บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) จัดงานเสวนาพิเศษ Exclusive Luncheon Roundtable : Climate Tipping Point, A Race Against Time เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงจุดเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศ โดยเชิญองค์กรชั้นนำของประเทศที่มีบทบาทสำคัญทั้งในภาคการเงินและตลาดทุน มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะประเด็นการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) ซึ่งมีความสำคัญต่อการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ขององค์กรให้เปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจโลกที่มีคาร์บอนต่ำ และมีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ โดยมี ดร.พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ (คนที่ 8 จากขวา) ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย และ ประธานกรรมการ บลจ.กสิกรไทย พร้อมด้วยนายวิน พรหมแพทย์ (คนที่ 7 จากซ้าย) ประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย ร่วมให้การต้อนรับ ณ ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ พหลโยธิน เมื่อเร็วๆ นี้
รายชื่อผู้บริหารจากขวาไปซ้าย
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เชื่อว่าในการยกระดับชีวิตของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมจึงต้องเริ่มจากการพัฒนาคน ให้มีความรู้และความมั่นคงของอาชีพตลอดจนรายได้ที่เพียงพอสำหรับดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน
“การปลูกป่า ง่าย ใครก็ทำได้ แต่การปลูกให้รอดยาก การจะให้ป่ารอด จะปลูกแต่ต้นไม้ไม่ได้ ต้องปลูกคน ให้เขาสามารถมีรายได้ที่เพียงพอ และคนเหล่านั้นจะสามารถสร้างสิ่งดีๆคืนกลับสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมได้”
ที่ผ่านมามูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างงาน สร้างอาชีพ การสร้าง value added เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ทำให้คนในพื้นที่มีความมั่นคงในชีวิตและสวัสดิการที่ดีขึ้น มองเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่มีเรื่อง carbon credit เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ชาวบ้านมี passive income ไปพร้อมกับการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ถือว่าเป็นหนึ่งในตัวอย่างของ the living solution
ใน 4-5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่อง Decarbonization และมีการพูดถึงเรื่อง Carbon Credit มากขึ้น โดนธุรกิจเริ่มมีการมุ่งเน้นการทำธุรกิจสีเขียวซึ่งการดำเนินการยังอยู่ในแค่ขอบเขตของ Green แต่อยากให้มองถึงประเด็นเรื่อง Biodiversity ด้วย เพราะในปัจจุบันเกินกว่าครึ่งหรือจนถึงแทบทั้งหมดของการทำธุรกิจนั้นต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ ทุกคนอาจจะทราบในประเด็นนี้แต่อาจยังไม่ได้นำเอาประเรื่อง Biodiversity มาพิจารณาอยู่ในกระบวนการดำเนินธุรกิจเท่าที่ควร
ปัจจุบันทางมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ มีการเปิดตัวโครงการ carbon credit จากป่าชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กว่าสามแสนไร่ มีภาคเอกชนเข้าร่วมกว่า 21 บริษัท ชุมชนกว่า 1,000 ชุมชน โดยทางมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เริ่มจากการสำรวจชุมชนที่มี potential high yield for carbon credit & low risk for governance แล้วมีการประเมินเป็น scoring เพื่อจัดเป็น portfolio นำไปเสนอกับบริษัทเอกชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
“ประเด็นสำคัญคือ เราต้องไม่ทำโครงการเพื่อแค่ให้ได้มาเพื่อ carbon credit แต่ให้มองว่า carbon credit เป็นผลจากการการเติบโตของสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ทั้งจากการปลูกป่าใหม่และการอนุรักษ์ป่าดั้งเดิม เราควรให้ความสำคัญเรื่อง biodiversity มากกว่าการมุ่งเน้นเรื่องของ carbon credit เพียงอย่างเดียว เนื่องจาก biodiversity มีความสำคัญกับความยั่งยืนของระบบนิเวศน์และการอยู่รอดของป่า”
การปลูกป่าใหม่โดยใช้ไม้ที่โตเร็วอย่างเดียวแต่ไม่ได้คำนึงถึงระบบนิเวศ (Ecosystem)โดยรวมจะไม่มีความยั่งยืน โดยชี้ว่าการอนุรักษ์ป่าดั้งเดิมมีความสำคัญเนื่องจากมีความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์และเป็น ecosystem ที่สำคัญกับโลกเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกป่าใหม่ ซึ่งภาคเอกชนที่มีความพร้อมจะมีศักยภาพที่จะช่วยเรื่องนี้ได้มาก
จากการที่ได้มีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกับทาง Lombard Odier Investment Manager (LOIM) เกี่ยวกับเรื่อง Nature-based investment solution ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับโครงการในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมได้ โดยทาง LOIM ได้มีมีการ Identify inefficiency ที่เกิดขึ้นใน sector ที่เป็น nature-based และเข้าไปบริหารจัดการให้ดีขึ้นทำให้มีผลตอบแทน IRR เป็น double digit ซึ่งเงินทุนของกองทุนมาจากลูกค้าสถาบันที่ให้ความสำคัญและต้องการบริหารจัดการความเสี่ยงในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดย LOIM มีการปรับเปลี่ยน Coffee plantation ที่ประเทศลาวให้เป็น nature-based plantation ในพื้นที่กว่า 3700 ไร่ และจากผลการสำรวจพบว่า มีแมลง ผึ้ง สัตว์ป่า เข้ามาในพื้นที่มากขึ้น ทำให้นอกจากสามารถผลิตกาแฟคุณภาพดีที่เป็นความต้องการของตลาดแล้ว ยังมีส่วนร่วมในการช่วยด้านการปรับปรุงระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพด้วย ส่งผลให้มูลค่าสินทรัพย์และผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้น
ทุกวันนี้ โครงการพัฒนาดอยตุงถือว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการการปลูกกาแฟซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจและการปลูกป่าไปพร้อมกัน เพราะเป็นการเปลี่ยนจากไร่เลื่อนลอยเป็นการเกษตรเชิงเดี่ยวระยะสั้นที่ได้ productivity ที่สูงกว่า โดยใช้พื้นที่การเกษตรและการปลูกป่าในขณะเดียวกัน ซึ่งนอกจากการปลูกกาแฟ ก็เริ่มมีการปลูกโกโก้เป็นทางเลือกให้เกษตรกรอีกด้วย
อ้างอิงจาก Biodiversity Credit Alliance (BCA) มีผลการศึกษาว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิทุกทุก 1 องศาเซลเซียส อากาศจะเก็บและดึงความชื้นจากพื้นดินเพิ่มขึ้น 7% ดังนั้นพื้นที่แล้ง ก็จะแล้งหนัก พอก่อตัวเป็นฝนก็ตกหนักขึ้น โดยปีนี้อุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นเกิน 1.5 องศา ตลอดทั้งปี ทำให้เป็นปีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยเฉพาะน้ำท่วมค่อนข้างมาก
โดยสรุปหากภาครัฐจัดทำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ Green Investment ที่เข้มแข็งและชัดเจนยิ่งขึ้นและทางเอกชนนำไปปรับใช้อย่างจริงจังทำให้ประเทศไทยสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้นและลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจในระยะยาวได้