หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ครั้งหนึ่งในชีวิต ท่านเคยมีอาการปวดหลังบ้างหรือไม่ หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยมากในผู้ที่มีอาการปวดหลัง หมอนรองกระดูก เป็นตัวที่คั่นอยู่ระหว่างกระดูกสันหลัง ช่วยในการลดการเสียดสีและการกระแทกของกระดูก มีลักษณะคล้ายเจล มีส่วนช่วยในการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง ถ้ามีแรงกระทำมากๆต่อกระดูกสันหลังจะทำให้เกิดการเคลื่อนออกมาได้ เช่น การก้มยกของหนัก การจามหรือไอเเรง เนื่องจากมีการเพิ่มความดันในช่องท้องอย่างมากในขณะจามหรือไอจึงทำให้เกิดการเคลื่อนออกมาได้ เมื่อเกิดการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลังจะทำให้เกิด 1. การกดทับของเส้นประสาทโดยตรง เมื่อเส้นประสาทโดนกดจะทำให้มีอาการ ปวด ชาร้าวลงขา อ่อนแรงของขา เดินลำบาก 2. การอักเสบในบริเวณที่เกิดการกดทับ เนื่องจากเมื่อมีการกดทับเส้นประสาทจะทำให้เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทนั้น ร่วมกับตัวของหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนออกมาเองมีสารเคมีที่ระคายเคืองกับเส้นประสาทโดยตรงจึงทำให้เกิดอาการปวด ดังนั้นเมื่อเกิดการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ท่านอาจจะมีแค่อาการปวดหลังธรรมดา หรือปวดร้าวลงขา ชา ถ้ามีการกดมากๆๆอาจจะทำให้กลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ ถ่ายไม่ออก และอ่อนแรงของขา ไม่สามารถกระดกเท้าได้ ถ้าท่านมีอาการปวดมาก ปวดรุนแรง เดินกะเผลกจึงควรรับปรึกษาแพทย์กระดูก เพื่อตรวจประเมินอาการ จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมแก่ท่านได้ การดูแลรักษาได้แก่ 1. การวินิจฉัยด้วยการตรวจร่างกาย ถ่ายภาพเอกซเรย์เพื่อประเมินสภาพกระดูกสันหลัง ถ้าอาการมากอาจจำเป็นต้องส่งตรวจ MRI เพื่อประเมินว่ามีการกดทับเส้นประสาทมากน้อเพียงใด ก้อนหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนออกมามีขนาดใหญ่เพียงใด 2. การรักษาอาการหมอนรองกระดูกสันหลังได้แก่ ○ การนอนพัก ○ การทานยาลดการอักเสบ ยาแก้ปวด ยาแก้ปวดปลายประสาท ○ การฉีดยาลดการอักเสบเข้าไปในโพรงประสาท เพื่อลดการอักเสบ การบวมของเส้นประสาทและเนื้อเยื่ออ่อนภายในโพรงประสาท ○ การปรับพฤติกรรม ○ การลดน้ำหนัก การรักษาด้วยการผ่าตัด จะทำเมื่อ 1. หมอนรองกระดูกสันหลังมีขนาดใหญ่มาก 2. อาการไม่ทุเลาลงหลังจากทำการรักษาข้างต้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง 3. ไม่สามารถกลั้นอุจจาระและปัสสาวะได้ แนวทางการผ่าตัด ปัจจุบันใช้วิธีการส่องกล้องแผลประมาณ 0.8 เซนติเมตร เพื่อเอาหมอนรองกระดูกส่วนที่กดออก Cr : หมอเก่งไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ |