มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเจอพายุและไต้ฝุ่นมากขึ้นในแต่ละปีมากกว่าแถบอื่น

มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเจอพายุและไต้ฝุ่นมากขึ้นในแต่ละปีมากกว่าแถบอื่น

 

Nasa เผยว่า เราจะเจอพายุและไต้ฝุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกที่จะเจอพายุมากกว่าแถบอื่น เป็นผลมาจากอุณหภูมิมหาสมุทรที่ร้อนขึ้น

เว็บไซต์ศูนย์ Earth Observatory ของนาซารายงานว่า มหาสมุทรแปซิกด้านตะวันตกเผชิญกับพายุและไต้ฝุ่นที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี มากกว่ามหาสมุทรแถบอื่น โดยเพิ่งเริ่มต้นฤดูไต้ฝุ่นมาก็เจอพายุไต้ฝุ่นรุนแรงแล้วถึงสองลูกด้วยกัน

สำหรับประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกก็ได้แก่ ประเทศในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศ เช่น บรูไน กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เป็นต้น รวมถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

 

พายุไต้ฝุ่นยางิ พัดถล่มเวียดนาม Cr. Reuters

พายุไต้ฝุ่นยางิ พัดถล่มเวียดนาม Cr. Reuters

 

 

ฤดูไต้ฝุ่นปี 2024 ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเฉียงเหนือกำลังเริ่มต้นขึ้นอย่างเงียบเชียบ โดยหลังจากที่ไต้ฝุ่นชานชานเพิ่งจะพัดเข้าถล่มทางตอนใต้ของญี่ปุ่นไปได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ ไต้ฝุ่นยางิก็กำลังเข้าพัดถล่มทางตอนใต้ของจีนอยู่ในเวลานี้ โดยพายุดังกล่าวเริ่มก่อตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะปาเลาในช่วงปลายเดือนสิงหาคม และเข้าถล่มเกาะลูซอนของฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา

อิทธิพลของพายุทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่ม หลังจากนั้น พายุก็ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วขณะเคลื่อนตัวผ่านทะเลจีนใต้ เพราะมันได้เจอกับน้ำในมหาสมุทรที่อุ่นผิดปกติและสภาพอากาศที่เป็นใจ

รายงานของกองทุนป้องกันสิ่งแวดล้อมชี้ว่า มหาสมุทรที่ร้อนขึ้นเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีให้แก่พายุ การระเหยที่รุนแรงขึ้นเพราะอุณหภูมิสูงขึ้น เป็นสาเหตุที่นำเอาความร้อนจากมหาสมุทรขึ้นสู่อากาศ โดยเฉพาะเมื่อพายุเคลื่อนตัวผ่านมหาสมุทรที่มีความอบอุ่น มันก็จะดูดเอาไอน้ำและความร้อนเข้าไป

 

ไต้ฝุ่นชานชานพัดถล่มญี่ปุ่น 2024 Cr.Reuters

ไต้ฝุ่นชานชานพัดถล่มญี่ปุ่น 2024 Cr.Reuters

เมื่อพายุมีความรุนแรงมากขึ้น ก็หมายความว่า จะทำให้เกิดลมกระโชกแรงขึ้น ฝนตกหนักขึ้น และน้ำท่วมรุนแรงขึ้นนั่นเอง

เมื่อตอนที่ไต้ฝุ่นชานชานพัดถล่มญี่ปุ่น โคสุเกะ อิโตะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศสุดขั้วจากมหาวิทยาลัยเกียวโตและมหาวิทยาลัยแห่งชาติโยโกฮาม่ากล่าวว่า 

“ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิบนพื้นผิวมหาสมุทรสูงขึ้น เมื่อไต้ฝุ่นได้รับไอที่ระเหยที่ลอยขึ้นมาจากมหาสมุทรที่อุ่น ยิ่งอุณหภูมิมหาสมุทรสูงขึ้นแค่ไหน พายุไต้ฝุ่นก็ จะยิ่งแรงขึ้นเท่านั้น”

แต่อย่างไรก็ตาม โคสุเกะย้ำว่าภาวะโลกร้อนไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ขุนให้ไต้ฝุ่นชานชานรุนแรงขึ้น เพราะความกดอากาศที่ศูนย์กลาง และความเร็วของไต้ฝุ่นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่หนึ่งสิ่งที่ยืนยันได้ก็คือภาวะโลกร้อนเป็นผลให้ฝนตกมากขึ้น เมื่อเกิดไต้ฝุ่น



ที่มาข้อมูล

Earth Observatory

Environmental Defense Fund


Visitors: 1,430,167