depression

ความเครียด (Stress)

ความเครียดเป็นเรื่องระยะสั้น เกิดขึ้นได้กับทุกคน ในวัยเรียน มีเด็กนักเรียนถึง 85% ที่ต้องผจญความเครียดนี้ ความเครียดมีผลดีในการกระตุ้นให้คนทำอะไรดีๆเผื่อฝ่าฟันความเครียดนั้น แต่ถ้าไม่รู้จักดีลกับมัน ก็อาจจะส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน

อาการโดยทั่วไปของความเครียดมีดังต่อไปนี้

  • นอนไม่หลับ
  • รู้สึกเกินจะทนไหว
  • มีปัญหาเรื่องความจำ
  • โฟกัสอะไรไม่ค่อยได้ สมาธิสั้น
  • พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป
  • รู้สึกกังวล ประสาทเสีย กระสับกระส่าย
  • โกรธและโมโหง่าย
  • รู้สึกหมดแรง
  • รู้สึกว่าเราผ่านอะไรยากๆในชีวิตไม่ไหวแล้ว
  • ส่งผลต่อการเรียนและการใช้ชีวิต

สังเกตว่าความเครียดจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมแปลกๆ ทั้งนี้เพราะจิตใจกำลังจะสรรหาทางออกและวิธีคลายเครียดนั่นเอง วิธีการบำบัดความเครียดก็คือ ไปดูตลก ไปวิ่ง ไปร้องเกะ ทำจิตใจให้ผ่องใส รักษาสุขภาพ แล้วความเครียดจะหายไปหรืออย่างน้อยก็ดีขึ้นทันที คุณก็ใช้ชีวิตต่อได้

หลายคนเลือกที่จะกินยาแก้เครียดเพื่อให้หลับ เพื่อให้ร่างกายปกติขึ้น ต้องขอเตือนว่า "อย่า" นะครับ เพราะผลข้างเคียงมันเยอะและยาแก้เครียดที่กินแล้วดีขึ้นทันที จะทำให้คุณติดได้ ระยะยาวคุณจะกลายเป็นคนหวาดระแวงและขาดยาไม่ได้ไปในที่สุด a.k.a. ติดยา

 

ซึมเศร้า (Depression)

ซึมเศร้าเป็นเรื่องระยะยาว ไม่ใช่ทุกคนจะเผชิญมัน กล่าวว่าในเมกา มีนักเรียนที่เผชิญอาการซึมเศร้าอยู่ 28% หรือถ้าในผู้ใหญ่ก็จะมีอยู่ราวๆ 10% ของประชากร ซึ่งน้อยกว่าความเครียดมาก แต่ด้วยตัวเลขก็ถือว่าเยอะ

โรคซึมเศร้าเป็น "โรค" ที่ต้องได้รับการรักษา มีสาเหตุเกิดจากหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญกับเรื่องเลวร้ายที่สุดในชีวิต เช่นพ่อแม่ที่รักมาก เกิดเสียชีวิตกระทันหัน ทำใจไม่ได้ เกิดเป็นโรคซึมเศร้าในที่สุด หรือบางคนเป็นเรื่องระยะยาว ตอนเด็กมีปมอะไรในใจ ทำให้โตมาแล้วซึมเศร้าตลอดเวลา ทั้งหมดทั้งมวล ทำให้สารเคมีในสมองผิดปกติ เกิดเป็นความเศร้าครอบคลุมจิตใจตลอดเวลา

อาการของโรคซึมเศร้ามีดังนี้

  • เก็บตัว แยกตัวออกจากสังคม
  • รู้สึกเศร้าและสิ้นหวัง
  • หมดพลัง ไร้แรงบันดาลใจจะทำอะไร
  • ทำสิ่งที่ชอบทำมาตลอดไม่ได้
  • ชอบตัดสินใจอะไรแย่ๆ
  • นอนไม่พอ เหนื่อยตลอดเวลา ไม่ค่อยมีแรง
  • กินมากหรือน้อยกว่าปกติ
  • นอนมากหรือน้อยกว่าปกติ
  • โฟกัสกับอะไรไม่ได้
  • มีปัญหากับความทรงจำ
  • รู้สึกแย่กับตัวเอง รู้สึกผิดตลอดเวลา รู้สึกทำให้ตนเองและครอบครัวผิดหวัง
  • ไม่เห็นค่าของตัวเอง
  • ก้าวร้าว
  • รู้สึกว่าไม่สามารถผ่านเรื่องราวอะไรยากๆในชีวิตได้ ยอมแพ้กับชีวิต
  • มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต
  • มีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • อยากฆ่าตัวตาย

