Whole-of-Society of Biodiversity Governance หรือการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแบบที่ทุกภาคส่วนมีที่ยืน
![]() ตามสัญญา วันนี้เราชวนคุณมาฟังอีกหนึ่งเสียงจากมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ผ่านโพสต์ ที่เป็นตัวแทนเข้าร่วมการประชุม Sino-Thai Symposium เช่นกันคือ ดร.สุภัชญา เตชะชูเชิด ซึ่งได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ Whole-of-Society of Biodiversity Governance หรือการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแบบที่ทุกภาคส่วนมีที่ยืน และเดินหน้าไปด้วยกันได้จริง
ดร.สุภัชญา เล่าอย่างตรงไปตรงมาว่า "ความท้าทายในการอนุรักษ์คือการทำให้คนที่คิดเห็นต่างกัน ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ไม่ใช่แค่การออกกฎ แต่คือความเข้าใจวิถีชีวิตและธรรมชาติ ชาวบ้านจับปลา หาหน่อไม้ และสร้างความเข้าใจร่วมกันโดยเน้นการใช้ข้อมูล เราทำการเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์จากป่า และพบว่าในแต่ละปีชุมชนได้ประโยชน์จากป่าฟรีๆ เป็นมูลค่าถึง 12 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นเห็ด หน่อ ปลา ไม้ฟืน
“จะไม่มีทางเกิดการมีส่วนร่วม ถ้าเขาไม่เห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติที่เกื้อกูลชีวิต” ดร.สุภัชญา เตชะชูเชิด
แนวทางที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ใช้ คือการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกเสียงได้ถูกรับฟัง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ชาวบ้าน ผู้เชี่ยวชาญ หรือภาคธุรกิจ พวกเขาอาจไม่พูดภาษาเดียวกัน แต่มีเป้าหมายร่วมคือ “การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล” ระหว่างพวกเขา และธรรมชาติ
ในโลกที่ซับซ้อนและเปราะบางยิ่งขึ้นทุกวัน โมเดล Whole-of-Society อาจไม่ใช่โมเดลที่เดินเร็ว แต่เป็นโมเดลเดียวที่เดินไกล และสร้างภูมิคุ้มกันให้สังคมรู้จักการฟังกันใหม่ แปลความต่างให้กลายเป็นพลัง และใช้ “ทรัพยากรร่วม” อย่างไม่แบ่งแยกเพราะโลกไม่ใช่ของใครคนเดียวอีกต่อไป
และวันนี้การกำหนดเป้าหมายเชิงระบบแบบ “Nature Positive” ซึ่งหมายถึงการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับมาดีขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช่แค่ลดผลกระทบ แต่สร้างผลลัพธ์เชิงบวกให้กับป่า ดิน น้ำ สัตว์ และชุมชนที่พึ่งพาธรรมชาติ ดังนั้นก็แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่ภาคธุรกิจอื่น ๆ ทั่วโลกจะไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เพราะ “ความยั่งยืน” อาจไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นทางที่ทุกภาคส่วนต้องเดินไปร่วมกัน
Voices from the Ground: Dr. Supatchaya Techachoocherd on Inclusive Biodiversity Governance
At the recent Sino-Thai Symposium on Biodiversity Conservation and Sustainable Development, Dr. Supatchaya Techachoocherd, Senior Environmental Manager at the Mae Fah Luang Foundation, emphasized the importance of inclusive approaches to biodiversity governance.
She highlighted that effective conservation requires understanding and integrating diverse perspectives, especially those of local communities who rely on natural resources for their livelihoods. By collecting data on forest resource use, the Foundation found that communities benefit from the forest's resources—such as mushrooms, bamboo shoots, fish, and firewood—amounting to approximately 12 million baht annually.
Dr. Supatchaya stressed that fostering participation involves creating safe spaces where all stakeholders—government officials, villagers, experts, and businesses—can collaborate towards the shared goal of harmonious coexistence with nature.
She concluded that while the Whole-of-Society model may progress gradually, it builds resilience by encouraging mutual understanding and shared responsibility for natural resources.
|