นักวิทย์อู่ฮั่นคนดัง เตือนระวังโรคระบาดใหม่จากวิวัฒนาการไวรัสในค้างคาว

นักวิทย์อู่ฮั่นคนดัง เตือนระวังโรคระบาดใหม่จากวิวัฒนาการไวรัสในค้างคาว

เมื่อ 26 พฤษภาคม เว็บไซต์มิร์เรอร์รายงานอ้างข่าวจากสื่อท้องถิ่นในจีน เผย ดร.สือ เจิ้งลี่ Shi (Zhengli) นักไวรัสวิทยาหญิงชื่อดังประจำสถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น ในนครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยของจีน ซึ่งมุ่งเน้นศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา นับตั้งแต่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาที่ก่อให้เกิดโรค SARS และเชื้อไวรัสนี้มีค้างคาวเป็นพาหะ กล่าวเตือนถึงการระบาดของเชื้อไวรัสอย่างเชื้อ SARS ซึ่งมาจากค้างคาว และเชื้อไวรัสโคโรนา ว่า กำลังมีวิวัฒนาการที่เกี่ยวข้องกันใน 'การแข่งขันอาวุธวิวัฒนาการ' จนนำไปสู่การเกิดโรคระบาดใหม่

ดร.สือ เจิ้งลี่ ซึ่งได้รับการยกย่องในฐานะเป็นนักไวรัสวิทยาที่สามารถถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 กล่าวว่า จากการศึกษาพบว่าเชื้อไวรัสโคโรนาที่มีหลายสายพันธุ์และค้างคาว อาจมีวิวัฒนาร่วมกัน และมีการคัดเลือกประสบการณ์กดดันจากกันและกัน โดย ดร.สือ เจิ้งลี่ วัย 55 ปี ยังกล่าวว่า ภัยคุกคามใหม่ต่อมวลมนุษยชาติคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่บินได้อย่างค้างคาว และเชื้อไวรัสที่มีการวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

ดร.สือ เจิ้งลี่ ซึ่งได้รับการยกย่องในฐานะเป็นนักไวรัสวิทยาที่สามารถถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 กล่าวว่า จากการศึกษาพบว่าเชื้อไวรัสโคโรนาที่มีหลายสายพันธุ์และค้างคาว อาจมีวิวัฒนาร่วมกัน และมีการคัดเลือกประสบการณ์กดดันจากกันและกัน โดย ดร.สือ เจิ้งลี่ วัย 55 ปี ยังกล่าวว่า ภัยคุกคามใหม่ต่อมวลมนุษยชาติคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่บินได้อย่างค้างคาว และเชื้อไวรัสที่มีการวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

มิร์เรอร์ระบุว่า ดร.สือ ซึ่งได้รับการขนานนามจากเพื่อนร่วมงานว่า 'Bat Woman' หรือสตรีค้างคาว เนื่องจากได้ทำงานศึกษาวิจัยตามล่าเชื้อไวรัสในถ้ำที่มีค้างคาวมายาวนานต่อเนื่องในช่วง 16 ปีที่ผ่านมา พร้อมกับเพื่อนทีมงานได้ตีพิมพ์ผลงานการศึกษาใหม่นี้ลงในแพลตฟอร์ม bioRxiv ในชื่อเรื่องว่า 'evolutionary arms race between virus and host drives genetic diversity in bat SARS related coronavirus spike genes' โดยยังระบุว่า ค้างคาวมงกุฎ (horseshoe bat) เป็นสัตว์พาหะของไวรัสโคโรนาจำนวนมากซึ่งมีหลากหลายทางพันธุกรรมสูง โดยเฉพาะโปรตีนหนาม หรือสไปค์รอบเซลล์

จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า โปรตีนหนามของเชื้อไวรัสโควิด-19 และเอ็นไซม์ ACE2 ในค้างคาวอาจมีวิวัฒนาการมาด้วยกัน และมีประสบการณ์ในการกดดันการคัดเลือกจากกันและกัน

สถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น ในนครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยของจีน

ตามรายงานของสื่อท้องถิ่น ดร.สือ ซึ่งตกเป็นเป้าหมายในการพิสูจน์หาความจริงเกี่ยวกับทฤษฎีเชื้อไวรัสโควิดหลุดออกมาจากห้องแล็บในสถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น ยังกล่าวด้วยว่า การศึกษาใหม่ที่ถูกตีพิมพ์นี้จะเป็นการพิสูจน์เพิ่มเติมให้เห็นว่า ค้างคาวมงกุฎคือสัตว์ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลก

 
Visitors: 1,427,740