พายุสุริยะ คืออะไร นาซาสั่งจับตาส่อเกิด อินเทอร์เน็ตล่ม ทั่วโลกปี 2025
5 ปรากฏการณ์สะเทือนโลก พายุสุริยะ ปี 2567 เร็วแรงกระทบไทย พายุสุริยะปี 2567 คาดรุนแรงหนักในรอบ 11 ปี จับตาปรากฏการณ์แบบวันต่อวัน หากเกิดขึ้นมีผลกระทบต่อดาวเทียมไทย และระบบสื่อสารภายในประเทศ ย้ำปีหน้าไทยมีระบบเตือน แต่อยากให้ติดตามใกล้ชิด ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ GISTDA กล่าวว่า ในปี 2567 มีการคาดการณ์ผลกระทบจากพายุสุริยะจะมีความรุนแรงมากขึ้นในรอบ 11 ปี โดยสภาพอวกาศนี้ จะมีความรุนแรงแปรผันตามรอบของวัฏจักรสุริยะ ซึ่งมีวงรอบหมุนกลับมาทุก 11 ปี และเนื่องจากปี 2567 ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นช่วงสูงสุด จะมาถึงไวกว่าที่หน่วยงานการบริหารจัดการมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกาหรือ NOAA (National Oceanic and Atmospheric Administration) เคยคาดการณ์ไว้ กล่าวคือมีความน่าจะเป็นที่อาจจะเกิดได้มากและรุนแรง
![]() "สภาพอวกาศ หรือ Space weather ได้รับอิทธิพลจากดวงอาทิตย์ เช่น การส่งเปลวสุริยะมายังโลก หากเกิดการระเบิดที่รุนแรงจากดวงอาทิตย์อาจส่งผลเป็นพายุสุริยะได้ ถัดมาคือลมสุริยะ หากลมสุริยะมีความเร็วสูง และมีทิศทางที่เชื่อมต่อกับสนามแม่เหล็กของโลกได้นั้นอาจก่อให้เกิดพายุสนามแม่เหล็กโลก รวมไปทั้งการระเบิดจากมวลโคโรนาของดวงอาทิตย์ มีผลกระทบหลายอย่างต่อเทคโนโลยี ระบบการสื่อสาร และแม้กระทั่งสุขภาพของมนุษย์" ... ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ไทยควรเฝ้าระวังคือ 1. รบกวนการทำงานของดาวเทียมของไทย ที่โคจรอยู่ในอวกาศ และระบบการสื่อสารบนโลก เนื่องจากอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์สามารถสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของดาวเทียม ส่งผลให้เกิดการทำงานผิดปกติชั่วคราวหรือถาวร
![]() 2. การส่งกำลังฟ้าจากโรงไฟฟ้ามีปัญหา เนื่องมาจากพายุสนามแม่เหล็กโลก เกิดจากลมสุริยะ ซึ่งสามารถเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในระบบนำส่งไฟฟ้าบนโลกได้ สิ่งนี้อาจทำให้หม้อแปลงและส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบส่งกำลังเสียหายได้ โดยพายุสนามแม่เหล็กโลกที่มีความรุนแรงสูงนั้นมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างและยาวนานได้ 3. ความเสี่ยงด้านการบิน การบินในพื้นที่ละติจูดสูง (High latitude) โดยเฉพาะเที่ยวบินที่อยู่ใกล้บริเวณขั้วโลก อาจต้องเผชิญกับระดับรังสีที่เพิ่มขึ้นระหว่างพายุแม่เหล็กโลก 4. ความเสี่ยงเรื่องสุขภาพของมนุษย์ นักบินอวกาศในอวกาศหรือสถานีอวกาศ ต้องเผชิญกับรังสีคอสมิกในระดับที่สูงขึ้นในช่วงเวลาที่มี Solar activity เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาว รวมถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคมะเร็ง โดยลูกเรือและผู้โดยสารบนเครื่องบินในพื้นที่สูง และบนเที่ยวบินที่ทำการบินผ่านขั้วโลกอาจต้องเผชิญกับระดับรังสีที่สูงขึ้นในระหว่างที่เกิดพายุสนามแม่เหล็กโลก ![]() 5. ผิดปกติของปริมาณอิเล็กตรอนในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ และการรบกวนของชั้นบรรยากาศดังกล่าว อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดในระบบนำทางด้วยระบบ GNSS ซึ่งอาจส่งผลต่อความแม่นยำในการนำทางและเวลา ส่งผลกระทบต่อภาคส่วนต่างๆ เช่น การบิน การขนส่ง และการสำรวจ ขณะนี้หน่วยงานอวกาศและองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ได้ทำงานร่วมกัน ในการติดตามและคาดการณ์เหตุการณ์สภาพอวกาศ Space weather เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และพยายามพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า และมาตรการป้องกันเพื่อปกป้องเทคโนโลยี (safeguard technology) โครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) และกิจกรรมของมนุษย์จากผลกระทบของสภาพอวกาศหรือ Space weather
![]() ... ที่สำคัญ สิ่งที่ประชาชนควรทราบคือการมีความตระหนักรู้ แต่ไม่ตื่นตระหนกกับสิ่งที่เกิดขึ้น ความน่าจะเป็นการเกิดพายุสุริยะ หรือลมสุริยะ ในครั้งนี้เป็นเพียงแค่การคาดการณ์จากเกิดในรอบ 11 ปี ในแต่ละครั้งที่ผ่านมา เราไม่อาจจะรับรู้ถึงระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ แต่การรับมือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และหมั่นติดตามข่าวสาร เกี่ยวกับสภาพอวกาศ เพื่อที่เราจะได้เข้าใจและรู้เท่าทันเหตุการณ์.
ที่มา : https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2748344
|