ในยามที่เศรษฐกิจย่ำแย่ แต่ “ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” กลับสวนทาง
ในยามที่เศรษฐกิจย่ำแย่ แต่ “ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” กลับสวนทาง “สิ้นเดือนเดือนเหมือนสิ้นใจ บะหมี่กึ่งไงตอบโจทย์” ในยุคที่ข้าวยากหมากแพง ไมว่าจะจับจ่ายใช้สอยอะไร ตังค์ในกระเป๋าก็ฝืดเฟืองไปหมด แต่ก็ต้องเลี้ยงปากท้องกัน และหนึ่งในที่อาหารที่พอจะประทังในเวลานี้ได้ ก็คือ “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” นี่จึงเป็นที่มาของสินค้าที่สวนกระแสในเวลาที่เศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย หลายปีที่ผ่านมา ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เติบโตยิ่งกว่าสินค้าชนิดอื่นเสียอีก โดยในปี 2559 เติบโตกว่า 15,000 ล้านบาท ในปี 2560 เติบโตกว่า 15,600 ล้านบาท ในปี 2561 เติบโตกว่า 16,000 ล้านบาท ในปี 2562 เติบโตกว่า 17,000 ล้านบาท
ข้อมูลในปีที่ผ่านมา ตลาดของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เติบโตเฉลี่ย 2-3% ต่อปี แต่ถึงแม้จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ก็ไม่สามารถที่จะขยายให้ก้าวกระโดดได้ เนื่องจาก ไลฟสไตล์การบริโภคของผู้คน ที่เปลี่ยนไปในเทรนด์รักสุขภาพ
ข้อมูลปี 2560 มีการวิจัยออกมาว่าคนไทยทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เฉลี่ยถึง 49 ซองต่อคนต่อปี ครองอันดับ 5 ของโลกเลยทีเดียว สำหรับการเลือกทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของผู้บริโภคส่วนใหญ่จะถูกเลือกในช่วงเวลาที่ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายและด้วยความที่บะหมี่กึ่งมีราคาที่ไม่แพง แถมยังช่วยให้อยู่ท้องได้จึงเป็นทางเลือกที่ช่วยได้ในเวลาคับขัน นอกจากนี้แล้ว บะหมี่กึ่งยังเป็นอีกทางเลือกในความสะดวกในการทานผู้บริโภคบางกลุ่มอาจจะทานในเวลาดึกหรือแก้เบื่อไปในบางครั้งคราว หรือในบางครั้ง ก็เกิดคำถามโลกแตกที่ผุดขึ้นมาว่า “จะกินอะไรดี” และสุดท้ายก็จบที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สำหรับแบรนด์บะหมี่เจ้าดั้งเดิม ที่ไม่ว่าใครก็ล้วนแล้วแต่ได้สัมผัสมา ก็คือ 3 แบรนด์เถา
“ไวไว” บ้างแหละ “ยำยำ” บ้างแหละ และคงจะหนีไม่พ้น “มาม่า” แล้วถ้าถามว่าใครขายดีสุด ? ก็คงจะหนีไม่พ้น “มาม่า” เจ้าเก่าเจ้าเดิม โดยข้อมูลในปี 2562 ที่ผ่านมา มาม่าครองสัดส่วนในตลาดไปกว่า 52%
ส่วน “ไวไว” คว้าอันดับ 2 ด้วยสัดส่วนในตลาด 24% ไล่เลี่ยกับ “ยำยำ” ที่ครองสัดส่วน 23% ส่วนที่เหลืออีก 1-2% เป็นของแบรนด์อื่น อย่างไรก็ตาม เมื่อมองภาพรวมในโลก ไทยมีปริมาณการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
ติด Top10 มาตลอดในช่วงที่ผ่านมา อย่างเช่นปี 2558 ติด Top9 ของโลก และปี 2560 ขยับขึ้นมาติด Top5 ของโลก และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีความต้องการในตลาดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปี 2558 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นสินค้าที่มีความต้องการ
ในตลาดไทยถึง 3,070 ล้านซอง ส่วนในปีต่อมา ปี 2559 เพิ่มขึ้นเป็น 3,360 ล้านซอง แม้อัตราการเติบโตจะไม่สูงมากนักแต่ดีมานด์ที่โตเพียงน้อยนิดนี่แหละที่เป็นความท้าทาย ว่าผู้ประกอบการจะหาทางปรับตัวในตลาดอย่างไร ? ในยุคที่เทรนด์สุขภาพมาแรงกว่าบะหมี่ซองทานง่าย ปิดท้ายกันด้วยชนชาติที่ทานบะหมี่เป็นอันดับหนึ่งของโลก นั่นก็คือ “เกาหลีใต้” คนเกาหลีทานบะหมี่เฉลี่ย 76 ซอง ต่อคนต่อปี แถมยังเป็นผู้นำกระแสบะหมี่กึ่งแบบเกาหลีครองเจ้า การเป็นผู้นำแห่งการส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เมื่อคิดเป็นเม็ดเงิน จะมีมูลค่าปีละกว่า 11,000 ล้านบาท
(ไม่ว่าจะทานอะไร อย่าลืมดูแลสุขภาพ และหมั่นออกกำลังกายกันด้วยนะครับ)
|