CPTPP คืออะไร ทำไมเราต้องสนใจเรื่องนี้

CPTPP คืออะไร ทำไมเราต้องสนใจเรื่องนี้

CPTPP หรือ 'ข้อตกลงความเข้าใจและความคืบหน้าเพื่อหุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก' กำลังอยู่ในความสนใจของสังคม หลังจากที่หลายภาคส่วนได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงกระแสข่าวรัฐบาลเตรียมอนุมัติลงนามใน ข้อตกลงดังกล่าว

โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า 'หากรัฐบาลไทยลงนามในข้อตกลง CPTPP แล้ว จะนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายด้านการเกษตร ทำให้เกษตรกรทั่วประเทศไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์พืชไว้เพาะปลูกได้ และจะต้องซื้อผ่านบริษัทด้านอุตสาหกรรมเกษตรเท่านั้น'

ซึ่งถือเป็นการซ้ำเติมเกษตรกรในภาวะเศรษฐกิจ และราคาพืชผลที่ตกต่ำ ส่งผลดีต่อกลุ่มทุนยิ่งได้กำไร อีกทั้งจะยิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยให้มากขึ้นไปอีก

'CPTPP' คืออะไร ?

สิ่งที่ยิ่งกลายเป็นความกังวลมากขึ้นไปอีกก็คือ รายละเอียดใน รัฐธรรมนูญ 2560 ระบุว่า หากรัฐบาลลงนามในสนธิสัญญาใดๆ กับต่างประเทศ ที่มีผลต่อด้านเศรษฐกิจ สังคม การค้า การลงทุน อย่างกว้างขวาง ให้รัฐสภาพิจารณาภายใน 60 วัน

แต่ถ้าพิจารณาไม่ทัน ให้ถือว่ารัฐสภาเห็นชอบ ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่บังคับให้รัฐบาลต้องเปิดเผยรายละเอียดให้ประชาชนทราบอีกด้วย เพียงแต่ให้มีการแสดงความเห็นและได้รับการเยียวยาที่จำเป็นเท่านั้น

 

CPTPP คืออะไร

SCB Economic Intelligence Center ให้รายละเอียดไว้ว่า CPTPP มีชื่อเต็มว่า Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership หรือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก

โดยเป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุนเพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ

ความตกลงนี้ริเริ่มกันมาตั้งแต่ปี 2006 มีชื่อเดิมว่า TPP (Trans-Pacific Partnership) และมีสมาชิกทั้งหมด 12 ประเทศ แต่หลังจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่ในตอนนั้นถอนตัวออกไปเมื่อต้นปี 2017 ประเทศสมาชิกที่เหลือก็ตัดสินใจเดินหน้าความตกลงต่อโดยใช้ชื่อใหม่ว่า CPTPP ปัจจุบัน สมาชิก CPTPP มีทั้งหมด 11 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม

ข้อแตกต่างระหว่าง CPTPP กับ TPP นั้นอยู่ตรงที่ขนาดของเศรษฐกิจ และการค้าที่เล็กลง แต่มีกฎเกณฑ์ที่ผ่อนคลายมากขึ้น มีรายงานจากธนาคารโลกระบุว่า ขนาดเศรษฐกิจรวมของ CPTPP หลังไม่มีสหรัฐฯ ลดฮวบจาก 38% ของเศรษฐกิจโลก เป็น 13% ส่วนขนาดการค้ารวมลดลงจาก 27% เป็น 15%

 

ประเทศไทยได้อะไร - เสียอะไร จากการเข้าร่วม CPTPP ?

จากการที่ประเทศไทยพึงพิงการส่งออก-นำเข้าเป็นหนึ่งในเสาหลักเศรษฐกิจโดยมีมูลค่าสูงถึง 123% ของ GDP ทำให้ปัจจัยเกื้อหนุนของไทยจาก CPTPP นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 เรื่องดังนี้

 

การส่งออก

CPTPP จะเพิ่มโอกาสการส่งออกของไทยไปยังประเทศสมาชิก CPTPP โดยเฉพาะตลาดแคนาดา และเม็กซิโกที่ไทยมีสัดส่วนการส่งออกอยู่ราว 2 % เป็นสินค้าจะพวก อาหารทะเลแปรรูป ข้าว ผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์และส่วนประกอบ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้สินค้ากลุ่มนี้มีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้น

 

การลงทุนจากต่างประเทศ

ที่จะการเข้าร่วม CPTPP จะช่วยดึงดูดการลงทุนที่ต้องการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิก CPTPP

 

ความสามารถทางการแข่งขัน

CPTPP จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย จากการปรับปรุงกฎระเบียบภายในประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ CPTPP ที่ได้ชื่อว่าเป็นความตกลงทางการค้าคุณภาพสูง ตัวอย่างกฎเกณฑ์ที่ CPTPP สนับสนุน ได้แก่ กฎหมายสิทธิแรงงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสนับสนุนการแข่งขันอย่างเท่าเทียมระหว่างธุรกิจชาวท้องถิ่น และชาวต่างชาติ เป็นต้น ซึ่งการปฏิรูปกฎหมายเหล่านี้จะเป็นผลบวกกับไทยในระยะยาว

 

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/877992?amx

Visitors: 1,405,369