รู้จัก Tokenomics เศรษฐศาสตร์ของคริปโทเคอร์เรนซี

Token คืออะไร?



ในความหมายดั้งเดิมตามพจนานุกรม Token แปลว่า เบี้ย, สิ่งที่ใช้แทนเงิน, เหรียญ หรือของที่ระลึก

ส่วน Token ที่พูดกันบ่อยในยุคปัจจุบันจะหมายถึง Token ที่ถูกสร้างขึ้นในระบบ Blockchain (ระบบการเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ที่มีวิธีการจัดเก็บและเข้ารหัสในลักษณะที่ทำให้แก้ไขได้ยาก) เพื่อที่จะ5ถูกใช้งานตามหน้าที่ที่ถูกกำหนดไว้ เช่น (i) ใช้แลกสินค้าและบริการที่ถูกสร้างขึ้นในระบบ (Utility Token), (ii) ใช้แทนการถือหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ (Security Token หรือ Asset Token), หรือ (iii) ใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าทั่วไป (Cryptocurrency หรือ Payment Token)

โดยในบทความนี้ผู้เขียนขอตีความความหมายของ Token ตามหน้าที่ใช้งานในแบบกว้าง (เป็นไปตาม US SEC และ FINMA)1 เพื่อวิเคราะห์ในมุมมองเศรษฐ ศาสตร์ (ซึ่งอาจไม่ตรงกับคำจำกัดความใน พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล 2561)2

 

Tokenomics หมายความว่าอะไร?

จริงๆ คำว่า Tokenomics ยังไม่ได้มีความหมายที่ถูกบัญญัติเป็นทางการ แต่ถ้าจะให้แปลตามตัวก็คือการนำคำว่า Token กับ Economics มารวมกัน ซึ่งอาจตีความได้ว่าคือ เศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ Token (บางทีอาจมีการใช้คำว่า Token Economy หรือระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับ Token)

 

เศรษฐศาสตร์ เกี่ยวข้องกับ Token อย่างไร?

หลักเศรษฐศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ Token อาจถูกมองแยกออกได้ใน มุมมองเศรษฐศาสตร์จุลภาค คือการศึกษาหน่วยตัดสินใจย่อยๆ ใน Token/Blockchain Economy เช่น Miners (นักขุดเหมืองที่ทำให้ Infrastructure ของระบบดำรงอยู่ได้), ICO Issuers (ผู้ระดมเงินทุนโดยการขาย Token ผ่านกระบวนการ ICO หรือ Initial Coin Offering), Investors (ผู้นำเงินมาลงทุนโดยการซื้อ Token จาก ICO Issuers), Buyers & Sellers of Token (ผู้ซื้อผู้ขาย Token ในตลาดรอง) หรือ อาจมองจากมุมมองเศรษฐศาสตร์มหภาค โดยมองภาพรวมของระบบ เช่น Demand และ Supply ของ Token ในระบบ (โดยส่วนมากจะเป็น Token ที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือบ่อย ซึ่งก็คือ Payment Token หรือ Cryptocurrency), ปัจจัยภายนอกอื่นๆที่มีผลต่อราคาและความผันผวนของ Token, การกระจายการลงทุนใน Token และสินทรัพย์อื่นๆรวมไปถึงระบบการเงิน (หากมองว่า Payment Token หรือ Cryptocurrency จะมีโอกาสทำหน้าที่เป็น “เงิน” ในทางเศรษฐศาสตร์ได้ในอนาคต)

นอกจากนี้ยังมีประเด็นของการกำกับดูแล ซึ่งยังมีการคาบเกี่ยวกับหลายหน่วยงานเนื่องด้วยลักษณะและหน้าที่ของ Token แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันและมีความไม่แน่นอน รวมถึงแต่ละประเทศก็ยังตีความประเด็นสำคัญต่างๆ ไม่ตรงกัน


จากนี้ต่อไป?

จากที่สังเกตภาพรวมของงานวิจัยของเศรษฐศาสตร์ในช่วงเวลาที่ผ่านมา (จาก Journals, NBER Working Papers, AEA Meeting Papers) พบว่างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Tokenomics/Blockchain ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ระบบการทำงานของ Blockchain, Payment Token หรือ Cryptocurrency, ICO, Smart Contracts ได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา

โดยงานวิจัยในช่วงแรกๆ แทบทั้งหมดจะให้ความสนใจกับการทำความเข้าใจ Bitcoin ไม่ว่าในแง่ของการสร้าง Theoretical Model หรือการนำข้อมูลราคาและความผันผวนมาศึกษา; ช่วงต่อมาเริ่มมีความสนใจ Cryptocurrency ชนิดอื่นๆ และนำมาเปรียบเทียบกับ Bitcoin และสินทรัพย์อื่นๆ

รวมไปถึงการพยายามศึกษา ICO เช่น คุณลักษณะอย่างไรทำให้ ICO คงอยู่ได้; การศึกษาระบบ Incentive ของ Miners; การสร้าง Theoretical Model ของ Smart Contracts; และอื่นๆอีกมากมายผู้เขียนมองว่าในอนาคต ความสนใจในเรื่อง Tokenomics และ Blockchain ของนักเศรษฐศาสตร์น่าจะมีมากขึ้น เพราะนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้มีมากขึ้น และรวมถึงการแพร่หลายของเทคโนโลยีเริ่มเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้น

โดยเราน่าจะได้เห็นงานวิจัยที่น่าสนใจในแง่วิชาการ และความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อทำวิจัยที่เป็นประโยชน์ในวงกว้างขึ้นต่อไป

Footnote
1 US SEC คือ US Securities and Exchange Commission; FINMA คือ Swiss Financial Market Supervisory Authority

2 หากให้อิงคำจำกัดความตาม พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล 2561 นั้น พ.ร.ก. ให้คำจำกัดความ “คริปโตเคอร์เรนซี,” “โทเคนดิจิทัล,” และ “สินทรัพย์ดิจิทัล” ตามนี้:

- “คริปโทเคอร์เรนซี” หมายความว่า หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โดยมีความประสงค์ที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอ่ื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล และให้หมายความรวมถึงหน่วยข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์อื่นใดตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด

-“โทเคนดิจิทัล” หมายความว่า หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่าย อิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

(1) กําหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ

(2) กําหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดท่ีเฉพาะเจาะจง ตามที่กําหนด ในข้อตกลงระหว่างผู้ออกและผู้ถือ และให้หมายความรวมถึงหน่วยแสดงสิทธิอื่นตามที่คณะกรรมการก.ล.ต.ประกาศกําหนด

-“สินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล

 

Reference

- Au, S., & Power, T. (2018). Tokenomics, Packt Publishing.

- ICOscoring (2018). “Types of tokens: The four mistakes beginner crypto-investors make,” medium.com web article. (https://medium.com/swlh/types-of-tokens-the-four-mistakes-beginner-crypto-investors-make-a76b53be5406)

เศรษฐเสวนา จุฬาฯทัศนะ

โดย ดร.วรประภา นาควัชระ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หน้า 7 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3442 ระหว่างวันที่ 7 - 9 กุมภาพันธ์ 2562

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
https://www.thansettakij.com/columnist/384601

 

Visitors: 1,429,841