หน้ากากอนามัย ความต่างในบริบททางวัฒนธรรมระหว่างเอเชีย - ตะวันตก

หน้ากากอนามัย ความต่างในบริบททางวัฒนธรรมระหว่างเอเชีย - ตะวันตก

ในสถานการณ์แพร่ระบาดของCovid-19 เรามักพบเห็นการสวมใส่ หน้ากากอนามัยจนชินตา แต่สำหรับชาวตะวันตกมีมุมมองที่ต่างกัน

 

ในประเด็นแรก

1. ความต่างทางความคิด สำหรับชาวเอเชียแล้ว การสวมหน้ากากเป็นหน้าที่รับผิดชอบในการปกป้องตนเองและป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น แต่สำหรับชาวยุโรปมันเป็นสัญลักษณ์ของโรค 

มีเคสนักเรียนชาวจีนที่มหาวิทยาลัย Sheffield ในสหราชอาณาจักร ถูกคุกคามทั้งทางวาจาและทางร่างกายในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา หลังจากที่เขาสวมหน้ากาก

มีเคสผู้หญิงชาวจีนถูกทำร้าย ที่ สหรัฐอเมริกาในเดือนกุมภาพันธ์ เหตุผลคือ เธอสวมหน้ากาก

 

2. ความทรงจำที่เลวร้ายจากโรคระบาด

ย้อนกลับไปเมื่อ 17 ปีที่แล้ว หลายประเทศในแถบเอเชียยังไม่ลืม "โรคซาร์ส" ความทรงจำนี้ยังคงอยู่และการเริ่มใส่หน้ากากจากวันนั้นกลายเป็นนิสัยของชาวเอเชียและพัฒนาจนกลายเป็นวัฒนธรรม

ชาวเอเชีย มีวิธีคิดว่า

หน้ากากอนมัยเป็นความรับผิดชอบในการลดการแพร่กระจายของ Covid-19 ซึ่ง ทุกวันนี้มีผู้ติดเชื้อไปแล้วมากกว่า 150,000 รายในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก

ภาคธุรกิจบางแห่งในเอเชีย จะไม่อนุญาตให้ลูกค้าเข้าร้าน

"หากคุณไม่สวมหน้ากาก"

เจ้าหน้าที่ในเมืองใหญ่ ๆ อย่างปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ได้วางข้อกำหนดให้ประชาชน

"สวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ"

 
 

3. หน้ากากอนามัยคือความอับอาย?

ในหลายประเทศทางตะวันตก หน้ากากอนามัยถูกสื่อความหมายว่า เป็นการแบ่งแยกเชื้อชาติและเป็นการระบุว่าเป็น"ชาวเอเชีย"

Maria Sin Shun-ying จากมหาวิทยาลัยฮ่องกงเคยเขียนไว้ในปี 2014 เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรคซาร์สและหน้ากากว่า

"หน้ากากอนามัยกลายเป็นตัวบ่งชี้ว่า "เป็นสถานะของผู้ป่วย" และเป็นที่เข้าใจ

ในสื่อตะวันตกว่า เป็นปรากฏการณ์ที่ระบุความเป็น "เอเชีย"อย่างชัดเจน ตะวันตกมองว่า..

"เมื่อคุณสวมหน้ากาก หมายถึง คุณแสดงความเป็นชาวเอเชีย และนั่นจะเป็นการพิจารณาว่าคุณอยู่นอกเหนือจากมาตรฐานการยอมรับ"

- แฮร์ริส อาลี นักสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยยอร์ค (แคนาดา)

 

ถ้ายังจำช่วงก่อนการระบาดใหญ่ในยุโรปทางองค์การอนามัยโลก แนะนำว่า "คนที่มีสุขภาพไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากาก" ที่อเมริกา ในต้นเดือนมีนาคม โฆษกกระทรวงสาธารณสุขเรียกร้องให้  "ชาวอเมริกันหยุดซื้อหน้ากาก" เนื่องจากอุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับใช้กับพนักงานสาธารณสุขในภาวะขาดแคลน รวมถึงเหมาะกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ ในวันนั้น ทัศนคติที่เกี่ยวกับหน้ากากอนามัย คือ

"หน้ากากอนามัยหรือ Facemask ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสโคโรนา แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพไม่มี พวกเขาจะทำให้ตัวเขาเอง

