้ก็ต่อเมื่อระบบเส้นเลือดนำอาหารมาเลี้ยงอย่างเพียงพอ ซึ่งโดยธรรมชาติเเล้วกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวร่างกายของพวกเรานั้นมีระบบหลอดเลือดมาเลี้ยงมากมายทั่วทุกทิศทาง
แต่สำหรับกล้ามเนื้อหัวใจ พวกมันกลับไม่ได้มีระบบหลอดเลือดที่ดีเช่นนั้น...
การที่กล้ามเนื้อหัวใจโตมากขึ้น แม้ระยะแรกจะไม่มีปัญหาใดๆ แต่ถ้ามันโตมากขึ้นไปเรื่อยๆแบบนี้ สุดท้ายมันจะกลายเป็นสิ่งที่พวกเราเรียกกันว่า ”โรคหัวใจโต”
เพราะเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจโตมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงจุดหนึ่ง มันก็จะเลยขอบเขตที่เส้นเลือดสามารถไปถึงได้ ทำให้กล้ามเนื้อที่โตต่อไปเรื่อยๆต่อจากนี้จะ”ไม่มี”เลือดไปเลี้ยงอีกต่อไป
นี่คือข้อจำกัดสำคัญของกล้ามเนื้อหัวใจ และสุดท้ายกล้ามเนื้อหัวใจที่พองโตเหล่านี้ก็อาจจะต้องตายทั้งหมด โดยนี่ก็คือสิ่งที่พวกเราเรียกว่า ”โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด”นั่นเอง
และนอกจากนี้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจก็มักตีบแคบลงจากโรคความดันโลหิตสูงด้วยเช่นกัน ยิ่งทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดง่ายขึ้นไปอีก!
และเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจตายไปแล้ว แต่มันก็ยังไม่จบอยู่เพียงเท่านี้...
กล้ามเนื้อที่ตายไปเหล่านี้สุดท้ายก็จะกลายเป็น”พังผืดหรือแผลเป็น”ที่อยู่รอบๆหัวใจ ซึ่งมันจะไปทำให้หัวใจแข็งตัวขึ้นและมีความยืดหยุ่นน้อยลง เมื่อมีพังผืดมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายก็จะทำให้หัวใจบีบตัวและคลายตัวได้น้อยลง
อย่างที่บอกไปครับว่าหัวใจนั้นคือระบบสาธารณูปโภคในร่างกายของพวกเรา ดังนั้นเมื่อมันสูบฉีดเลือดออกไปได้ไม่เหมือนเดิมอีกแล้วล่ะก็ คุณก็จะได้รู้ว่าการใช้ชีวิตโดยมีเลือดมาเลี้ยงร่างกายเพียงน้อยนิดนั้น มันจะเหนื่อยขนาดไหน!
ต่อไปจากนี้ เพียงแค่การเดินก็อาจเหนื่อยไม่ต่างจากการวิ่ง หือเพียงแค่การนั่งเฉยๆก็อาจเหนื่อยไม่ต่างจากการทำงาน และนี่ก็คือสิ่งที่เรียกว่า ”โรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง” นั่นเอง
แม้หัวใจมีกล้ามเนื้อมากขึ้น แต่ถ้ากล้ามเนื้อเหล่านั้นไม่ได้รับการเลี้ยงดู สุดท้ายพวกมันก็จะตายและกลายเป็นพังผืดที่คอยขัดขวางการเต้นของหัวใจแทน...
สุดท้ายหมอขอทิ้งท้ายไว้ว่า หัวใจของพวกเรานั้น เดิมทีมันก็เป็นอวัยวะที่ทำงานหนักมากๆอยู่แล้ว ทำไมพวกเราจะต้องไปเพิ่มภาระมันให้มากขึ้นอีกใช่ไหมล่ะครับ ซึ่งแทนที่จะทำอย่างนั้น พวกเรามาหาวิธีที่จะพักผ่อนมันดีกว่าครับ!
#Healthstory - เรื่องสุขภาพ ง่ายนิดเดียว
อย่าลืมกดLike&Shareด้วยนะครับ^^