สิ่งที่อันตรายที่สุดในโรคซึมเศร้าคืออาการอยากฆ่าตัวตายนี่แหละ ว่ากันว่าในปี 2020 จะมีคนตายจากโรคซึมเศร้ามากเป็นอันดับสองรองจากโรคหัวใจ

แบบประเมินว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่าจะทำเป็นขั้นตอนคือเริ่มด้วย 2Q ซึ่งเป็นการประเมินแบบหยาบ

หากตอบว่า "ไม่" ทั้งสองข้อ คุณไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า

แต่ถ้าตอบใช่ "ใช่" ข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งสองข้อ คุณมีความเสี่ยง ให้ทำใบประเมินความรุนแรงของโรคซึมเศร้า 9Q ต่อ

ช่วงคะแนน ถ้าได้น้อยกว่า 7 ถือว่าปกติดี

ถ้าได้ 7-12 คะแนน ถือว่าเป็นโรคซึมเศร้าระดับน้อย ชิวๆ สบายๆ ให้ไปรับการปรึกษาเบาๆ แล้วกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติ

ถ้าได้ 13-18 คะแนนถือว่าเป็นระดับปานกลาง แต่ถ้าได้ 19 คะแนนขึ้นไป ถือว่ารุนแรง ดังนั้นผู้ที่ได้ 13 คะแนนขึ้นไป ต้องส่งพบจิตแพทย์เพื่อรับการบำบัดโดยด่วน

แต่อย่าเพิ่งรีบไปบำบัด ยังมีอีกฟอร์มให้ประเมิน สำหรับผู้ที่ได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไป ให้ไปทำแบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8Q ต่อ

หากได้ 1-8 คะแนนแปลว่าแนวโน้มต่ำ 9-16 แนวโน้มปานกลาง สองกลุ่มนี้ให้ไปรับการปรึกษา รับยา แล้วก็กลับบ้านไปต่อสู้กับมัน

ส่วนถ้าได้ตั้งแต่ 17 คะแนนเป็นต้นไป ถือว่ามีแนวโน้มรุนแรงมาก ชนิดกลับบ้านไปอาจจะฆ่าตัวตายทันทีคืนนั้นเลย ควรจะได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด บางเคสหมอจะจับ Admit เลย

 

 

การรักษาโรคซึมเศร้า

อย่างที่บอกว่าโรคซึมเศร้ามันเป็น "โรค" มีการศึกษามานานแล้วว่าสาเหตุหนึ่งเกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล (อันจะเกิดจากอะไรก็ตามแต่)

มียาต้านเศร้าถูกพัฒนาออกมาหลายกลุ่มด้วยกัน เช่น TCA ซึ่งราคาไม่แพงแต่ผลข้างเคียงค่อนข้างเยอะ หรือตัวล่าสุดคือกลุ่ม SSRI ที่ราคาแพงมาหน่อย แต่ผลข้างเคียงน้อย

ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าซื้อยากินด้วยตัวเอง ให้ไปหาหมอรับคำปรึกษาก่อน เพราะมันก็มีงานวิจัยหลายๆงานที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เช่นการให้ยา SSRI ในวัยรุ่น อาจจะทำให้เกิดภาวะอยากฆ่าตัวตายในช่วงแรกได้


อย่างไรก็ตาม ยาก็ช่วยได้ระดับนึง ให้คุณประคองจิตใจกลับมาได้ แต่ที่เหลือที่จะผลักดันคุณต่อไปให้สำเร็จรุ่งเรือง ก็อยู่ที่ตัวคุณแหละนะ เพราะนี่มันเป็นยาต้านเศร้า ไม่ใช่ยาประสบความสำเร็จ

อีกวิธีที่ช่วยได้ก็คือ NLP (Neuro-Linguistic Programming) ซึ่งเป็นศาสตร์ใหม่ในการรักษาปัญหาทางจิตใจ ส่วนตัวฝึกด้วยตัวเองจนเห็นค่าของตัวเองมากขึ้น แต่ยังไม่รู้เหมือนกันว่ามีหมอ NLP ในไทยรึเปล่า


โรคซึมเศร้ารักษาได้ หากคิดว่าตัวเองมีความเสี่ยง ไปปรึกษาหมอเถอะครับ มันก็แค่โรคโรคนึงเท่านั้นเอง =)

 

 

ที่มา : https://nuuneoi.com/blog/blog.php?read_id=716

Visitors: 1,409,219