และชุมชนมีความเสี่ยง" จะว่าไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพฝั่งตะวันตกเองหลายคน ยังคงมีทัศนคติที่หลากหลายเกี่ยวกับประสิทธิภาพของหน้ากากในการป้องกันการแพร่กระจายของ โควิด-19

ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งมักให้ความสำคัญกับ คำแนะนำเรื่องการล้างมือว่ามีความสำคัญมากกว่า

 
 

4. ความเชื่อตามแนวคิดของลัทธิเต๋า

ลัทธิเต๋าให้ความสำคัญเรื่องลมหายใจ การสวมใส่หน้ากากอนามัยจึงสอดคล้องกับ การป้องกันการสัมผัสลมพิษ ที่เป็นสาเหตุให้ร่างกายอ่อนแอ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ "บริบททางวัฒนธรรมซึ่งจะมีบทบาทสำคัญว่าผู้คนยินดีสวมใส่หรือไม่?

 

เอเชียกับหน้ากาก คือเรื่องปกติ

ในเอเชีย สิ่งที่คุณเจอไม่ใช่เพียงการแพร่กระจายของไวรัส แต่มีปัญหามลพิษทางอากาศ เช่น มลพิษ PM 2.5 ที่เจอกันอยู่บ่อยๆ มลพิษบนท้องถนน เช่น ประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ สดๆร้อนๆวันนี้ 15 มีนาคม ก็เรื่องค่า PM 2.5 ที่เชียงใหม่ที่พุ่งสูงติดอันดับหนึ่งของโลกอีกครั้ง และแม้กระทั่ง การรับมือกับสภาพอากาศหนาวเย็น ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมการสวมหน้ากากมาเป็นร้อยปี ซึ่งต้องย้อนกลับไปในปี 2461 เมื่อครั้งที่ไข้หวัดใหญ่สเปนแพร่ระบาด

หรือแม้กระทั่งหน้าร้อน ยกตัวอย่าง ประเทศไทย หลายคนสวมใส่เพื่อป้องกันแสงแดดสัมผัสใบหน้า

การสวมใส่ในยุคแรกของญี่ปุ่น เกิดจากความเชื่อในการใส่หน้ากากเพื่อขับไล่วิญญาณของโรค ได้พัฒนาการเป็นรูปแบบแห่งการปกป้องกันตัวเองและการรับผิดชอบร่วมกันเพื่อปกป้องสังคม

 

นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ยังสวมหน้ากากเพื่อ

- ปกปิดข้อบกพร่องของใบหน้า

- รักษาความอบอุ่นในฤดูหนาว

- ลดความประหม่า

 

คนญี่ปุ่นสวมใส่เป็นวิธีธรรมชาติเพื่อความปลอดภัย แต่ในตะวันตก เสรีภาพและความมั่นใจในการแสดงใบหน้า จึงทำให้คนมีความคิดเชิงลบเกี่ยวกับหน้ากาก วัฒนธรรมการสวมหน้ากาก ได้การเป็นวัฒนธรรมของเอเชียนับตั้งแต่หลังการระบาดของโรคซาร์สเป็นต้นมา หน้ากากป้องกันได้กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น ผ่านคอลเลกชันของนักออกแบบแฟชั่น และวงบอยแบนด์เกาหลีใต้ จนหน้ากากได้กลายเป็นของที่คุ้นเคยกับชาวตะวันตกมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยากล่าวว่า

ในช่วงเวลาแห่งความกลัวเกี่ยวกับการแพร่ระบาด.. อาจทำให้คนเลือกปฏิบัติต่อ "วัฒนธรรมการสวมหน้ากาก" น้อยลงแต่ในบริบทที่กว้างขึ้น มันเป็นการยากที่จะเปลี่ยนการรับรู้นี้ ในวัฒนธรรมของตะวันตก และการรับรู้วัฒนธรรมการสวมหน้ากากนี้ ได้กลายเป็นคำตอบ

สำหรับคำถามว่า..ทำไมการแพร่ระบาดของไวรัสในยุโรปและอเมริกาจึงควบคุมยาก บทความนี้ ได้ตอบคำถามให้แล้ว

 

อ่านเพิ่มเติม

Visitors: 1,377,313