ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อหายแล้ว ไม่ได้มีภูมิต้านทานทุกคน

“ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อหายแล้ว ไม่ได้มีภูมิต้านทานทุกคน”
 
ในประเทศที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19อย่างหนัก เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา อิตาลี หรือบราซิล จะเห็นได้ว่าหลังจากที่มีการติดเชื้อผ่านไปซักระยะหนึ่ง กราฟตัวเลขการติดเชื้อ จะเริ่มมีแนวโน้มที่ลดลงเรื่อยๆ......
 
นักวิจัยส่วนหนึ่งเชื่อว่า เพราะประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเริ่มมีภูมิคุ้มกันกันแล้ว (Herd immunity)
ในกรณีการติดเชื้อไวรัส ร่างกายจะเริ่มจดจำแอนติเจนของเชื้อ และเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันหรือที่เรียกว่าแอนติบอร์ดี้ เพื่อเป็นภูมิต้านทานป้องกันการติดเชื้อในอนาคต
 
ไวรัส SARS -CoV2 ที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19 นั้น เป็นไวรัสลำดับที่ 7 ในกลุ่มไวรัสโคโรนา
 
ไวรัสโคโรนาในลำดับที่ 1-4 ทำให้เกิดโรคหวัดธรรมดา อาการไม่รุนแรง ไม่ค่อยเสียชีวิต จึงพบว่าภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังจากหายป่วยแล้วมีระดับที่ไม่สูงมากนัก และอยู่ไม่นาน สุดท้ายภูมิต้านทานนี้ก็จะหายไปหรือลดลงอย่างมาก ทำให้ผู้ป่วยที่หายแล้วอาจกลับมาติดเชื้อไวรัสซ้ำอีกได้
 
ขณะที่เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรค SARS (ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 5) หรือโรค MERS (ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 6) จะมีอาการรุนแรงมากกว่า และเกิดการติดเชื้อที่ปอดด้วย จึงมีภูมิต้านทานในผู้ป่วยที่หายแล้วในระดับที่สูง และอยู่ในร่างกายได้นานหลายปี สามารถป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้
นั่นหมายความว่าไวรัสกลุ่มโคโรนานี้ ถ้าเป็นชนิดที่ก่อให้เกิดอาการมากหรือมีอาการรุนแรง ก็จะมีระดับภูมิต้านทานที่สูงอยู่ได้นาน ป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้
 
แต่ถ้าเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคที่มีอาการน้อย ก็จะพบว่ามีระดับภูมิต้านทานต่ำและอยู่ไม่นาน มีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำได้
 
แล้วเจ้าเชื้อไวรัสโควิด19 (โคโรนาลำดับที่ 7) จะเป็นอย่างไรล่ะ ??
 
จากการศึกษาวิจัยเบื้องต้นของ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ พบข้อมูลเบื้องต้นดังนี้
 
จากการติดตามผู้ป่วยโควิด19 ที่รักษาจนหายป่วยแล้ว มีจำนวนประมาณ 300 คน เมื่อทำการคัดเลือกผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ต่างๆแล้ว จะมีผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์บริจาคพลาสมาได้ ประมาณ 70-80 คน ซึ่งได้ทำการบริจาคพลาสมาทุก 2 สัปดาห์ ได้จำนวน
พลาสม่าประมาณ 200 ถุง
 
ในพลาสม่าดังกล่าว พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
1) ส่วนหนึ่งพบระดับภูมิต้านทานสูง โดยพบในผู้บริจาคที่มีอาการป่วยรุนแรง มีอาการอักเสบของปอดร่วมด้วย (เชื่อว่ามีภูมิต้านทานในการรักษาโรคได้ด้วย)
2) อีกส่วนหนึ่งพบระดับภูมิต้านทานที่น้อยลงมา ในผู้บริจาคที่มีอาการป่วยเล็กน้อยถึงปานกลาง
3) อีกส่วนไม่พบภูมิต้านทานเลย ในผู้บริจาคที่มีอาการเล็กน้อย ในกลุ่มนี้มีจำนวนประมาณร้อยละ 10
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาดูระดับภูมิต้านทานในผู้ป่วยกลุ่มอาการต่างๆหลังจากติดเชื้อโควิด19 แสดงว่า แม้จะหายจากการติดเชื้อโควิด ผู้ป่วย 10%ก็ไม่ได้ภูมิต้านทานเลย
 
ซ้ำร้ายส่วนใหญ่ยังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีกด้วย
 
พอมาดูข้อมูลจากต่างประเทศ ในเมืองอู่ฮั่น
มีรายงานการศึกษาตัวอย่างเลือดกว่า 23,000 ตัวอย่างที่เก็บจากบุคลากรที่ทำงานในโรงพยาบาลเมืองอู่ฮั่น ซึ่งคาดว่า มีผู้ติดเชื้ออยู่ประมาณ 25%
 
จากจำนวนตัวอย่างเหล่านี้ตรวจพบว่ามีภูมิต้านทานเพียง 4%
นั่นหมายความว่า ภูมิคุ้มกันหมู่ มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก และต่อให้ภูมิคุ้มกันก็ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อซ้ำแต่อย่างใด
 
 
ที่มา : เรื่องเล่าเมาท์ไปเรื่อย https://www.blockdit.com/articles/5f1d6e9895f2dc0cb8b04977/#
Visitors: 1,403,293